หากพูดถึง ‘กบฎ’ เชื่อว่าหลายคนคงนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อไม่นานมานี้ ที่มีการปราบปรามผู้เห็นต่างจาก ‘รัฐ’ หรือ ‘ศูนย์กลางอำนาจ’ ด้วยความรุนแรงและเด็ดขาดแบบถอนรากถอนโคน หรือเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีคำถามตามมาอีกมากมาย ถึงอย่างนั้น ยังคงเป็นข้อถกเถียงไม่รู้จบว่า นิยามหรือความหมายจริงๆ อาจมีความแตกต่างกันตามแบบฉบับ ‘คนแพ้ - คนชนะ’ เป็น ‘ผู้เขียนประวัติศาสตร์’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยที่มักมีเหตุการณ์ความทำนองนี้ซ่อนอยู่ในทุกบรรทัด โดยเฉพาะการเมืองเชิงอำนาจที่ ‘กบฎ’ ถูกสร้างให้กลายเป็นศัตรูคู่ตรงข้ามกับรัฐ เพื่อเปิดทางไปสู่ความชอบธรรมในการใช้อำนาจเสมอ
‘ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์’ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายให้ SPACEBAR ฟังว่า คำว่า ‘กบฎ’ ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา 1) กบฎในรัฐจารีต 2) กบฎในรัฐสมัยใหม่
ในช่วงแรก เป็นกบฎที่เกิดขึ้นหมายชิงราชบัลลังก์ของกษัตริยเพื่อควบคุมอำนาจการปกครองของรัฐ อาทิในสมัย ‘สมเด็จพระเพทราชา’ ที่ ‘ธรรมเถียร’ ข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยยศอ้างตัวเป็นพระองค์ ได้นำพวกชาวนาถือหอกดาบ และเคียวจากลพบุรี บุกโจมตีกรุงศรีอยุธยา แต่สุดท้ายถูกปราบโดยวังหน้า แต่เรื่องนี้สะท้อนว่าในภาวะของการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจเป็นช่วงเวลาที่เปิดช่องให้ราษฎรที่เดือดร้อนได้มีโอกาสประท้วง
หรือ กรณีที่สะท้อนโครงสร้างทางการเมืองภายในของอยุธยาที่เกิดจากการรวมกลุ่มของนครรัฐ คือ สงครามเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 ที่ ‘สมเด็จพระมหาธรรมราชา’ แห่งราชวงศ์สุโขทัย ให้การสนับสนุน ‘พระเจ้าบุเรงนอง’ แห่งหงสาวดี เข้ายึดกรุงศรีฯ ก็เป็นอีกกรูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความต่อต้านระบบรัฐศูนย์กลาง แต่ก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นกบฏได้ชัดเจน เพราะเป็นเหมือนสงครามในหมู่เครือญาติ
แต่กรณีที่เรียกว่ากบฏได้ชัดคือ กบฏตามหัวเมืองประเทศราชต่างๆ เช่นในในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เกิดกบฏหลายเมือง เช่น กบฏไทรบุรี กบฏปัตตานี หรือกบฏของเจ้าเวียงจันทน์คือเจ้าอนุวงศ์ กบฏเหล่านี้ถ้ามองผ่านเลนส์ของคนปัจจุบันก็ถือว่าเป็นกบฏ เป็นพวกที่อยากแบ่งแยกดินแดน แต่ถ้ามองด้วยเลนส์แบบรัฐจารีตเมืองเหล่านี้ล้วนมีกษัตริย์หรือเจ้าเมืองของตนเอง ดังนั้น เมืองพวกนี้จึงมีสิทธิที่จะขัดขืนเพื่อเป็นอิสระ เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำจากรัฐส่วนกลาง และตักตวงทรัพยากรเศรษฐกิจ โดยกบฎมักใช้จังหวะ ‘ความอ่อนแอ’ ของส่วนกลาง ดังเช่นกรณีของ ‘กบฏเจ้าอนุวงศ์’ ที่ก่อการขึ้นหลังรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์เพียง 2 ปีเท่านั้น
‘ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์’ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อธิบายให้ SPACEBAR ฟังว่า คำว่า ‘กบฎ’ ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา 1) กบฎในรัฐจารีต 2) กบฎในรัฐสมัยใหม่
ในช่วงแรก เป็นกบฎที่เกิดขึ้นหมายชิงราชบัลลังก์ของกษัตริยเพื่อควบคุมอำนาจการปกครองของรัฐ อาทิในสมัย ‘สมเด็จพระเพทราชา’ ที่ ‘ธรรมเถียร’ ข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยยศอ้างตัวเป็นพระองค์ ได้นำพวกชาวนาถือหอกดาบ และเคียวจากลพบุรี บุกโจมตีกรุงศรีอยุธยา แต่สุดท้ายถูกปราบโดยวังหน้า แต่เรื่องนี้สะท้อนว่าในภาวะของการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจเป็นช่วงเวลาที่เปิดช่องให้ราษฎรที่เดือดร้อนได้มีโอกาสประท้วง
หรือ กรณีที่สะท้อนโครงสร้างทางการเมืองภายในของอยุธยาที่เกิดจากการรวมกลุ่มของนครรัฐ คือ สงครามเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 ที่ ‘สมเด็จพระมหาธรรมราชา’ แห่งราชวงศ์สุโขทัย ให้การสนับสนุน ‘พระเจ้าบุเรงนอง’ แห่งหงสาวดี เข้ายึดกรุงศรีฯ ก็เป็นอีกกรูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความต่อต้านระบบรัฐศูนย์กลาง แต่ก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นกบฏได้ชัดเจน เพราะเป็นเหมือนสงครามในหมู่เครือญาติ
แต่กรณีที่เรียกว่ากบฏได้ชัดคือ กบฏตามหัวเมืองประเทศราชต่างๆ เช่นในในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เกิดกบฏหลายเมือง เช่น กบฏไทรบุรี กบฏปัตตานี หรือกบฏของเจ้าเวียงจันทน์คือเจ้าอนุวงศ์ กบฏเหล่านี้ถ้ามองผ่านเลนส์ของคนปัจจุบันก็ถือว่าเป็นกบฏ เป็นพวกที่อยากแบ่งแยกดินแดน แต่ถ้ามองด้วยเลนส์แบบรัฐจารีตเมืองเหล่านี้ล้วนมีกษัตริย์หรือเจ้าเมืองของตนเอง ดังนั้น เมืองพวกนี้จึงมีสิทธิที่จะขัดขืนเพื่อเป็นอิสระ เพื่อไม่ให้ถูกครอบงำจากรัฐส่วนกลาง และตักตวงทรัพยากรเศรษฐกิจ โดยกบฎมักใช้จังหวะ ‘ความอ่อนแอ’ ของส่วนกลาง ดังเช่นกรณีของ ‘กบฏเจ้าอนุวงศ์’ ที่ก่อการขึ้นหลังรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์เพียง 2 ปีเท่านั้น

ในช่วงเวลาที่สอง เป็นกบฏใน ‘รัฐสมัยใหม่’ ที่จะมีแนวคิดในเชิงอุดมการณ์ต่างกับกบฎยุคก่อโดยจะมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ ‘ต่อสู้เพื่อต้องการเปลี่ยนระบอบทางการเมือง’ ซึ่งระบอบทางการเมืองมี 3 ระบอบหลักที่ขับเคี้ยวต่อสู้กันมาตลอดคือ หนึ่ง ‘สมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สอง ‘ประชาธิปไตย’ และสาม ‘เผด็จการ’ ทั้งสามระบอบนี้แทนกลุ่มการเมือง 3 กลุ่มคือ เจ้า ประชาชน และทหาร
โดยระยะแรก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ที่ถูกสถาปนาโดย ร.5) เกิดขึ้นจากการ ‘ปฏิรูปประเทศ’ เพื่อรวบอำนาจของหัวเมืองต่างๆ เข้าสู่ระบบศูนยย์กลางที่กรุงเทพฯ ผ่านการควบคุมอำนาจทางการเมือง และเศรษฐกิจ อาทิเจ้าเมืองท้องถิ่นต้องส่งรายได้ของตนให้กับกรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนมารับ ‘เงินเดือน’ แทนทรัพย์สินที่ได้เคยได้รับผลประโยชน์ในท้องถิ่น นอกจากนี้ราษฎรยังต้องจ่ายภาษีอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทำให้เกิดการกบฎในภาคอีสาน ตัวอย่าง ‘กบฎผีบุญ’ ที่ได้รับผลกระทบจาก ‘ภาษีค่าหัว’ (ภาษีที่ต้องจ่ายส่วนกลางแบบรายปี) ซึ่งการรวมกลุ่มของกบฏผีบุญนี้อาศัยความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในโลกอุดมคติที่เชื่อว่าในอนาคตจะมี ‘พระศรีอริยเมตไตรย’ มาจุติแล้วจะทำให้ตนเองพ้นจากความทุกข์
กบฏผีบุญบางกลุ่ม เช่น ‘กบฏพระยาว่านที่อ้างตนเป็นพญาเจือง’ ซึ่งเคยเป็นวีรบุรุษในลุ่มน้ำโขงทำให้ราษฎรเชื่อว่าจะช่วยให้พวกตนพ้นความยากลำบาก ในขณะที่อีกกลุ่มเป็นกลุ่มของเจ้าเมืองที่เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนระบบการเมือง เช่น ‘กบฎเงี้ยว’ เมืองแพร่ และภาคใต้อย่าง ‘กบฎพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง' ซึ่งเกิดขึ้นในเขตปัตตานี เป็นต้น
โดยระยะแรก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ที่ถูกสถาปนาโดย ร.5) เกิดขึ้นจากการ ‘ปฏิรูปประเทศ’ เพื่อรวบอำนาจของหัวเมืองต่างๆ เข้าสู่ระบบศูนยย์กลางที่กรุงเทพฯ ผ่านการควบคุมอำนาจทางการเมือง และเศรษฐกิจ อาทิเจ้าเมืองท้องถิ่นต้องส่งรายได้ของตนให้กับกรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนมารับ ‘เงินเดือน’ แทนทรัพย์สินที่ได้เคยได้รับผลประโยชน์ในท้องถิ่น นอกจากนี้ราษฎรยังต้องจ่ายภาษีอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลทำให้เกิดการกบฎในภาคอีสาน ตัวอย่าง ‘กบฎผีบุญ’ ที่ได้รับผลกระทบจาก ‘ภาษีค่าหัว’ (ภาษีที่ต้องจ่ายส่วนกลางแบบรายปี) ซึ่งการรวมกลุ่มของกบฏผีบุญนี้อาศัยความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในโลกอุดมคติที่เชื่อว่าในอนาคตจะมี ‘พระศรีอริยเมตไตรย’ มาจุติแล้วจะทำให้ตนเองพ้นจากความทุกข์
กบฏผีบุญบางกลุ่ม เช่น ‘กบฏพระยาว่านที่อ้างตนเป็นพญาเจือง’ ซึ่งเคยเป็นวีรบุรุษในลุ่มน้ำโขงทำให้ราษฎรเชื่อว่าจะช่วยให้พวกตนพ้นความยากลำบาก ในขณะที่อีกกลุ่มเป็นกลุ่มของเจ้าเมืองที่เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนระบบการเมือง เช่น ‘กบฎเงี้ยว’ เมืองแพร่ และภาคใต้อย่าง ‘กบฎพระยาแขกเจ็ดหัวเมือง' ซึ่งเกิดขึ้นในเขตปัตตานี เป็นต้น

ด้วยความได้เปรียบทางด้านอาวุธและการเดินทาง ในไม่ช้าทางกรุงเทพฯ ก็สามารถแก้ปัญหาโดยการส่งทหารไปปราบปราม ซึ่งเหตุผลความสำเร็จมาจาก ‘ยุทธวิธี’ และการจัดสรรทรัพยากรกองทัพที่ทันสมัย ต่างจากกลุ่มกบฎที่ส่วนใหญ่เป็นทำสงครามในรูปแบบเก่า มีอาวุธไร้ที่ประสิทธิภาพ และไร้วิธีการต่อสู้อย่างเป็นระบบ
เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้มาได้สักระยะ ไม่นานนักก็ได้มีระบอบการเมืองที่นำเข้าจากโลกตะวันตก คือ ‘ประชาธิปไตย’ ที่มาท้าทายอำนาจ ระบอบนี้เป็นสิ่งที่สถาบันระมัดระวังเพราะมีหลักการสำคัญที่ทำให้คนเท่าเทียมกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนของการท้าทายระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เกิด ‘กบฎ ร.ศ. 130’ ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้จ่ายของราชสำนัก การเลื่อนขั้นของมหาดเล็กคนสนิทรวดเร็วกว่าข้าราชการ แต่ความพยายามในของ ‘การเปลี่ยนแปลง’ ก็ทำไม่สำเร็จเพราะถูกรวบจับเสียก่อน
จนกระทั่งเหตุการณ์ ‘อภิวัฒน์สยาม’ โดย ‘คณะราษฎร’ ที่ก่อการสำเร็จภายใต้ปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ที่สำคัญคือสำนึกของการเป็นเจ้าของประเทศในหมู่ราษฎร ในท้ายที่สุดประเทศสยามก็มี ‘รัฐธรรมนูญ’ และ ‘เป็นประชาธิปไตย’ แต่ฝ่ายเจ้านั้นก็หายอมไม่ โดยมีเหตุการณ์ต่อเนื่องหลัง 24 มิถุนายน 2475 คือ ‘กบฎบวรเดช’ โดยมีกลุ่มชนชั้นนำ นำโดย ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช’ ที่มีฐานอำนาจอยู่ในแถบจังหวัดนครราชสีมา แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพรัฐบาลในเวลาต่อมา
“เหตุการณ์ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มันขึ้นอยู่กับผู้นิยามว่าจะมองใคร ‘เป็นกบฎ’ มันขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ อย่างกรณีคณะราษฎร ชนชั้นนำอาจมองว่าเป็นกบฎทั้งที่ก่อการสำเร็จ แต่กรณีของพระองค์เจ้าบวรเดช ถูกรัฐบาลเรียกว่ากบฎ เพราะพ่ายแพ้ในยุทธภูมิที่ดอนเมือง - หลักสี่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นนำถูกขนานนามว่า ‘กบฎ’”
เมื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้มาได้สักระยะ ไม่นานนักก็ได้มีระบอบการเมืองที่นำเข้าจากโลกตะวันตก คือ ‘ประชาธิปไตย’ ที่มาท้าทายอำนาจ ระบอบนี้เป็นสิ่งที่สถาบันระมัดระวังเพราะมีหลักการสำคัญที่ทำให้คนเท่าเทียมกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนของการท้าทายระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เกิด ‘กบฎ ร.ศ. 130’ ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้จ่ายของราชสำนัก การเลื่อนขั้นของมหาดเล็กคนสนิทรวดเร็วกว่าข้าราชการ แต่ความพยายามในของ ‘การเปลี่ยนแปลง’ ก็ทำไม่สำเร็จเพราะถูกรวบจับเสียก่อน
จนกระทั่งเหตุการณ์ ‘อภิวัฒน์สยาม’ โดย ‘คณะราษฎร’ ที่ก่อการสำเร็จภายใต้ปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ที่สำคัญคือสำนึกของการเป็นเจ้าของประเทศในหมู่ราษฎร ในท้ายที่สุดประเทศสยามก็มี ‘รัฐธรรมนูญ’ และ ‘เป็นประชาธิปไตย’ แต่ฝ่ายเจ้านั้นก็หายอมไม่ โดยมีเหตุการณ์ต่อเนื่องหลัง 24 มิถุนายน 2475 คือ ‘กบฎบวรเดช’ โดยมีกลุ่มชนชั้นนำ นำโดย ‘พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช’ ที่มีฐานอำนาจอยู่ในแถบจังหวัดนครราชสีมา แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพรัฐบาลในเวลาต่อมา
“เหตุการณ์ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มันขึ้นอยู่กับผู้นิยามว่าจะมองใคร ‘เป็นกบฎ’ มันขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ อย่างกรณีคณะราษฎร ชนชั้นนำอาจมองว่าเป็นกบฎทั้งที่ก่อการสำเร็จ แต่กรณีของพระองค์เจ้าบวรเดช ถูกรัฐบาลเรียกว่ากบฎ เพราะพ่ายแพ้ในยุทธภูมิที่ดอนเมือง - หลักสี่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นนำถูกขนานนามว่า ‘กบฎ’”

พิพิฒน์ เล่าต่อว่า หลังเกิดกบฎบวรเดช สยามยังคงเผชิญกับความวุ่นวายต่อเนื่อง จากชุดความคิดทางประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่อง ‘ความภักดี’ ต่อศูนย์กลางอำนาจ อย่างเช่นการทำอนุเสาวรีย์สำคัญตามหัวเมืองต่างๆ อาทิ ท้าวสุรนารี ที่ต้องการให้สามัญชนรำลึกถึงความสำคัญในการจงรักภักดีต่อ ‘ชาติไทย’ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกสำนึกจงรักภักดีต่อชาติ เช่น อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน
“ในยุคจอมพล ป. คนขายชาติ หรือ กบฎ มีความหมายเหลื่อมๆ กันแต่เป็นการกระทำแบบเดียวกัน คือการต่อสู้กับศูนย์กลางอำนาจ ซึ่งนิยามอาจเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน จากเจ้าเมืองกับเมืองหลวง แต่หมายถึงการทรยศของคนในชาติด้วย”
เมื่อถามถึงกรณีการใช้อำนาจปะทะกันหลัง 2475 อาจารย์พิพัฒน์ มองว่า เป็นการใช้อำนาจระหว่างกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้ง 2 กลุ่ม อย่าง ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ คณะราษฎร์ฝ่ายทหาร และ ‘ปรีดี พนมยงค์’ คณะราษฎรฝ่ายพลเรือน จนเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้งทั้ง กบฎวังหลวง กบฎแมนฮัตตัน แต่ที่สุดแล้วทุกอย่างก็จบลง หลังการรัฐประหารตัวเองของ ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ ในปี 2501 แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแย้งชิงอำนาจของกลุ่มนายทหารแทนที่ไม่ได้มีอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
“ในยุคจอมพล ป. คนขายชาติ หรือ กบฎ มีความหมายเหลื่อมๆ กันแต่เป็นการกระทำแบบเดียวกัน คือการต่อสู้กับศูนย์กลางอำนาจ ซึ่งนิยามอาจเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน จากเจ้าเมืองกับเมืองหลวง แต่หมายถึงการทรยศของคนในชาติด้วย”
เมื่อถามถึงกรณีการใช้อำนาจปะทะกันหลัง 2475 อาจารย์พิพัฒน์ มองว่า เป็นการใช้อำนาจระหว่างกลุ่มการเมืองคู่ขัดแย้ง 2 กลุ่ม อย่าง ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ คณะราษฎร์ฝ่ายทหาร และ ‘ปรีดี พนมยงค์’ คณะราษฎรฝ่ายพลเรือน จนเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้งทั้ง กบฎวังหลวง กบฎแมนฮัตตัน แต่ที่สุดแล้วทุกอย่างก็จบลง หลังการรัฐประหารตัวเองของ ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ ในปี 2501 แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแย้งชิงอำนาจของกลุ่มนายทหารแทนที่ไม่ได้มีอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

อย่างไรก็ดี การก่อการที่เรียกว่า ‘กบฎ’ ยังมีให้เห็นต่อเนื่องจากอำนาจทหารกับทหาร หรือทหารกับประชาชน แต่กระนั้นจะนิยามคำว่ากบฎ ว่า ‘ขาว’ หรือ ‘ดำ’ ต้องขึ้นกับบริบท หรือภูมิหลังที่ผู้ก่อนการต้องเผชิญ
“การจะเรียกว่ากบฎได้ หนึ่งเราต้องดูความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม สองการกบฎจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้บริหารอำนาจรัฐดูแลคนอย่างเป็นธรรม และกระจายผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม เพราะไม่ว่าจะในโลกจารีตหรือโลกสมัยใหม่ กบฎล้วนเกิดจากภาวะความรู้สึกที่โดนกดขี่ จากผู้กุมอำนาจเพียงผู้เดียวหรือได้รับประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจะว่าใครเป็นกบฎเราต้องเข้าใจในมุมของเขา และต้องมองว่าศูนย์กลางอำนาจ (ขณะนั้น) ใช้สิทธิอันชอบธรรมไปจัดการกับสิ่งที่เขาเรียกร้องอย่างถูกต้องหรือไม่ อย่าง 2475 หากมองว่าเป็นกบฎก็มองได้ แต่เขาก็ทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม มาจนถึงทุกวันนี้” พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ กล่าวทิ้งท้าย
“การจะเรียกว่ากบฎได้ หนึ่งเราต้องดูความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม สองการกบฎจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้บริหารอำนาจรัฐดูแลคนอย่างเป็นธรรม และกระจายผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม เพราะไม่ว่าจะในโลกจารีตหรือโลกสมัยใหม่ กบฎล้วนเกิดจากภาวะความรู้สึกที่โดนกดขี่ จากผู้กุมอำนาจเพียงผู้เดียวหรือได้รับประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจะว่าใครเป็นกบฎเราต้องเข้าใจในมุมของเขา และต้องมองว่าศูนย์กลางอำนาจ (ขณะนั้น) ใช้สิทธิอันชอบธรรมไปจัดการกับสิ่งที่เขาเรียกร้องอย่างถูกต้องหรือไม่ อย่าง 2475 หากมองว่าเป็นกบฎก็มองได้ แต่เขาก็ทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม มาจนถึงทุกวันนี้” พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ กล่าวทิ้งท้าย