ยิ่งปฏิทินการเลือกตั้งเข้ามาเท่าไหร่ อุณหภูมิการเมืองก็ยิ่งเร้าร้อน โดยเฉพาะพรรคการเมืองต่างๆ ยิ่งถูก ‘ทิ้งบอมบ์’ ขุดคุ้ยหรือตั้งข้อตำหนิลดความน่าเชื่อถือ ‘ประชาธิปัตย์’ พรรคการเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับหนึ่งในเรื่องการถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด ทั้งปัญหาภายในและภายนอกทุกแง่มุมครบถ้วนหน้า โดยเฉพาะปรากฏการณ์ ‘เลือดไหล’ ไขก๊อกไม่อยู่ นำไปสู่การตั้งคำถามของสังคมว่าจะไปรอดกับสนามเลือกตั้งในวันข้างหน้าหรือไม่
ภูริช วรรธโนรมณ์ ชวน ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ แกนนำพรรคสีฟ้าน้ำทะเล สนทนาเจาะลึกประเด็นท่าที่ของพรรคประชาธิปัตย์กับการเผชิญหน้ากับรอยด่าง ที่นับวันยิ่้งชัดเจนขึ้น และการดำรงไว้ซึ่งสถาบันทางการเมือง ให้ห่างใกล้จาก ‘การสูญพันธุ์’
ภูริช วรรธโนรมณ์ ชวน ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ แกนนำพรรคสีฟ้าน้ำทะเล สนทนาเจาะลึกประเด็นท่าที่ของพรรคประชาธิปัตย์กับการเผชิญหน้ากับรอยด่าง ที่นับวันยิ่้งชัดเจนขึ้น และการดำรงไว้ซึ่งสถาบันทางการเมือง ให้ห่างใกล้จาก ‘การสูญพันธุ์’

รองหัวหน้าพรรคเก่าแก่ เล่าว่า ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์เผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า ‘ปัญหา’ มาตลอดระยะเวลา กว่า 77 ปี และสิ่งที่เกิดขึ้นช่วงท้าย ‘รัฐบาลประยุทธ์ 2’ ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย หากเทียบกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะประเด็น ส.ส. หัวเห็ดโบกมืออำลาต้นสังกัด ไปเข้าร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ที่มีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่ม หากวันยุบสภาฯ เดินทางมาถึง
“เราเจอมาเยอะแล้ว ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ยุคก่อนๆ เลือดโชกหนักกว่านี้พรรคก็ผ่านมาได้ ตรงนี้เป็นการตอกย้ำว่าประชาธิปัตย์คือสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่พรรคที่ฝากความหวังไว้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นานมาแล้วคุณสมัคร (สุทรเวช) ที่ลาออกไปทำพรรคประชากรไทยก็เคยปรามาส ว่าประชาธิปัตย์จะถึงคราวสูญพันธุ์ วันนี้เป็นไงคุณสมัครถึงแก่กรรมแล้วพรรคก็อยู่ ดังนั้นวันนี้ ส.ส. ลาออกเพียงไม่กี่คนเป็นเล็กน้อย ”
คำการันตีแบรนดิ้งยืนยันได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์เคยผ่านเหตุการณ์ฟ้าถล่มดินทลายมาแล้วในวันวาน แต่ยังคงยืนหยัดในสมรภูมิการเมืองมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะด้วยความเป็น ‘สถาบันการเมืองหลักของประเทศ’ ขยายให้เข้าใจคือภาวะเลือดไหลออกเกิดขึ้นทุกช่วงการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์บุคคลสำคัญระดับกรรมการบริหารพรรค ที่อดีตเคยขน ส.ส. ลาออกก็หลายครั้ง อย่างทั้งสมัย ‘สมัคร สุนทรเวช’ - ‘วีระ มุกสิกพงษ์’ - ‘พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์’ และล่าสุด ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ วิกฤตที่สุดก็คงเป็นเหตุการณ์ 10 มกราคม 2530 ที่ ส.ส. กว่า 100 ชีวิตลาออก อย่างไรเสียพรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ก็ยังเอาตัวรอดมาได้ ด้วยสถิติการได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร์ถึง 9 ครั้ง (เป็นรัฐบาล 4 ครั้ง - ฝ่ายค้าน 5 ครั้ง)
“เราเจอมาเยอะแล้ว ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ยุคก่อนๆ เลือดโชกหนักกว่านี้พรรคก็ผ่านมาได้ ตรงนี้เป็นการตอกย้ำว่าประชาธิปัตย์คือสถาบันทางการเมือง ไม่ใช่พรรคที่ฝากความหวังไว้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นานมาแล้วคุณสมัคร (สุทรเวช) ที่ลาออกไปทำพรรคประชากรไทยก็เคยปรามาส ว่าประชาธิปัตย์จะถึงคราวสูญพันธุ์ วันนี้เป็นไงคุณสมัครถึงแก่กรรมแล้วพรรคก็อยู่ ดังนั้นวันนี้ ส.ส. ลาออกเพียงไม่กี่คนเป็นเล็กน้อย ”
คำการันตีแบรนดิ้งยืนยันได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์เคยผ่านเหตุการณ์ฟ้าถล่มดินทลายมาแล้วในวันวาน แต่ยังคงยืนหยัดในสมรภูมิการเมืองมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะด้วยความเป็น ‘สถาบันการเมืองหลักของประเทศ’ ขยายให้เข้าใจคือภาวะเลือดไหลออกเกิดขึ้นทุกช่วงการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์บุคคลสำคัญระดับกรรมการบริหารพรรค ที่อดีตเคยขน ส.ส. ลาออกก็หลายครั้ง อย่างทั้งสมัย ‘สมัคร สุนทรเวช’ - ‘วีระ มุกสิกพงษ์’ - ‘พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์’ และล่าสุด ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ วิกฤตที่สุดก็คงเป็นเหตุการณ์ 10 มกราคม 2530 ที่ ส.ส. กว่า 100 ชีวิตลาออก อย่างไรเสียพรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ก็ยังเอาตัวรอดมาได้ ด้วยสถิติการได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร์ถึง 9 ครั้ง (เป็นรัฐบาล 4 ครั้ง - ฝ่ายค้าน 5 ครั้ง)

เมื่อถามถึงประเด็นอื่นๆ ที่ถูกหยิบยกจนกลายเป็น ‘ตราบาป’ จนพรรค ซึ่งอาจนำไปสู่คะแนนนิยมที่ลดลง นิพนธ์ยืนยันว่า ใน 4 ปีของการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกพูดถึงเรื่องประเด็นการทุจริต และที่ผ่านมาพรรคก็แสดงศักยภาพให้เห็น ว่าสามารถดำเนินนโยบายเป็นรูปธรรมได้ โดยเฉพาะนโยบายการประกันรายได้เกษตรกร ในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร ที่ทุ่มงบประมาณกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า ซึ่งนี่จะเป็นหนึ่งในนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์จะใช้เป็นเงื่อนไขข้อเสนอในการร่วมรัฐบาล กับพรรคเสียงข้างมากในอนาคต
“ไม่เคยมีข่าวรั่วไหลออกมา ว่าพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวเนื่องกับประเด็นการทุจริต และเรายืนยันว่าจะไม่จับมือกับใครก่อนเลือกตั้ง แต่หากใครคิดจะร่วมรัฐบาลกับพรรค ก็ต้องรับนโยบายประกันรายได้ฯ และเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายรัฐบาลต้องบริหารบ้านเมืองอย่างสุจริต วันใดหากมีข่าวว่าไม่โปร่งใสประชาธิปัตย์ก็พร้อมถอนตัวทุกเมื่อ”
ส่วนประเด็นความมั่นใจในสนามการเลือกตั้ง นิพนธ์ ย้ำว่าภาคใต้ยังเป็นพื้นที่หลัก และต้องได้มากกว่า 40 ที่นั่ง จาก 60 เขต ในส่วนพื้นที่เมืองหลวง ซึ่งก่อนหน้านี้แพ้ราบคาบไม่ได้สักเก้าอี้ แกนนำพรรคคนสำคัญกล่าวว่า จะต้องนำบทเรียนมาสังเคราะห์ ซึ่งพรรคตกตะกอนถึงปัญหามาระดับหนึ่ง และคาดว่าจะได้ประมาณ 5 – 7 เก้าอี้ จาก 33 เขต
การคาดการนี้เทียบเคียงกับสถิติจำนวน ส.ก. ที่ได้รับเลือกจากศึกเลือกตั้งสภากรุงเทพมหานครครั้งที่ผ่านมา และสนาม กทม. รอบนี้มีมือพระกาฬที่ผ่านศึกเลือกตั้ง ‘พ่อเมือง’ มาแล้ว อย่าง ’ดร.เอ้’ - สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และ ‘มาดามเดียร์’ - วทันยา บุนนาค เข้ามาเป็นฟันเฟืองไขก๊อก
“ไม่เคยมีข่าวรั่วไหลออกมา ว่าพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวเนื่องกับประเด็นการทุจริต และเรายืนยันว่าจะไม่จับมือกับใครก่อนเลือกตั้ง แต่หากใครคิดจะร่วมรัฐบาลกับพรรค ก็ต้องรับนโยบายประกันรายได้ฯ และเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายรัฐบาลต้องบริหารบ้านเมืองอย่างสุจริต วันใดหากมีข่าวว่าไม่โปร่งใสประชาธิปัตย์ก็พร้อมถอนตัวทุกเมื่อ”
ส่วนประเด็นความมั่นใจในสนามการเลือกตั้ง นิพนธ์ ย้ำว่าภาคใต้ยังเป็นพื้นที่หลัก และต้องได้มากกว่า 40 ที่นั่ง จาก 60 เขต ในส่วนพื้นที่เมืองหลวง ซึ่งก่อนหน้านี้แพ้ราบคาบไม่ได้สักเก้าอี้ แกนนำพรรคคนสำคัญกล่าวว่า จะต้องนำบทเรียนมาสังเคราะห์ ซึ่งพรรคตกตะกอนถึงปัญหามาระดับหนึ่ง และคาดว่าจะได้ประมาณ 5 – 7 เก้าอี้ จาก 33 เขต
การคาดการนี้เทียบเคียงกับสถิติจำนวน ส.ก. ที่ได้รับเลือกจากศึกเลือกตั้งสภากรุงเทพมหานครครั้งที่ผ่านมา และสนาม กทม. รอบนี้มีมือพระกาฬที่ผ่านศึกเลือกตั้ง ‘พ่อเมือง’ มาแล้ว อย่าง ’ดร.เอ้’ - สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และ ‘มาดามเดียร์’ - วทันยา บุนนาค เข้ามาเป็นฟันเฟืองไขก๊อก

สำหรับกระแสความนิยมในตัว ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ที่ทำให้การเลือกตั้งปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์ต้อง ‘สอบตก’ หลายพื้นที่ ไม่ใช่ประเด็นที่นิพนธ์เป็นห่วง เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา เฉดสีทางการเมือง ‘เหลือง - แดง’ ยังฉูดฉาด แต่ปัจจุบันเรื่องความขัดแย้ง-เรื่องสีเสื้อไม่ใช่สาระสำคัญอีกต่อไปแล้ว และมอตโต้คลาสิค ‘เลือกความสงบ จบที่ลุงตู่’ ก็ไม่ได้มีพลังในการชี้ขาดการเลือกตั้งรอบนี้ ในส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ดูเหมือนจะเข้ามาแย่งฐานเสียง ด้วยกำลังหลักที่เคยเป็นลูกหม้อพรรคประชาธิปัตย์เดิมนั้น นิพนธ์กล่าวว่า เคยผ่านศึกใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ครั้งนี้อาจดุเดือดประชาธิปัตย์ก็ต้องทุ่มสุดตัวเหมือนกัน
“ไม่ปฏิเสฐความท้าทาย แต่ประชาธิปัตย์จะทำให้ดีที่สุด เราเปิดโอกาสแข่งขันกับพรรคการเมืองใหม่ทุกครั้ง ตั้งแต่สมัยพลเอกชวลิต (ยงใจยุทธ) เคยตั้งพรรคความหวังใหม่ หรือกรณีพลตรีจำลอง (ศรีเมือง) ก่อตั้งพรรคพลังธรรม เราก็แข่งกันเต็มที่ เรื่องนี้เราไม่หวั่นไหวครับ”
ผู้เขียนถามย้ำคำเดิมว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกลับมายืนหยัดได้หรือไม่ นิพนธ์ บุญญามณี ตอบส่งท้าย ว่าบางคนบอกประชาธิปัตย์ดีแต่พูด ซึ่งเป็นวาทกรรมด้อยค่าพรรค แต่พรรคพิสูจน์ให้เห็นแล้ว ว่ายุคนี้ประชาธิปัตย์พูดแล้วทำ ‘ทำได้ไว ทำได้จริง’ ไม่ใช่มอตโต้ที่คิดขึ้นมาตื้นๆ แต่เกิดจากนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่พรรคทำให้ประชาชนเห็นในช่วงที่ผ่านมา
“ผมเคยพูดตั้งแต่วันแรกในการประกาศศึกเลือกตั้ง 70 – 80 เก้าอี้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันของประชาธิปัตย์ ผมไม่ขอเถียงให้เสียเวลาต้องพิสูจน์ ขอให้รอดูวันประกาศผลจะได้เห็นว่าเราได้กี่ที่นั่ง 77 ปีของประชาธิปัตย์เจอเสือสิงห์กระทิงแรดมาเยอะ เรามาทุกรูปแบบแล้ว” นิพนธ์ บุญญามณี กล่าวทิ้งท้าย
“ไม่ปฏิเสฐความท้าทาย แต่ประชาธิปัตย์จะทำให้ดีที่สุด เราเปิดโอกาสแข่งขันกับพรรคการเมืองใหม่ทุกครั้ง ตั้งแต่สมัยพลเอกชวลิต (ยงใจยุทธ) เคยตั้งพรรคความหวังใหม่ หรือกรณีพลตรีจำลอง (ศรีเมือง) ก่อตั้งพรรคพลังธรรม เราก็แข่งกันเต็มที่ เรื่องนี้เราไม่หวั่นไหวครับ”
ผู้เขียนถามย้ำคำเดิมว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกลับมายืนหยัดได้หรือไม่ นิพนธ์ บุญญามณี ตอบส่งท้าย ว่าบางคนบอกประชาธิปัตย์ดีแต่พูด ซึ่งเป็นวาทกรรมด้อยค่าพรรค แต่พรรคพิสูจน์ให้เห็นแล้ว ว่ายุคนี้ประชาธิปัตย์พูดแล้วทำ ‘ทำได้ไว ทำได้จริง’ ไม่ใช่มอตโต้ที่คิดขึ้นมาตื้นๆ แต่เกิดจากนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่พรรคทำให้ประชาชนเห็นในช่วงที่ผ่านมา
“ผมเคยพูดตั้งแต่วันแรกในการประกาศศึกเลือกตั้ง 70 – 80 เก้าอี้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันของประชาธิปัตย์ ผมไม่ขอเถียงให้เสียเวลาต้องพิสูจน์ ขอให้รอดูวันประกาศผลจะได้เห็นว่าเราได้กี่ที่นั่ง 77 ปีของประชาธิปัตย์เจอเสือสิงห์กระทิงแรดมาเยอะ เรามาทุกรูปแบบแล้ว” นิพนธ์ บุญญามณี กล่าวทิ้งท้าย
