








การประชุมรัฐสภา ที่มี ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีการโหวตร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ร่างปลดล็อกท้องถิ่น ที่เสนอโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 76,591 คน เป็นผู้เสนอ ในวาระ 1 ด้วยวิธีการขานชื่อ
โดยเริ่มลงมติด้วยการขานชื่อเรียงตามตัวอักษร สำหรับ ส.ส.ฝ่ายค้าน โหวต รับหลักการ ยกเว้น ส.ส.ที่ประกาศตัวจะย้ายพรรคไปอยู่กับพรรครัฐบาล
ด้าน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ที่เปิดให้ฟรีโหวต แต่ละพรรคโหวตไปคนละทิศทาง เช่น พรรคพลังประชารัฐ ส่วนใหญ่โหวตไม่เห็นด้วย พรรคภูมิใจไทย ส่วนใหญ่งดออกเสียง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ส่วนใหญ่โหวตเห็นด้วย
ทั้งนี้ ส.ว. ซึ่งอภิปรายคัดค้านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่น แสดงความชัดเจน โหวตไม่เห็นด้วย มีเพียง ส.ว.ไม่กี่คนเท่านั้นที่โหวตเห็นด้วย
ต่อมาเมื่อเปิดให้สมาชิกขานชื่อโหวตจนครบแล้ว ชวนได้เปิดให้สมาชิกที่มาโหวตไม่ทันในช่วงต้นเรียงแถวที่โพเดียมจุดอภิปราย ซึ่งจัดไว้ให้ขานชื่อเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
คราวนี้ชวนแจ้งว่ามีจำนวนมากเป็นพิเศษ ถึงร้อยกว่าคน จึงให้สมาชิกยืนเป็นแถวสวมหน้ากากอนามัย เดินเข้ามาในตู้และขานชื่อพร้อมเลขประจำตัวเพื่อสะดวกต่อการนับคะแนน
ในช่วงที่ พัฒนา สัพโส ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ที่ถูก ศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ปราศรัยกล่าวหาว่าโง่ ได้กล่าวขานชื่อด้วยน้ำเสียงกระแทกกระทั้นว่า “239 พัฒนา สัพโส ไอ้โง่ รับหลักการครับ”
จากนั้นเวลา ชวนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้ประกาศผลการลงมติ โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่นด้วย คะแนน 254 ต่อ 245 คะแนน งดออกเสียง 129 คะแนน และแจ้งเพิมเติมว่า คะแนนรับหลักการมีจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา คือน้อยกว่า 361 คน ในจำนวนนี้มีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบ จำนวน 6 คะแนน ถือว่าน้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา คือน้อยกว่า 83 คะแนน ดังนั้นจึงถือว่ามติที่ประชุมรัฐสภาไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่นฉบับนี้
โดยเริ่มลงมติด้วยการขานชื่อเรียงตามตัวอักษร สำหรับ ส.ส.ฝ่ายค้าน โหวต รับหลักการ ยกเว้น ส.ส.ที่ประกาศตัวจะย้ายพรรคไปอยู่กับพรรครัฐบาล
ด้าน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ที่เปิดให้ฟรีโหวต แต่ละพรรคโหวตไปคนละทิศทาง เช่น พรรคพลังประชารัฐ ส่วนใหญ่โหวตไม่เห็นด้วย พรรคภูมิใจไทย ส่วนใหญ่งดออกเสียง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ส่วนใหญ่โหวตเห็นด้วย
ทั้งนี้ ส.ว. ซึ่งอภิปรายคัดค้านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่น แสดงความชัดเจน โหวตไม่เห็นด้วย มีเพียง ส.ว.ไม่กี่คนเท่านั้นที่โหวตเห็นด้วย
ต่อมาเมื่อเปิดให้สมาชิกขานชื่อโหวตจนครบแล้ว ชวนได้เปิดให้สมาชิกที่มาโหวตไม่ทันในช่วงต้นเรียงแถวที่โพเดียมจุดอภิปราย ซึ่งจัดไว้ให้ขานชื่อเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
คราวนี้ชวนแจ้งว่ามีจำนวนมากเป็นพิเศษ ถึงร้อยกว่าคน จึงให้สมาชิกยืนเป็นแถวสวมหน้ากากอนามัย เดินเข้ามาในตู้และขานชื่อพร้อมเลขประจำตัวเพื่อสะดวกต่อการนับคะแนน
ในช่วงที่ พัฒนา สัพโส ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ที่ถูก ศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ปราศรัยกล่าวหาว่าโง่ ได้กล่าวขานชื่อด้วยน้ำเสียงกระแทกกระทั้นว่า “239 พัฒนา สัพโส ไอ้โง่ รับหลักการครับ”
จากนั้นเวลา ชวนที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ได้ประกาศผลการลงมติ โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่นด้วย คะแนน 254 ต่อ 245 คะแนน งดออกเสียง 129 คะแนน และแจ้งเพิมเติมว่า คะแนนรับหลักการมีจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา คือน้อยกว่า 361 คน ในจำนวนนี้มีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบ จำนวน 6 คะแนน ถือว่าน้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา คือน้อยกว่า 83 คะแนน ดังนั้นจึงถือว่ามติที่ประชุมรัฐสภาไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่นฉบับนี้