ใกล้ถึงเวลาที่ ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ จะประกาศ ‘ยุบสภา’ หลัง นายกฯ มีวันในใจแล้ว ในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อเปิดช่องให้บรรดา ส.ส. ย้ายพรรคได้ทัน แต่ที่น่าสนใจคือท่าที ‘บิ๊กตู่’ ต่อ ‘กองทัพ’ ที่ถูกมองเป็น ‘กองหนุน’ สำคัญมาตั้งแต่ยุค คสช. ทว่าสิ่งที่เปลี่ยนไป คือ ผบ.เหล่าทัพ ยุคปัจจุบันมี ‘ระยะห่าง’ จาก พล.อ.ประยุทธ์ เพราะรุ่นเตรียมทหาร ห่างกัน 10 ปี เพราะ ผบ.เหล่าทัพ ชุดนี้ เป็นแผงอำนาจ ตท.22 ทั้งหมด ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ ตท.12 อีกทั้ง ผบ.เหล่าทัพ ไม่ได้เป็นสายตรง ‘ขั้วอำนาจ 3ป.’ เฉกเช่นในอดีต
กำลังพล ‘กองทัพไทย’ มีทั้งหมดราว 3 แสนนาย สำหรับเหล่าทัพที่มีกำลังรบใหญ่ที่สุด คือ ‘กองกัพบก’ ที่เป็นกำลังทางบก ในแง่การเมืองถูกมองเป็น ‘ขุมกำลังปฏิวัติ’ ในอดีต จึงทำให้กองทัพถูกโฟกัสในช่วง ‘เปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ ผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะ ‘จุดยืน-ท่าที’ ของกองทัพ โดยเฉพาะ ทบ. ที่มี ‘บิ๊กบี้’ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ที่เป็น ผบ.ทบ. มาแล้ว 2 ปี เข้าสู่ปีที่ 3 เตรียมเกษียณฯ ก.ย. 66 ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.ณรงค์พันธ์ มี ‘ระยะห่าง’ จาก พล.อ.ประยุทธ์ ชัดเจน ‘ไม่ออกตัวแรง’ ปกป้อง-เชียร์รัฐบาล
สำหรับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ เติบโตมาจาก ร.31 รอ. หน่วย RDF ทหารหมวกแดง ประจำ พล.1 รอ. ไม่ได้เติบโตมาสายทหารเสือฯ-บูรพาพยัคฆ์ เหมือนกับ ‘3ป.’ ท่าทีของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ทำงานตามหน้าที่ ตามสายบังคับบัญชาเท่านั้น เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เป็น รมว.กลาโหม ทำให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะทำตัวโลว์โปร์ไฟล์มาตลอด
แต่ที่ทำให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ถูกพูดถึงอย่างมาก คือ กรณี ทบ. บอยคอตลาซาด้า เพราะ พล.อ.ณรงค์พันธ์ มีอีกตำแหน่งเป็น ผบ.ฉก.ทม.รอ.904 ด้วย ดังนั้นมิชชันของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ คือการปกป้องสถาบันหลัก สำหรับในการแสดงออกการเมือง พล.อ.ณรงค์พันธ์ ใช้ทวีตเตอร์ ผ่านการ ‘กดไลค์’ เท่านั้น ถ้าจะ ‘รีทวีตข้อความ’ ก็จะเป็นเรื่องภารกิจทหาร
เข้าปีที่ 3 ท่าทีของ ‘บิ๊กบี้-บิ๊กตู่’ ลดช่องว่างลง หลังเคยมีกระแสข่าวเมื่อปีที่ 2565 ถึงการ ‘ปลด ผบ.ทบ.’ เพราะทั้งฝั่ง ‘บิ๊กตู่-บิ๊กบี้’ ต่างมี ‘แบ็กอัพสุดแกร่ง’ ของตัวเอง ซึ่งสุดท้ายก็เป็นเพียงกระแสข่าวเท่านั้น ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ‘บิ๊กตู่’ ไม่พลาดงานทหาร ไปแทบทุกงานตามคำเชิญ โดยเฉพาะงาน ทบ. และปรากฏภาพ ‘บิ๊กตู่’ กอดคอ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ถึง 2 ครั้ง จึงถูกมองว่า ‘บิ๊กตู่’ ต้องการให้ ‘กองทัพ’ เป็น ‘แบ็กอัพ’ ให้หรือไม่ ในแง่หนึ่งก็มองว่าเป็นการกอดคอระหว่าง ‘พี่น้องทหาร’ สายเลือด จปร. เท่านั้น หรือไม่
ที่ผ่านมา พล.อ.ณรงค์พันธ์ ลุยภารกิจทางทหารเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์การสู้รบที่มี ‘ทหาร-ตำรวจ-อาสาสมัคร’ เสียชีวิตในสมรภูมิต่างๆ ถือเป็นครั้งแรกที่สร้างกำแพงประวัติศาสตร์ ไว้ที่ บก.ทบ.ราชดำเนิน เพื่อจารึกชื่อวีรชนและทหารนับพันนาย ที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม จนถึงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และ จ.ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการจารึกชื่อ ‘เสธ.เปา’ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และทหารที่เสียชีวิต รวม 6 นาย จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 2553 เช่นเดียวกับที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ของกองทัพไทย ซึ่งไม่มีชื่อ ‘เสธ.แดง’ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่เสียชีวิตจากการลอบยิง โดยในวันทหารผ่านศึก 3 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการทำพิธีวางพวงมาลารำลึกครั้งแรก ที่ บก.ทบ.ราชดำเนิน
อีกทั้ง พล.อ.ณรงค์พันธ์ ยังเป็น ผบ.ทบ.คนแรก ที่ไปร่วมงานวันรำลึกวีรกรรมผู้เสียสละเขาค้อ ที่อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 20ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้ล้อมวงพูดคุยกับ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม ที่ผ่านสมรภูมิเขาค้อ ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก เคยเป็นอดีต ผบ.ฐานกรุงเทพ ที่ตั้งอนสรณ์ฯ รวมถึง ‘ทหารผ่านศึก’ คนอื่นๆ และบรรดา ‘สหาย’ หรืออดีตผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ร่วมพิธีด้วย โดยผู้ร่วมพิธีที่ผ่านสมรภูมิบางรายมีร่างกายพิการ เป็นจุดที่ พล.อ.ณรงค์พันธุ์ ย้ำให้เห็นถึงความเสียสละ อยากให้คนรุ่นหลังสำนึกบุญคุณ พร้อมย้ำถึงสังคมประชาธิปไตยที่ขัดแย้งได้ แต่อย่าใช้ความรุนแรง
“เป็นสิ่งที่คนทั้งประเทศรวมทั้งเด็กรุ่นหลังควรที่จะต้องเรียนรู้ไว้ขอเน้นย้ำว่าให้สำนึกในบุญคุณ ของบุคคลในอดีตเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ทหาร พลเรือน ตำรวจ หรือประชาชนทั่วไป ที่ได้รับบทเรียนจากความขัดแย้งในอดีต ซึ่งในพื้นที่นี้ได้สูญเสียทุกฝ่ายเป็นจำนวนมาก แต่ทุกอย่าง จบลงด้วยดี เกิดความปรองดองและร่วมมือกัน นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติและส่งมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบันนี้” พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าว
“ในโลกของประชาธิปไตยในปัจจุบัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แม้แต่ในโลกของสังคมนิยมในบางประเทศ ก็มีพื้นฐานประชาธิปไตย และมีความคิดที่เห็นต่างได้ แต่ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง ต้องขัดแย้งกันด้วยเหตุและผล และนำมาทำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่ใช่ประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าว
ส่วนบทบาทของกองทัพช่วงใกล้เลือกตั้งนั้น พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าวว่า ในส่วนของทหารก็เช่นเดียวกันเพราะถอดเครื่องแบบออกมาทหารก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เมื่อถึงเวลาต้องไปทำหน้าที่ของประชาชนก็ต้องไปทำหน้าที่ในการเลือกตั้งเลือกผู้แทนราษฎร ก็ถือเป็นวิจารณญาณและความคิดว่าจะนิยมชมชอบใคร แต่ทางหน่วยทหารเองก็จะให้คำแนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างถี่ถ้วนและข้อมูลที่ถูกต้องให้มากที่สุด ไม่ว่าจะทหารหรือประชาชนถามว่าใครสั่งได้บ้างเมื่อเข้าไปในคูหา สามารถไปตรวจสอบหรือบังคับได้หรือไม่ทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด”
หากถอดคำพูดของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ คีย์เวิร์ดสำคัญอยู่ที่ ‘ทหาร’ สั่งไม่ได้ เมื่อเข้าคูหาไปแล้ว แต่ก็อยู่ที่ ‘หน่วยทหาร’ จะจัดการอย่างไร น่าสนใจว่าในระดับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ที่มีท่าทีจุดยืนชัดเจน สงวนท่าทีในการแสดงออกการเมือง จึงต้องจับตาดูว่าในระดับหน่วยฯ จะปฏิบัติอย่างไร และผลการเลือกตั้งในหน่วยทหารจะไปทิศทางใด
ทั้งหมดนี้สะท้อน ‘วิธีคิด’ ของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ในการมอง ‘ประชาธิปไตย’ ผ่านสมรภูมิรบในอดีต ผ่ายภาพทหารชายแดน ในการให้ความสำคัญกับ ‘ภารกิจทางทหาร’ มากกว่า ‘การเมือง’ ไม่มี ‘แอ็กชันการเมือง’ เหมือนอดีต ผบ.ทบ. คนอื่นๆ แต่ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ก็มีจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสถาบันหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องรอดูหลังเลือกตั้ง ที่จะปรากฏความจริงออกมาว่า ‘ท.ทหาร’ ยังคง ‘แถวตรง’ หรือไม่
กำลังพล ‘กองทัพไทย’ มีทั้งหมดราว 3 แสนนาย สำหรับเหล่าทัพที่มีกำลังรบใหญ่ที่สุด คือ ‘กองกัพบก’ ที่เป็นกำลังทางบก ในแง่การเมืองถูกมองเป็น ‘ขุมกำลังปฏิวัติ’ ในอดีต จึงทำให้กองทัพถูกโฟกัสในช่วง ‘เปลี่ยนผ่านรัฐบาล’ ผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย โดยเฉพาะ ‘จุดยืน-ท่าที’ ของกองทัพ โดยเฉพาะ ทบ. ที่มี ‘บิ๊กบี้’ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ที่เป็น ผบ.ทบ. มาแล้ว 2 ปี เข้าสู่ปีที่ 3 เตรียมเกษียณฯ ก.ย. 66 ซึ่งที่ผ่านมา พล.อ.ณรงค์พันธ์ มี ‘ระยะห่าง’ จาก พล.อ.ประยุทธ์ ชัดเจน ‘ไม่ออกตัวแรง’ ปกป้อง-เชียร์รัฐบาล
สำหรับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ เติบโตมาจาก ร.31 รอ. หน่วย RDF ทหารหมวกแดง ประจำ พล.1 รอ. ไม่ได้เติบโตมาสายทหารเสือฯ-บูรพาพยัคฆ์ เหมือนกับ ‘3ป.’ ท่าทีของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ทำงานตามหน้าที่ ตามสายบังคับบัญชาเท่านั้น เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เป็น รมว.กลาโหม ทำให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพราะทำตัวโลว์โปร์ไฟล์มาตลอด
แต่ที่ทำให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ถูกพูดถึงอย่างมาก คือ กรณี ทบ. บอยคอตลาซาด้า เพราะ พล.อ.ณรงค์พันธ์ มีอีกตำแหน่งเป็น ผบ.ฉก.ทม.รอ.904 ด้วย ดังนั้นมิชชันของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ คือการปกป้องสถาบันหลัก สำหรับในการแสดงออกการเมือง พล.อ.ณรงค์พันธ์ ใช้ทวีตเตอร์ ผ่านการ ‘กดไลค์’ เท่านั้น ถ้าจะ ‘รีทวีตข้อความ’ ก็จะเป็นเรื่องภารกิจทหาร
เข้าปีที่ 3 ท่าทีของ ‘บิ๊กบี้-บิ๊กตู่’ ลดช่องว่างลง หลังเคยมีกระแสข่าวเมื่อปีที่ 2565 ถึงการ ‘ปลด ผบ.ทบ.’ เพราะทั้งฝั่ง ‘บิ๊กตู่-บิ๊กบี้’ ต่างมี ‘แบ็กอัพสุดแกร่ง’ ของตัวเอง ซึ่งสุดท้ายก็เป็นเพียงกระแสข่าวเท่านั้น ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ‘บิ๊กตู่’ ไม่พลาดงานทหาร ไปแทบทุกงานตามคำเชิญ โดยเฉพาะงาน ทบ. และปรากฏภาพ ‘บิ๊กตู่’ กอดคอ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ถึง 2 ครั้ง จึงถูกมองว่า ‘บิ๊กตู่’ ต้องการให้ ‘กองทัพ’ เป็น ‘แบ็กอัพ’ ให้หรือไม่ ในแง่หนึ่งก็มองว่าเป็นการกอดคอระหว่าง ‘พี่น้องทหาร’ สายเลือด จปร. เท่านั้น หรือไม่
ที่ผ่านมา พล.อ.ณรงค์พันธ์ ลุยภารกิจทางทหารเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์การสู้รบที่มี ‘ทหาร-ตำรวจ-อาสาสมัคร’ เสียชีวิตในสมรภูมิต่างๆ ถือเป็นครั้งแรกที่สร้างกำแพงประวัติศาสตร์ ไว้ที่ บก.ทบ.ราชดำเนิน เพื่อจารึกชื่อวีรชนและทหารนับพันนาย ที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม จนถึงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และ จ.ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการจารึกชื่อ ‘เสธ.เปา’ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และทหารที่เสียชีวิต รวม 6 นาย จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 2553 เช่นเดียวกับที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ของกองทัพไทย ซึ่งไม่มีชื่อ ‘เสธ.แดง’ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ที่เสียชีวิตจากการลอบยิง โดยในวันทหารผ่านศึก 3 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการทำพิธีวางพวงมาลารำลึกครั้งแรก ที่ บก.ทบ.ราชดำเนิน
อีกทั้ง พล.อ.ณรงค์พันธ์ ยังเป็น ผบ.ทบ.คนแรก ที่ไปร่วมงานวันรำลึกวีรกรรมผู้เสียสละเขาค้อ ที่อนุสรณ์ผู้เสียสละเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อ 20ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้ล้อมวงพูดคุยกับ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม ที่ผ่านสมรภูมิเขาค้อ ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก เคยเป็นอดีต ผบ.ฐานกรุงเทพ ที่ตั้งอนสรณ์ฯ รวมถึง ‘ทหารผ่านศึก’ คนอื่นๆ และบรรดา ‘สหาย’ หรืออดีตผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ร่วมพิธีด้วย โดยผู้ร่วมพิธีที่ผ่านสมรภูมิบางรายมีร่างกายพิการ เป็นจุดที่ พล.อ.ณรงค์พันธุ์ ย้ำให้เห็นถึงความเสียสละ อยากให้คนรุ่นหลังสำนึกบุญคุณ พร้อมย้ำถึงสังคมประชาธิปไตยที่ขัดแย้งได้ แต่อย่าใช้ความรุนแรง
“เป็นสิ่งที่คนทั้งประเทศรวมทั้งเด็กรุ่นหลังควรที่จะต้องเรียนรู้ไว้ขอเน้นย้ำว่าให้สำนึกในบุญคุณ ของบุคคลในอดีตเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ทหาร พลเรือน ตำรวจ หรือประชาชนทั่วไป ที่ได้รับบทเรียนจากความขัดแย้งในอดีต ซึ่งในพื้นที่นี้ได้สูญเสียทุกฝ่ายเป็นจำนวนมาก แต่ทุกอย่าง จบลงด้วยดี เกิดความปรองดองและร่วมมือกัน นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติและส่งมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบันนี้” พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าว
“ในโลกของประชาธิปไตยในปัจจุบัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แม้แต่ในโลกของสังคมนิยมในบางประเทศ ก็มีพื้นฐานประชาธิปไตย และมีความคิดที่เห็นต่างได้ แต่ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง ต้องขัดแย้งกันด้วยเหตุและผล และนำมาทำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่ใช่ประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าว
ส่วนบทบาทของกองทัพช่วงใกล้เลือกตั้งนั้น พล.อ.ณรงค์พันธ์ กล่าวว่า ในส่วนของทหารก็เช่นเดียวกันเพราะถอดเครื่องแบบออกมาทหารก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เมื่อถึงเวลาต้องไปทำหน้าที่ของประชาชนก็ต้องไปทำหน้าที่ในการเลือกตั้งเลือกผู้แทนราษฎร ก็ถือเป็นวิจารณญาณและความคิดว่าจะนิยมชมชอบใคร แต่ทางหน่วยทหารเองก็จะให้คำแนะนำให้พิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างถี่ถ้วนและข้อมูลที่ถูกต้องให้มากที่สุด ไม่ว่าจะทหารหรือประชาชนถามว่าใครสั่งได้บ้างเมื่อเข้าไปในคูหา สามารถไปตรวจสอบหรือบังคับได้หรือไม่ทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด”
หากถอดคำพูดของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ คีย์เวิร์ดสำคัญอยู่ที่ ‘ทหาร’ สั่งไม่ได้ เมื่อเข้าคูหาไปแล้ว แต่ก็อยู่ที่ ‘หน่วยทหาร’ จะจัดการอย่างไร น่าสนใจว่าในระดับ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ที่มีท่าทีจุดยืนชัดเจน สงวนท่าทีในการแสดงออกการเมือง จึงต้องจับตาดูว่าในระดับหน่วยฯ จะปฏิบัติอย่างไร และผลการเลือกตั้งในหน่วยทหารจะไปทิศทางใด
ทั้งหมดนี้สะท้อน ‘วิธีคิด’ ของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ในการมอง ‘ประชาธิปไตย’ ผ่านสมรภูมิรบในอดีต ผ่ายภาพทหารชายแดน ในการให้ความสำคัญกับ ‘ภารกิจทางทหาร’ มากกว่า ‘การเมือง’ ไม่มี ‘แอ็กชันการเมือง’ เหมือนอดีต ผบ.ทบ. คนอื่นๆ แต่ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ก็มีจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสถาบันหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องรอดูหลังเลือกตั้ง ที่จะปรากฏความจริงออกมาว่า ‘ท.ทหาร’ ยังคง ‘แถวตรง’ หรือไม่



