Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo00.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo01.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo02.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo03.jpg

Photo Story: นางพญาตัวจริง! ‘แพทองธาร’ เข้าทำเนียบฯ ในรอบ 17 ปี

3 ต.ค. 2566 - 11:03

  • ‘เศรษฐา​’​ เคียงคู่​ ‘แพทองธาร’ นำประชุม​ คกก.ซอฟท์พาวเวอร์ นัดแรก​ ‘แพทองธาร’ เข้าทำเนียบในรอบ​ 17 ปี​ โชว์วิชั่น แผนกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม หวัง​ 20 ล้านครอบครัว มีชีวิตที่ดีขึ้น​ สู่ประเทศที่มีรายได้สูง

Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo00.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo01.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo02.jpg
Paetongtarn-Shinawatra-Srettha-Soft-Power-SPACEBAR-Photo03.jpg

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ณ ​ โดยมี แพ​ทองธาร​ ชินวัตร​ รองประธานคณะกรรมการฯ เดินคู่ลงมาจากตึกไทยคู่ฟ้าเพื่อมายังตึกสันติไมตรี 

​โดยนายกรัฐมนตรีได้สวมสูทลายผ้าขาวม้า สีสันสดใส ซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์ชาวไทย​ ซึ่งเรียกเสียงฮือฮากับสีสันของสูทนายกรัฐมนตรี    

เมื่อถามว่านี่เป็นสูทที่เป็นผ้าได้รับจากประชาชน ขณะลงพื้นที่หาเสียงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี​ ตอบติดตลกว่า​ ไม่ใช่ เพราะผืนใหญ่ไม่พอ ก่อนจะหัวเราะตบท้าย และบอกต่อว่าผมชอบสีสดใสอยู่แล้ว ขณะที่คนตัดก็ตัดได้อย่างดีเป็นดีไซเนอร์ที่เก่ง    

เมื่อถามว่าเลือกสีเองเลยหรือไม่นายกรัฐมนตรี​ กล่าวว่า​ ครับ​ ครับ​  

 ขณะที่ แพทองธาร ก็ได้นำเอาผ้าขาวม้ามาผูกที่เอว เช่นเดียวกับคณะทำงานและรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมวันนี้ โดยผู้สื่อข่าวสอบถามว่าทำไม แพทองธารจึงไม้ใส่เสื้อสีสันเหมือนนายกรัฐมนตรี​ แพทองธาร​ กล่าวว่า​ มีผ้าขาวม้า เอาผ้าขาวม้าไปก่อน​ ก่อนที่จะถามกลับว่า เหมือนไม่เข้าใช่ไหม 

เมื่อถามต่อว่าเข้าทำเนียบ​รัฐบาล​ในรอบกี่ปี​ แพทองธาร​ กล่าวว่า​ รู้สึกตื่นเต้นเพราะไม่ได้เข้าทำเนียบมาเป็น 17 ปีแล้ว  

โดยนายรัฐ​มนตรี​ กล่าวว่า​ ผมขอบคุณสำหรับรอยยิ้มการต้อนรับที่อบอุ่น ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาหากันมาประชุมครั้งนี้เป็นความร่วมกันระหว่างส่วนราชการภาคเอกชน​ และผู้ทรงคุณวุฒิ​ เพื่อพิจารณาและการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์​ของประเทศไทยอย่างบูรณาการ รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์​ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง คนเขายังไม่อยากต่อเนื่องเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า และบริการพร้อมกับเครื่องคิดความขยันมากในการแข่งขันของประเทศ และส่งเสริมภาพลักษณ์และเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก 

ปัจจุบันมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการผลักดัน ซอฟท์พาวเวอร์ของไทยหลายครั้ง นโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยหลายคณะ มีความคาบเกี่ยวโดยต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น รัฐบาลจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟเวอร์แห่งชาติ​ มีเป้าหมายผ่านคอนเทนต์​ 11 อุตสาหกรรม​ซอฟท์พาวเวอร์ 

ด้าน แพทองธาร​ ระบุว่า​ เสนอแผนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวแห่งชาติ  มุ่งหมายสร้างระบบนิเวศให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทยจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยแรงงานทักษะสูง และอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์ในสาขาต่างๆและการฑูตเชิงวัฒนธรรม​ เพื่อพัฒนาศักยภาพของวัฒนธรรมและคนไทย​ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนที่เต็มที่จากไปได้ไกลอย่างแน่นอน ซึ่งนโยบายนี้และนโยบายอื่นของเราจะต้องทำควบคู่ไปด้วยกัน โดยจะมุ่งยกระดับคุณภาพยกระดับทักษะของคนไทยจำนวน 20 ล้านคน ที่เป็นแรงงานในปัจจุบันให้เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และเป็นแรงงานสร้างสรรค์ โดยจากการคัดสรรหาสามารถดำเนินการนโยบายได้สำเร็จจะมีรายได้เข้าประเทศ 4 ล้านล้านบาทต่อปี  

นอกจากนี้จะได้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นหนึ่งในผู้นำของประเทศของโลกในเรื่องซอฟทต์พาวเวอร์​ เพื่อที่จะให้การดำเนินการของนโยบายนี้บรรลุวัตถุประสงค์แบ่งวัตถุการทำงานเป็น 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนการพัฒนาคน เฟ้นหาบุคคลเพื่อม่พัฒนาเป็นแรงแรงฝีมือ​ พัฒนาแรงงานอุตสาหกรรมซัพพลายเออร์ต่างๆในประเทศ 11 สาขาประกอบด้วยอาหารกีฬา เทศกาลท่องเที่ยว​ ดนตรี​ หนังสือ​ ภาพยนตร์​ เกม​ ศิลปะ​ การออกแบบ​และแฟชั่น​ โดยจะมีการปรับแก้ข้อกฎหมายที่มีอยู่มานานแต่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ สนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนาสร้างแรงจูงใจทางภาษี​ พร้อมกับเพิ่มพื้นที่การแสดงผลงานอย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ยังสร้างพื้นฐานชุมชนจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ในทุกจังหวัด ให้มี Co-Working Space ต่อยอดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ที่มั่นคงในระดับภูมิภาค​ และให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์​ระดับสากล 

โดยเป้าหมายระยะสั้น 100 วันแรกภายในวันที่ 11 มกราคม 2567 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะพร้อมให้ประชาชนลงทะเบียน ความสนใจในด้านต่างๆ​ เปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆในระดับการสูงและพระราชกฤษฎีกา  ส่งเสริมสอดคล้องกับนโยบาย รวมไปถึงร่วมจัด Winter Festival ให้กรุงเทพฯครั้งยิ่งใหญ่

โดยภายในเวลา 6 เดือน 3 เมษายน​ 2567  จะเริ่มกระบวนการบ่มเพาะศักยภาพ ทักษะสร้างสรรค์ พร้อมเสนอพระราชบัญญัติ  THACCA หรือ Thailand creative Content Agency สู่สภาผู้แทนราษฎรและจัดงานสงกรานต์ทั้งประเทศ ให้เป็นเทศกาลระดับโลกหรือ World Water Festival 

ภายในระยะเวลา 1 ปี 3 ตุลาคม 2561 กระบวนการบ่มเพาะศักยภาพควรจะสามารถสร้างรายงานทักษะสูงและแรงงานสร้างสรรค์ได้เป็นจำนวนอย่างน้อย 1 ล้านคน โดยคาดหมายว่าพระราชบัญญัติTHACCA จะได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป  

โดยในช่วงท้าย แพทองธาร​ ระบุว่า เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะมีชื่อเสียงกว้างไกลไปถึงระดับโลกความสำเร็จนี้จะเป็นสัดส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ กระตุ้น 20 ล้านครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและทำให้ประเทศของเรากลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์