กลายเป็นมหากาพย์ไปเสียแล้วสำหรับ กรณี ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ถูกยื่นตรวจสอบจาก ‘เซียนนักร้อง’ ปมถือ ‘หุ้นไอทีวี’ และกำลังเป็นที่ถกเถียงในสังคมอยู่ว่า iTV เป็นสื่อหรือไม่
ไม่ต้องสาธยายข้อมูลที่หลั่งไหลทั้งจากทั้งฝากฝั่ง ‘เรืองไกร’ และทีมงานของเขา ว่ามีมากมายก่ายกองแทบจะทำให้นักข่าวประจำ กกต. ไม่ว่างเว้นจากเรื่องร้องเรียน ขณะที่ ‘จำเลย’ อย่าง ‘พิธา’ และพลพรรค ต่างโล่งใจขึ้นมาได้เปาะหนึ่ง หลังนักข่าวเจนสนาม ‘ฐปณีย์ เอียดศรีไชย’ จากรายการข่าวสามมิติ เปิดหลักฐานเด็ด เป็นบันทึกการประชุม เมื่อช่วงปลายเมษายน เป็นบทสนทนาที่ดูขัดต่อเอกสารที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ ทำเอา ‘เครื่องจักรสีส้ม’ ใจฟูขึ้นบ้าง
หากมองไปถึงอนาคต มีการคาดการณ์กันว่า กระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานและไตร่อาจออกได้ 2 แนวทางคือ คือ 1) กรณีการพิจารณา ม.151 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นคดีอาญา กกต.ต้องส่งไปที่ศาลอาญา 2) เมื่อทางกกต. ได้รับรองผลการเป็น ส.ส. ของ พิธา แล้ว กกต. อาจดำเนินการในประเด็นการขาดคุณสมบัติของ ส.ส. ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย
พูดถึงน้ำหนักความสำคัญของหลักฐานประเภทต่าง ๆ ‘รศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก’ นักวิชาการด้านกฎหมาย และ อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยายานบุคคล ทั้งหมดทั้งมวลศาลท่านจะรับมาพิจารณาทั้งสิ้น โดยกกต.และอัยการจะต้องเป็นผู้รวบรวม ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ อาจจะเหมือนหรือมีความแตกต่างกันบ้างตามรูปของคดี เพราะขึ้นศาลคนละประเภท
อย่างกรณี ม.151 เป็นคดีอาญาต้องรวบรวมพยานหลักฐานในลักษณะการดำเนินคดีทางอาญา ที่ว่าด้วยประเด็น ‘รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ’ แต่กรณี สภาผู้แทนราษฎร์ยื่นเรื่อง หรือภายหลังจากที่มีสถานะเป็น ส.ส. แล้ว กกต.จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานในอีกแบบ เช่น พยานเอกสาร (หุ้น) หรือเอกสารที่สื่อถึงการพิสูจน์ถึงสถานะการถือหุ้น พยานวัตถุจำพวกคลิปบันทึกการประชุม ท้ายที่สุดอาจมีพยานบุคคลที่ถูกเรียกมาไตร่สวน แล้วส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญรับไม้ต่อ
“คงตอบไม่ได้ว่าอะไรคือหลักฐานสำคัฐเพราะเราไม่ใช่ศาลที่จะพิจารณา ทุกอย่างอาจมีน้ำหนักมากน้อยต่างกัน แล้วบรรดาพยานหลักฐานที่เราเห็น หลายคนก็อาจจะบอกว่ามันขัดแย้งไม่ตรงกัน ซึ่งจริง ๆ มันอาจไม่ได้ขัดแย้ง เพียงแต่อาจเป็นคนละเรื่อง พูดคนละอย่าง ตอบคำถามคนละที เอกสารที่ออกมาเพราะคนนั้นหยิบมา คนนี้หยิบมา โดยทั่วไปสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มันเกิดขึ้นมาก่อน ที่จะหยิบยกการถือหุ้นสื่อของคุณพิธา”
อาจารย์เจษฎ์ อธิบายต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ไม่มีใครสามารถรู้ได้ ว่ามีการพูด เขียน หรือทำอะไรในประการใดประการหนึ่ง แต่เมื่อวันนี้เป็นการพูดถึงเรื่องการถือหุ้นสื่อ ข้อมูลออกมาหลายทิศทาง เปรียบเทียบเหมือน ‘ฝาหม้อ’ ที่คนกำลังตั้งคำถามว่า เป็นหม้อเดียวกันหรือเปล่า
ในส่วนประเด็นคลิปวีดีโอของนักข่าวชื่อดัง อาจถูกนำไปพิจารณาเพื่อหักล้างกับข้อมูลชุดเดิม หรืออาจไม่ถูกนำไปหักล้างเลยก็ได้ ไม่มีใครฟันธง เพราะพูดกันคนละแบบ แล้วไม่มีใครทราบว่าอะไรคือตัวชี้วัด หรือจริง ๆ อาจเป็นคนละประเด็นเลยก็ได้
“หากไปดูหลายคนหยิบยกขึ้นมาว่า คนถามเขาถามเรื่องการประกอบกิจการสื่อ คนตอบก็พูดว่าต้องรอคำพิพากษาศาลก่อน ถ้าเรามองแยกกัน เขาอาจถามเรื่องการประกอบสื่อไอทีวี แต่สิ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นหมายเหตุในงบการเงิน อาจเป็นเรื่องของการประกอบการอื่น ซึ่งเป็นการประกอบการให้คนอื่นเช่น โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ มันคนละเรื่อง แต่สิ่งที่ถามหรือสิ่งที่บันทึกเป็นการประกอบการสื่อมวลชนทั้งคู่ เพียงแต่คนละแบบกัน”
เมื่อถามต่อว่าหลักฐานชิ้นนี้จะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด อาจารย์เจษฎ์ยังยืนยันคำตอบเดิมว่าขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานอะไรที่ถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียว หรือหลาย ๆ ชิ้นที่จะสามารถ ‘มัด’ หรือ ‘คลาย’ ปมคดีได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารแวดล้อมทั้งสิ้น จำเป็นต้องนำมาประกอบเพื่อพิจารณา ่ในอนาคตอาจมีหลักฐานใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งอาจมีน้ำหนักมากกว่า ศาลอาจใช้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบแทนก็ได้ ในด้านความเชื่อของผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล เองอาจมองว่าหลักฐานบันทึกการประชุมเป็นข้อมูลที่่่มีน้ำหนักในการพิจารณาของศาล แต่ทั้งหมดทั้งมวลมันเป็นมุมมองปัจเจก ไม่ผิดแปลก แต่อย่างใด
อาจารย์เจษฎ์ บอกเล่ามาว่า ในส่วนพรรคก้าวไกลเองไม่ถือว่าตกที่นั่งลำบาก หากเทียบกับกรณีพรรคพันธมิตร อย่างเพื่อไทย เพราะที่ผ่านมาเคยโดนมาหลายกรณีตั้งแต่สมัย ‘ทักษิณ ชินวัตร’ เคยถูกตรวจสอบเรื่องกรณีซุกหุ้น ด้วย หลายสิ่งอาจต้องตั้งคำถามย้อนถึงพิธา เรื่องความระมัดระวังทางกฎหมาย
“ตั้งแต่ 6 เมษายน ก็มีบทบัญญัตินี้อยู่แล้ว ตอนสมัยคุณธนาธรก็มีบทบัญญัตินี้ ทำไมไม่พิจารณาให้รอบคอบ มันไม่มีใครไปแกล้งใคร เขาต้องพิจารณาตามกฎหมายว่าถือหุ้นสื่อหรือไม่ ก่อนหน้านี้พรรคก้าวไกลก็ิเคยยื่นตรวจสอบคนอื่นเหมือนกัน ทำไมไม่ดูตัวคุณเองดี ๆ ทำไมคนอื่น ๆ เขาสามารถเคลียตัวเองได้ เรื่องผู้จัดการมรดกถามว่ามีน้ำหนักมากไหม ต้องไปดูว่าเป็นผู้จัดการฯ ที่ได้รับทรัพย์มรดกนั้นไหม ถ้าเป็นมรดกทางพินัยกรรมระบุชัดเจนว่า ไม่ให้คุณพิธาก็อีกเรื่องนึง แต่ถ้าเป็นทาบาทโดยธรรมมันพูดยาก เป็นผู้จัดการฯ อาจจะใช่ แต่ไม่ได้หมายความว่าถือให้กับคนอื่นแต่ก็ถือไว้สำหรับตัวเองด้วย มันก็มีส่วน” รศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวทิ้งท้าย
ไม่ต้องสาธยายข้อมูลที่หลั่งไหลทั้งจากทั้งฝากฝั่ง ‘เรืองไกร’ และทีมงานของเขา ว่ามีมากมายก่ายกองแทบจะทำให้นักข่าวประจำ กกต. ไม่ว่างเว้นจากเรื่องร้องเรียน ขณะที่ ‘จำเลย’ อย่าง ‘พิธา’ และพลพรรค ต่างโล่งใจขึ้นมาได้เปาะหนึ่ง หลังนักข่าวเจนสนาม ‘ฐปณีย์ เอียดศรีไชย’ จากรายการข่าวสามมิติ เปิดหลักฐานเด็ด เป็นบันทึกการประชุม เมื่อช่วงปลายเมษายน เป็นบทสนทนาที่ดูขัดต่อเอกสารที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ ทำเอา ‘เครื่องจักรสีส้ม’ ใจฟูขึ้นบ้าง
หากมองไปถึงอนาคต มีการคาดการณ์กันว่า กระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานและไตร่อาจออกได้ 2 แนวทางคือ คือ 1) กรณีการพิจารณา ม.151 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นคดีอาญา กกต.ต้องส่งไปที่ศาลอาญา 2) เมื่อทางกกต. ได้รับรองผลการเป็น ส.ส. ของ พิธา แล้ว กกต. อาจดำเนินการในประเด็นการขาดคุณสมบัติของ ส.ส. ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย
พูดถึงน้ำหนักความสำคัญของหลักฐานประเภทต่าง ๆ ‘รศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก’ นักวิชาการด้านกฎหมาย และ อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยายานบุคคล ทั้งหมดทั้งมวลศาลท่านจะรับมาพิจารณาทั้งสิ้น โดยกกต.และอัยการจะต้องเป็นผู้รวบรวม ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ อาจจะเหมือนหรือมีความแตกต่างกันบ้างตามรูปของคดี เพราะขึ้นศาลคนละประเภท
อย่างกรณี ม.151 เป็นคดีอาญาต้องรวบรวมพยานหลักฐานในลักษณะการดำเนินคดีทางอาญา ที่ว่าด้วยประเด็น ‘รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ’ แต่กรณี สภาผู้แทนราษฎร์ยื่นเรื่อง หรือภายหลังจากที่มีสถานะเป็น ส.ส. แล้ว กกต.จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานในอีกแบบ เช่น พยานเอกสาร (หุ้น) หรือเอกสารที่สื่อถึงการพิสูจน์ถึงสถานะการถือหุ้น พยานวัตถุจำพวกคลิปบันทึกการประชุม ท้ายที่สุดอาจมีพยานบุคคลที่ถูกเรียกมาไตร่สวน แล้วส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญรับไม้ต่อ
“คงตอบไม่ได้ว่าอะไรคือหลักฐานสำคัฐเพราะเราไม่ใช่ศาลที่จะพิจารณา ทุกอย่างอาจมีน้ำหนักมากน้อยต่างกัน แล้วบรรดาพยานหลักฐานที่เราเห็น หลายคนก็อาจจะบอกว่ามันขัดแย้งไม่ตรงกัน ซึ่งจริง ๆ มันอาจไม่ได้ขัดแย้ง เพียงแต่อาจเป็นคนละเรื่อง พูดคนละอย่าง ตอบคำถามคนละที เอกสารที่ออกมาเพราะคนนั้นหยิบมา คนนี้หยิบมา โดยทั่วไปสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มันเกิดขึ้นมาก่อน ที่จะหยิบยกการถือหุ้นสื่อของคุณพิธา”
อาจารย์เจษฎ์ อธิบายต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ไม่มีใครสามารถรู้ได้ ว่ามีการพูด เขียน หรือทำอะไรในประการใดประการหนึ่ง แต่เมื่อวันนี้เป็นการพูดถึงเรื่องการถือหุ้นสื่อ ข้อมูลออกมาหลายทิศทาง เปรียบเทียบเหมือน ‘ฝาหม้อ’ ที่คนกำลังตั้งคำถามว่า เป็นหม้อเดียวกันหรือเปล่า
ในส่วนประเด็นคลิปวีดีโอของนักข่าวชื่อดัง อาจถูกนำไปพิจารณาเพื่อหักล้างกับข้อมูลชุดเดิม หรืออาจไม่ถูกนำไปหักล้างเลยก็ได้ ไม่มีใครฟันธง เพราะพูดกันคนละแบบ แล้วไม่มีใครทราบว่าอะไรคือตัวชี้วัด หรือจริง ๆ อาจเป็นคนละประเด็นเลยก็ได้
“หากไปดูหลายคนหยิบยกขึ้นมาว่า คนถามเขาถามเรื่องการประกอบกิจการสื่อ คนตอบก็พูดว่าต้องรอคำพิพากษาศาลก่อน ถ้าเรามองแยกกัน เขาอาจถามเรื่องการประกอบสื่อไอทีวี แต่สิ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นหมายเหตุในงบการเงิน อาจเป็นเรื่องของการประกอบการอื่น ซึ่งเป็นการประกอบการให้คนอื่นเช่น โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ มันคนละเรื่อง แต่สิ่งที่ถามหรือสิ่งที่บันทึกเป็นการประกอบการสื่อมวลชนทั้งคู่ เพียงแต่คนละแบบกัน”
เมื่อถามต่อว่าหลักฐานชิ้นนี้จะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด อาจารย์เจษฎ์ยังยืนยันคำตอบเดิมว่าขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานอะไรที่ถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียว หรือหลาย ๆ ชิ้นที่จะสามารถ ‘มัด’ หรือ ‘คลาย’ ปมคดีได้อย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารแวดล้อมทั้งสิ้น จำเป็นต้องนำมาประกอบเพื่อพิจารณา ่ในอนาคตอาจมีหลักฐานใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งอาจมีน้ำหนักมากกว่า ศาลอาจใช้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบแทนก็ได้ ในด้านความเชื่อของผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล เองอาจมองว่าหลักฐานบันทึกการประชุมเป็นข้อมูลที่่่มีน้ำหนักในการพิจารณาของศาล แต่ทั้งหมดทั้งมวลมันเป็นมุมมองปัจเจก ไม่ผิดแปลก แต่อย่างใด
อาจารย์เจษฎ์ บอกเล่ามาว่า ในส่วนพรรคก้าวไกลเองไม่ถือว่าตกที่นั่งลำบาก หากเทียบกับกรณีพรรคพันธมิตร อย่างเพื่อไทย เพราะที่ผ่านมาเคยโดนมาหลายกรณีตั้งแต่สมัย ‘ทักษิณ ชินวัตร’ เคยถูกตรวจสอบเรื่องกรณีซุกหุ้น ด้วย หลายสิ่งอาจต้องตั้งคำถามย้อนถึงพิธา เรื่องความระมัดระวังทางกฎหมาย
“ตั้งแต่ 6 เมษายน ก็มีบทบัญญัตินี้อยู่แล้ว ตอนสมัยคุณธนาธรก็มีบทบัญญัตินี้ ทำไมไม่พิจารณาให้รอบคอบ มันไม่มีใครไปแกล้งใคร เขาต้องพิจารณาตามกฎหมายว่าถือหุ้นสื่อหรือไม่ ก่อนหน้านี้พรรคก้าวไกลก็ิเคยยื่นตรวจสอบคนอื่นเหมือนกัน ทำไมไม่ดูตัวคุณเองดี ๆ ทำไมคนอื่น ๆ เขาสามารถเคลียตัวเองได้ เรื่องผู้จัดการมรดกถามว่ามีน้ำหนักมากไหม ต้องไปดูว่าเป็นผู้จัดการฯ ที่ได้รับทรัพย์มรดกนั้นไหม ถ้าเป็นมรดกทางพินัยกรรมระบุชัดเจนว่า ไม่ให้คุณพิธาก็อีกเรื่องนึง แต่ถ้าเป็นทาบาทโดยธรรมมันพูดยาก เป็นผู้จัดการฯ อาจจะใช่ แต่ไม่ได้หมายความว่าถือให้กับคนอื่นแต่ก็ถือไว้สำหรับตัวเองด้วย มันก็มีส่วน” รศ.ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก กล่าวทิ้งท้าย