Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo00.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo01.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo02.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo03.jpg

Photo Story: ‘ประชามติ’ ปลดล็อกแก้ รธน. ไตรมาสแรกปี 67

10 ต.ค. 2566 - 10:26

  • รัฐบาลกางแผน ‘ปลดล็อก’ แก้ รธน. คิกออฟไตรมาสแรก ปี 2567 เริ่มกระบวนการ ‘ทำประชามติ’ พร้อมตั้ง 2 อนุกรรมการฯ วางกรอบ ยึดคำวินิจฉัยศาล รธน. วางโรดแมปยาว 4 ปี

Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo00.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo01.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo02.jpg
Phumtham-Pheuthai-Party-Referendum-Constitution-SPACEBAR-Photo03.jpg

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการจัดทำประชามติฯ แถลงผลประชุมว่า รัฐบาลมุ่งมั่นในการจะทำประชามติให้เป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นให้ได้และจะดำเนินการอย่างเร็วที่สุด อย่ากังวลว่าจะเสียเวลาหรือดูล่าช้า โดยจะใช้เวลาเท่าที่จำเป็นในการทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาให้ดีที่สุด  

ส่วนความเห็นของคนที่สนับสนุน ต้องดูว่าสนับสนุนเรื่องอะไรและไม่สนับสนุนเพราะอะไร โดยจะรวบรวมความเห็นต่างๆ เหล่านี้ให้แล้วนำมาพูดคุยกันประมาณ ไม่เกิน 10 พ.ย.นี้ ว่ามีข้อติดขัดในเรื่องใดบ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจน และดำเนินการสรุปให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ โดยจะยกร่างให้เสร็จภายใน 4 ปี พร้อมกับมีกฎหมายลูกให้เสร็จ เพื่อใช้รองรับในกติกาการเลือกตั้งครั้งต่อไป

"ขอย้ำว่าทุกอย่างจะทำให้เป็นประชาธิปไตย ให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่ายและคาดว่าจะทำประชามติ ได้ไม่เกินไตรมาสแรกของปี 2567 สำหรับการประสานงานรับฟังความคิดเห็นทางคณะอนุกรรมการฯจะดำเนินการควบคู่กับฝ่ายเลขาฯที่จะไปพิจารณาเปิดช่องทางรับฟังอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้คณะกรรมการจะนัดประชุมเดือนละครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเป็นระยะ" ภูมิธรรม กล่าว

ด้าน นิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการฯ กล่าวว่า ที่ประชุมพูดคุยกรอบการดำเนินงานของกรรมการชุดนี้ที่เป็นการศึกษาเรื่องการทำประชามติไม่ใช่เรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งการทำประชามติจะต้องให้ทุกภาคมาร่วมกันให้ความเห็น โดยเปิดรับฟังจากทุกฝ่าย ในประเด็นที่ยังไม่มีข้อสรุป คือ การจัดทำประชามติจะทำกี่ครั้ง จะทำ 3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง และต้องยึดตามความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ และความเห็นของพรรคการเมืองที่ยังค้างอยู่ในสภาฯ และรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้งฉบับ 2540 และ 2550 ซึ่งเป็นกรอบเดิมที่เคยทำ และต้องดูรายงานกรรมการการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย 

นิกร กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ คณะที่ 1 เป็นคณะรับฟังความเห็น มีอำนาจในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวางในกรอบเวลาที่จำกัด คณะที่ 2 มีหน้าที่ศึกษาแนวทางในการจัดทำประชามติ ให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 - 3 วัน ในการตั้งคณะอนุกรรมการ จากนั้นคณะอนุกรรมการในแต่ละคณะจะไปดำเนินงานตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยเร็วต่อไป 

อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุม ภูมิธรรม ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า เราจะเริ่มต้นการทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยการขอประชามติ ตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยมา โดยจะยึดถือเป็นหลัก เพราะสิ่งที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ข้อแรกคือเราจะไม่ไปแตะพระราชอำนาจหมวด 1 และหมวด 2 และพระราชอำนาจที่อยู่ในมาตราต่างๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องหลัก 

เราตั้งใจจะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จบภายใน 4 ปีที่รัฐบาลเป็นรัฐบาลอยู่ หมายความว่าเราตั้งใจจะให้เสร็จสิ้น พร้อมมีกฎหมายลูกประกอบ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถทำได้เลย และตั้งมั่นที่จะให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน เพื่อนำมาใช้ให้ได้ ซึ่งก็ต้องพยายามรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ตามคำที่ว่าเราจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นประชาธิปไตยให้ได้มากที่สุด ไม่ให้มีข้อถกเถียงที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และคิดว่าการทำรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้องมีวิวัฒนาการ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกตั้งที่ดี ถือเป็นกรอบใหญ่ที่ครม. ได้พูดคุยกัน 

นอกจากนี้ในกาประชุมมี ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ จิราพร สินธุไพร  ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็น ส.ส. เข้าร่วมรับฟังด้วย เพื่อที่จะตามประสานงานกับคณะกรรมการทุกท่าน แต่ ภูมิธรรม ยืนยันว่าทั้งคู่ไม่ได้เป็นกรรมการ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์