นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ ว่า เป็นการติดเชื้อแบบคลื่นเล็กๆ ซึ่งแต่ละประเทศเกิดการระบาดของแต่ละสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน สำหรับไทยพบการติดเชื้อในกลุ่มสายพันธุ์ BA.2.75 มากที่สุด เป็น 58% เนื่องมาจากมีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเดินทางเข้าประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงปลายปี 2565 นี้ที่เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว จะมีนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่หนีหนาวเข้าไทยอีกจำนวนมาก อาจทำให้สายพันธุ์ของโควิด-19 ที่พบในไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอีก อาจพบสายพันธุ์ XBB มากขึ้นจากชาวยุโรป
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ลักษณะการติดเชื้อทั่วโลกมีลักษณะคล้ายกันหมดคือ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงและหลบภูมิคุ้มกัน ที่เปลี่ยนแปลงไป คือติดเชื้อเร็วมากขึ้นและสามารถป่วยซ้ำได้อีก เนื่องจากการติดเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อีกครั้ง วัคซีนอาจไม่ได้ให้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่เหมือนในอดีต
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับการติดเชื้อโควิดซ้ำจะพบว่า มีความแตกต่างกัน แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนได้รับวัคซีนแค่ 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม หรือ 4 เข็ม แต่บางคนไม่ได้รับแม้แต่เข็มเดียว และร่างกายของคนแต่ละคนก็มีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ปัจจัยอยู่กับโรคประจำตัวก็ทำให้อาการของแต่ละคนแตกต่างกัน
“อย่างไรก็ตาม แนะนำประชาชนต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยวัคซีนพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ ควร 4 เข็ม ไม่ใช่ 3 เข็ม เหมือนในอดีต เพราะสถานการณ์ในขณะนี้แตกต่างไปจากเดิม และการติดเชื้อเกิดภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ร่วมกับวัคซีนอาจไม่เพียงพอ หากมีการติดเชื้อมานานแล้ว ดังนั้นการปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ยังคงจำเป็นเพื่อลดการติดเชื้อโควิด-19”
ขณะที่ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สังเกตได้ว่ามีการรายงานข่าวเสียชีวิตที่บ้าน คอนโดฯ จำนวนมาก หลายรายที่ตรวจพบ ATK เป็นบวก และน่าจะยังไม่รวมในรายงาน
ทั้งนี้คาดประมาณจำนวนการติดเชื้อใหม่รายวันอย่างน้อย 23,400 คน สถานการณ์ปัจจุบัน ชัดเจนว่าขยายวงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องป้องกันตัวเองอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยวเดินทาง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงไปได้มาก
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ลักษณะการติดเชื้อทั่วโลกมีลักษณะคล้ายกันหมดคือ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงและหลบภูมิคุ้มกัน ที่เปลี่ยนแปลงไป คือติดเชื้อเร็วมากขึ้นและสามารถป่วยซ้ำได้อีก เนื่องจากการติดเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อีกครั้ง วัคซีนอาจไม่ได้ให้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่เหมือนในอดีต
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับการติดเชื้อโควิดซ้ำจะพบว่า มีความแตกต่างกัน แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนได้รับวัคซีนแค่ 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม หรือ 4 เข็ม แต่บางคนไม่ได้รับแม้แต่เข็มเดียว และร่างกายของคนแต่ละคนก็มีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน ปัจจัยอยู่กับโรคประจำตัวก็ทำให้อาการของแต่ละคนแตกต่างกัน
“อย่างไรก็ตาม แนะนำประชาชนต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยวัคซีนพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ ควร 4 เข็ม ไม่ใช่ 3 เข็ม เหมือนในอดีต เพราะสถานการณ์ในขณะนี้แตกต่างไปจากเดิม และการติดเชื้อเกิดภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ร่วมกับวัคซีนอาจไม่เพียงพอ หากมีการติดเชื้อมานานแล้ว ดังนั้นการปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ยังคงจำเป็นเพื่อลดการติดเชื้อโควิด-19”
ขณะที่ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สังเกตได้ว่ามีการรายงานข่าวเสียชีวิตที่บ้าน คอนโดฯ จำนวนมาก หลายรายที่ตรวจพบ ATK เป็นบวก และน่าจะยังไม่รวมในรายงาน
ทั้งนี้คาดประมาณจำนวนการติดเชื้อใหม่รายวันอย่างน้อย 23,400 คน สถานการณ์ปัจจุบัน ชัดเจนว่าขยายวงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องป้องกันตัวเองอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยวเดินทาง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงไปได้มาก