เข้าสู่ฤดูการเลือกตั้งเต็มตัว หลังพรรคการเมืองทยอยเข้ายื่นรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อเมื่อวันที่ 3-4 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าไม่ผิดคาดสำหรับ ส.ส. เขตแต่ละพรรคที่ร้อยทั้งร้อย จัดเต็มคาราเบล ส่ง ‘บ้านใหญ่’ มุ่งหน้าเข้าประกวด บ้างถึงขนาดใช้วรยุทธ์ ‘ดึง - ดูด’ คนเก่งคนกล้าของพื้นที่ตี้มาสมทบกำลัง บางพรรคถึงกับโดนแซวว่าเป็น ‘พรรค...สาขาสอง’ เพราะตกปลาในบ่อเพื่อน ก็ว่ากันไปตามบาทวิถีการเมืองไทย
สำหรับผู้เข้าแข่งขัน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แม้วันนี้จะถูกลดจำนวน จาก 150 ที่นั่ง เป็น 100 ที่นั่ง แต่ความสำคัญก็ไม่ได้หย่อนย้อยตามลง แต่ละพรรคการเมืองล้วน ส่งบุคลากรทางการเมืองลงประกวดลวดลาย เป็นสงครามขาอ่อนคงมีแต่ตัวระดับมิสยูฯ - มิสแกรนด์ ‘ตัวตึง’ วงการทั้งนั้น
ทว่าธรรมชาติของการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ นั้นจะถูกจัดวางลำดับตามความเหมาะสม ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เลือกจาก ‘ความเป็นบุคคลสำคัญ’ หรือ ‘คนเก่าแก่’ ของพรรคนั้นๆ ข้อนี้ยึดเป็นสามัญปฏิบัติมานมนาน ประเด็นนี้เห็นแทบทุกพรรคใหญ่ อาทิ ‘พลังประชารัฐ - ประชาธิปัตย์ - ภูมิใจไทย - รวมไทยสร้างชาติ’ สำหรับพรรคฝ่ายค้านอย่าง ‘เพื่อไทย’ มีความต่างบ้าง ตรงที่ ‘แบ่งเค้กรัฐมนตรี’ ไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จะมีผู้มากบารมีหรือนักบริหารชั้นเซียนรั้งท้ายแถว เพราะอย่างไรต่อให้ไม่ได้รับเลือกแต่ได้เป็นรัฐบาล ก็มีเก้าอี้ รมต. สำรองไว้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนขออันดับ ‘เซฟโซน’
อย่างไรก็ดี ยังมีอีกพรรคการเมืองที่จัดอันดับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แตกต่างกับเพื่อนๆ พรรคอื่นอยู่บ้าง อย่าง ‘พรรคก้าวไกล’ นอกจากบุคลากรที่เป็น ‘แบรนด์เนอร์’ ของพรรคอย่าง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้า และแคนดิเดตนายกฯ คนเดียวของ ‘ก้าวไกล’ ที่ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งยึดพื้นที่หัวตารางแถวแรก ‘ชัยธวัช ตุลาธน’ เลขาธิการพรรค และ ‘ศิริกัญญา ต้นสกุล’ รองหัวหน้าพรรค (ฝ่ายนโยบาย) เรียงลำดับ หนึ่ง - สอง - สาม
สำหรับผู้เข้าแข่งขัน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แม้วันนี้จะถูกลดจำนวน จาก 150 ที่นั่ง เป็น 100 ที่นั่ง แต่ความสำคัญก็ไม่ได้หย่อนย้อยตามลง แต่ละพรรคการเมืองล้วน ส่งบุคลากรทางการเมืองลงประกวดลวดลาย เป็นสงครามขาอ่อนคงมีแต่ตัวระดับมิสยูฯ - มิสแกรนด์ ‘ตัวตึง’ วงการทั้งนั้น
ทว่าธรรมชาติของการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ นั้นจะถูกจัดวางลำดับตามความเหมาะสม ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ส่วนใหญ่เลือกจาก ‘ความเป็นบุคคลสำคัญ’ หรือ ‘คนเก่าแก่’ ของพรรคนั้นๆ ข้อนี้ยึดเป็นสามัญปฏิบัติมานมนาน ประเด็นนี้เห็นแทบทุกพรรคใหญ่ อาทิ ‘พลังประชารัฐ - ประชาธิปัตย์ - ภูมิใจไทย - รวมไทยสร้างชาติ’ สำหรับพรรคฝ่ายค้านอย่าง ‘เพื่อไทย’ มีความต่างบ้าง ตรงที่ ‘แบ่งเค้กรัฐมนตรี’ ไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จะมีผู้มากบารมีหรือนักบริหารชั้นเซียนรั้งท้ายแถว เพราะอย่างไรต่อให้ไม่ได้รับเลือกแต่ได้เป็นรัฐบาล ก็มีเก้าอี้ รมต. สำรองไว้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนขออันดับ ‘เซฟโซน’
อย่างไรก็ดี ยังมีอีกพรรคการเมืองที่จัดอันดับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ แตกต่างกับเพื่อนๆ พรรคอื่นอยู่บ้าง อย่าง ‘พรรคก้าวไกล’ นอกจากบุคลากรที่เป็น ‘แบรนด์เนอร์’ ของพรรคอย่าง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้า และแคนดิเดตนายกฯ คนเดียวของ ‘ก้าวไกล’ ที่ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งยึดพื้นที่หัวตารางแถวแรก ‘ชัยธวัช ตุลาธน’ เลขาธิการพรรค และ ‘ศิริกัญญา ต้นสกุล’ รองหัวหน้าพรรค (ฝ่ายนโยบาย) เรียงลำดับ หนึ่ง - สอง - สาม

นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายปะปนกันไปบนหัวแถว อยู่ถ้าประเมินจาก ‘ท็อปเทน’ ของรายชื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นแกนนำหรือผู้บริหารพรรค แต่ที่น่าสังเกตคือชั้นหัวกะทิของพรรคก้าวไกลผ่านการหยิบจับประเด็นเคลื่อนไหวในสนามปัญหาจนเลื่องชื่อทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ‘ปีกแรงงาน’ - ‘เซีย จำปาทอง’ ที่รอบนี้ขยับขึ้นมาในลำดับที่ 4 ตามประวัติเขาเป็นผู้คว่ำหวอดในสายกรรมาชีพ สนับสนุนผลักดันเรื่องสวัสดิการแรงงานมาร่วม 25 ปี ภายใต้ความเชื่อ ‘เราทุกคนคือแรงงาน’
ลำดับที่ 5 ‘อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล’ องคาพยพคนสำคัญของ ‘ทีมเศรษฐกิจ’ ถัดมาเป็นลำดับที่ 6 ‘อภิชาติ ศิริสุนทร’ ดูนโยบายการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่พรรคขับเคลื่อน อันดับที่ 7 ‘ทหารกล้า’ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ไม่ต้องบรรยายคุณสมบัติ ออกศึกในสภาฟาดฟันข้าศึกเลือดซิบมาแล้วหลายคน ในขณะที่ ‘รังสิมันต์ โรม’ ฐานะผู้อภิปรายแบบขุดคุ้ย เป็นไวรัลกรณีสำคัญ อย่างกรณี ‘ตั๋วช้าง - ส.ว.ทรงเอ’ ก็ติดโผลในลำดับ 8 ด้วย รวมไปถึง 2 อันดับสุดท้ายของชุดแรก อย่าง ‘สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล’ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์มือทอง และ ‘สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ’ มือหนึ่งด้านงานคมนาคม
ไม่จำเป็นต้องขยายความอีก 90 อันดับ เพราะหากผู้อ่านลองเปิดรายชื่อจะทราบว่าส่วนใหญ่เป็นบุคคลกรด้านวิชาการ และนักเคลื่อนไหวเป็นส่วนมาก นี่จึงเป็นข้อแตกต่างของพรรคก้าวไกล ที่ได้เปรียบคู่แข่งเรื่อง ‘ความหลากหลาย’ ของผู้สมัครปาร์ตี้ลิตส์ ซึ่งเป็นความไม่ปรกติวิสัยของพรรคการเมืองแบบไทยๆ ทั่วไป
วิเคราะห์ดูเหตุผลแรก ‘ก้าวไกล’ มีความชัดเจนเรื่องการ ‘ชูนโยบายนำหน้าแบรนด์บุคคล’ ซึ่งเป็นจุดขายหลักมาตั้งแต่สมัย ‘อนาคตใหม่’ เหตุผลถัดมาก็เป็นเรื่องของ ‘ความสดใหม่’ เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งไม่นาน ลำดับอาวุโสหรือคนเก่าแก่ไม่ได้มีผล
‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า อธิบายขยายเรื่องนี้ว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีการแบ่งแนวทางจัดอันดับไว้ 2 แบบ
แบบที่ 1 หากเป็นพรรคที่ประกอบไปด้วยมุ้งการเมืองใหญ่ๆ มาประกอบรวมกัน จะมีการจัดสรรไปรับผิดชอบพื้นที่ตัวเอง โดย ‘แกนนำ’ จะถูกจัดอำดับไว้ในเซฟโซน กรณีที่เป็นพรรคขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งขุมกำลัง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่หวังผลไม่ไม่เยอะ ก็จะส่ง ‘คนในครอบครัว’ บ้านใหญ่มาอยู่ในอันดับต้นเพื่อรักษาโควต้า ส่วนแกนนำจะถูกจัดสรรลงรับสมัครแบบเขต
แบบที่ 2 คือกรณีพรรคขนาดใหญ่ที่เชื่อ ว่าจะได้รับเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เยอะ ก็สามารถจัดวางตัวผู้เล่นคนสำคัญได้เยอะ และหากวิเคราะห์แล้วคิดว่าพรรคจะได้ร่วมจัดตั้งหรือเป็นแกนนำรัฐบาลเอง ก็จะจัดสูตรนำส่งผู้สมัครตัวดีๆ ไปไว้ลำดับท้ายๆ ด้วย อย่างพรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ เพราะคัดเตรียมส่งเป็นรัฐมนตรีแล้ว
ลำดับที่ 5 ‘อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล’ องคาพยพคนสำคัญของ ‘ทีมเศรษฐกิจ’ ถัดมาเป็นลำดับที่ 6 ‘อภิชาติ ศิริสุนทร’ ดูนโยบายการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่พรรคขับเคลื่อน อันดับที่ 7 ‘ทหารกล้า’ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ไม่ต้องบรรยายคุณสมบัติ ออกศึกในสภาฟาดฟันข้าศึกเลือดซิบมาแล้วหลายคน ในขณะที่ ‘รังสิมันต์ โรม’ ฐานะผู้อภิปรายแบบขุดคุ้ย เป็นไวรัลกรณีสำคัญ อย่างกรณี ‘ตั๋วช้าง - ส.ว.ทรงเอ’ ก็ติดโผลในลำดับ 8 ด้วย รวมไปถึง 2 อันดับสุดท้ายของชุดแรก อย่าง ‘สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล’ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์มือทอง และ ‘สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ’ มือหนึ่งด้านงานคมนาคม
ไม่จำเป็นต้องขยายความอีก 90 อันดับ เพราะหากผู้อ่านลองเปิดรายชื่อจะทราบว่าส่วนใหญ่เป็นบุคคลกรด้านวิชาการ และนักเคลื่อนไหวเป็นส่วนมาก นี่จึงเป็นข้อแตกต่างของพรรคก้าวไกล ที่ได้เปรียบคู่แข่งเรื่อง ‘ความหลากหลาย’ ของผู้สมัครปาร์ตี้ลิตส์ ซึ่งเป็นความไม่ปรกติวิสัยของพรรคการเมืองแบบไทยๆ ทั่วไป
วิเคราะห์ดูเหตุผลแรก ‘ก้าวไกล’ มีความชัดเจนเรื่องการ ‘ชูนโยบายนำหน้าแบรนด์บุคคล’ ซึ่งเป็นจุดขายหลักมาตั้งแต่สมัย ‘อนาคตใหม่’ เหตุผลถัดมาก็เป็นเรื่องของ ‘ความสดใหม่’ เพราะเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งไม่นาน ลำดับอาวุโสหรือคนเก่าแก่ไม่ได้มีผล
‘ดร.สติธร ธนานิธิโชติ’ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า อธิบายขยายเรื่องนี้ว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีการแบ่งแนวทางจัดอันดับไว้ 2 แบบ
แบบที่ 1 หากเป็นพรรคที่ประกอบไปด้วยมุ้งการเมืองใหญ่ๆ มาประกอบรวมกัน จะมีการจัดสรรไปรับผิดชอบพื้นที่ตัวเอง โดย ‘แกนนำ’ จะถูกจัดอำดับไว้ในเซฟโซน กรณีที่เป็นพรรคขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งขุมกำลัง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่หวังผลไม่ไม่เยอะ ก็จะส่ง ‘คนในครอบครัว’ บ้านใหญ่มาอยู่ในอันดับต้นเพื่อรักษาโควต้า ส่วนแกนนำจะถูกจัดสรรลงรับสมัครแบบเขต
แบบที่ 2 คือกรณีพรรคขนาดใหญ่ที่เชื่อ ว่าจะได้รับเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เยอะ ก็สามารถจัดวางตัวผู้เล่นคนสำคัญได้เยอะ และหากวิเคราะห์แล้วคิดว่าพรรคจะได้ร่วมจัดตั้งหรือเป็นแกนนำรัฐบาลเอง ก็จะจัดสูตรนำส่งผู้สมัครตัวดีๆ ไปไว้ลำดับท้ายๆ ด้วย อย่างพรรคเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ เพราะคัดเตรียมส่งเป็นรัฐมนตรีแล้ว

สำหรับสูตรการจัดวางบุคคลในบัญชีปาร์ตี้ลิสต์ ที่ต่างจากพวก เพราะมีแนวทางของตัวเองชัดเจนมาแล้วในเรื่องการชูนโยบายนำทัพ
“พูดง่ายคือก้าวไกลใช้นโยบายนำหน้าบุคคล หากเรื่องไหนเป็นเรือธงก็จะนำ ‘กัปตัน’ ของเรือลำนั้นเขามาอยู๋ในลิสต์ต้นๆ เพราะเขาค่อนข้างมั่นใจว่าจะได้รับเลือกประมาณ 10 – 20 เก้าอี้ และชัดเจนว่าต้องการเข้าไปเป็น ส.ส. เพื่อขับเคลื่อนผ่านกลไกสภาด้วย” ดร.สติธร ธนานิธิโชต กล่าว
เมื่อถามว่าบุคคลที่แตกต่างหลายหลายของ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ จะมีผลต่อการเลือกตั้งบัตรใบที่สองหรือไม่นั้น ดร.สติธร ให้ความเห็นว่า พรรคก้าวไกลคิดไม่เหมือนใคร ตั้งแต่การไม่ขายแบนด์บุคคลแบบพรรคอื่นๆ แต่แรกแล้ว จะเห็นชัดกรณี ผู้สมัครแบบเขต ไม่มีเป็นบุคคลมีชื่อเสียง นามสกุลไม่โด่งดังทั้งนั้น
“เขาขายตัวเองชัดเจนว่า ‘ก้าวไกล’ คนก็อาจเป็นองค์ประกอบแค่ส่วนเล็กๆ ไม่ได้เป็นหลักใหญ่สำคัญ ซึ่งข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นของพรรค อีกทั้งผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดก้าวกระโดดแบบพรรคก้าวไกลก็มีอยู่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้คนมีชื่อมาลงรับสมัครแบบพรรคอื่นๆ” ดร.สติธร ธนานิธิโชต กล่าวทิ้งท้าย
“พูดง่ายคือก้าวไกลใช้นโยบายนำหน้าบุคคล หากเรื่องไหนเป็นเรือธงก็จะนำ ‘กัปตัน’ ของเรือลำนั้นเขามาอยู๋ในลิสต์ต้นๆ เพราะเขาค่อนข้างมั่นใจว่าจะได้รับเลือกประมาณ 10 – 20 เก้าอี้ และชัดเจนว่าต้องการเข้าไปเป็น ส.ส. เพื่อขับเคลื่อนผ่านกลไกสภาด้วย” ดร.สติธร ธนานิธิโชต กล่าว
เมื่อถามว่าบุคคลที่แตกต่างหลายหลายของ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ จะมีผลต่อการเลือกตั้งบัตรใบที่สองหรือไม่นั้น ดร.สติธร ให้ความเห็นว่า พรรคก้าวไกลคิดไม่เหมือนใคร ตั้งแต่การไม่ขายแบนด์บุคคลแบบพรรคอื่นๆ แต่แรกแล้ว จะเห็นชัดกรณี ผู้สมัครแบบเขต ไม่มีเป็นบุคคลมีชื่อเสียง นามสกุลไม่โด่งดังทั้งนั้น
“เขาขายตัวเองชัดเจนว่า ‘ก้าวไกล’ คนก็อาจเป็นองค์ประกอบแค่ส่วนเล็กๆ ไม่ได้เป็นหลักใหญ่สำคัญ ซึ่งข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นของพรรค อีกทั้งผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดก้าวกระโดดแบบพรรคก้าวไกลก็มีอยู่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้คนมีชื่อมาลงรับสมัครแบบพรรคอื่นๆ” ดร.สติธร ธนานิธิโชต กล่าวทิ้งท้าย