https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4h2UUzLCO2LKW7jNhBiEL7/bfca4c49712098251c33a41f5c16e68e/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/cZg8l5eopc9gl8keegbEX/4fa27dc5acce48e4dadeba7767ebdd8a/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1G1CpqNidMbAXJpyvSHS8z/7a42a21f55b11b1f81dc8e7870da9867/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1obdiJhORjDBfoeKldebqe/acb483f72435acb1609630184e44b687/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo03

Photo Story : ‘เสรี’ ดับฝัน ‘พิธา’ เย้ย ส.ว.หนุนแค่ 5 เสียง

27 มิ.ย. 2566 - 08:06

  • ‘เสรี-สมชาย’ จี้ กกต.เร่งสอบปม ‘พิธา’ ถือหุ้นสื่อ ส่งศาล รธน.ก่อนโหวตนายกฯ

  • เย้ย มี ส.ว.แค่ 5 เสียงหนุน

  • ย้ำ ส.ว.ทำตามมติเสียงข้างมาก 14 ล้านเสียงแค่ส่วนน้อย

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4h2UUzLCO2LKW7jNhBiEL7/bfca4c49712098251c33a41f5c16e68e/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/cZg8l5eopc9gl8keegbEX/4fa27dc5acce48e4dadeba7767ebdd8a/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1G1CpqNidMbAXJpyvSHS8z/7a42a21f55b11b1f81dc8e7870da9867/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/1obdiJhORjDBfoeKldebqe/acb483f72435acb1609630184e44b687/Senator-SereeSuwanpanont-SomchaiSawangkarn-will-Meeting-SPACEBAR-Photo03
นพรุจ วรชิตวุฒิกุล นำหลักฐานการถือครองหุ้น บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล มอบให้กับสมาชิกวุฒิสภา โดยมีเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นผู้รับหนังสือ 

นพรุจ กล่าวว่า ตนมาด้วยน้ำตา และความอัดอั้นใจเพื่อขอความช่วยเหลือจาก ส.ว. เนื่องจากไม่อยากให้มีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีปัญหาไม่จบ และอีกอย่างคดีของพิธายังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งตนมีความกังวลมากเพราะอยากให้แคนดิเดตนายกฯ เดินเข้าสภาฯ อย่างสง่าผ่าเผย ไม่มีข้อครหา เนื่องจากที่ผ่านมาอดีตผู้สมัครเคยถูกตัดสินการลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากถือหุ้นสื่อ และถูกดำเนินคดีส่งศาลฯ แม้เพียงหุ้นเดียว 5 บาทก็ถูกตัดสิทธิ ถ้าเข้ากรณีองค์ประกอบความผิด ดังนั้นกรณีของพิธา ตนยืนยันว่า 1 ใน 3 หุ้นที่ถืออยู่ 42,000 หุ้นนั้นมี 14,000 หุ้นถือแน่นอน ส่วนที่เหลือจะแม่หรือน้องชายให้ดูแลนั้นเป็นการตกลงภายในแล้วไปบอกศาลฯ ทั้งนี้ บริษัท ไอทีวี ก็ยังคงประกอบกิจการมาโดยตลอดมาโดยตลอด เพียงแค่มีข้อพิพาทกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่อยู่ระหว่างการต่อสู้ ดังนั้นความพยายามที่จะปลุกไอทีวีให้มาเป็นสื่อนั้น เพื่อเป็นสื่อสาธารณะเหมือนเดิม สอดคล้องกับที่พบผู้บริหารไอทีวี ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่า ยังไม่เลิกกิจการ ดังนั้นองค์ประกอบของการถือหุ้นสื่อ คนเป็นผู้นำต้องรู้ตัว ไม่มีข้อแก้ตัว พร้อมย้ำว่า การยื่น กกต.ให้ตรวจสอบคดีหุ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นสื่อที่โดนตัดสิทธิทุกคน และดำเนินการกรณีนี้โดยเร็วที่สุดก่อนที่จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรี 

เสรี กล่าวว่า ในเอกสารที่ยื่นมาเป็นเรื่องของการถือหุ้นสื่อพิธา ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจในกรรมาธิการที่กำลังตรวจสอบอยู่ จากนี้จะนำไปพิจารณาศึกษาต่อ ซึ่งจะมีการตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนที่จะเดินทางไปหารือ กับอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.และ กกต.ในวันพรุ่งนี้ เวลา 10.00 น. และหากเรื่องนี้เป็นไปตามที่ปรากฏในที่สาธารณะอยู่แล้ว กับอีกส่วนหนึ่งที่คณะกรรมาธิการตรวจพบ ก็จะนำหลักฐานทั้งหมดมอบให้กับประธาน กกต. และจะมีการเร่งให้ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการโปรดเลือกนายกรัฐมนตรี 

ส่วนเรื่องที่ดินที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสรีกล่าวว่า เป็นทรัพย์มรดก ดังนั้นการจัดการทรัพย์มรดกจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีวิธีการจัดการในช่วงไหนอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า หุ้นได้จัดการไปแล้วด้วยหรือไม่ ถ้าทรัพย์มรดกอื่นๆ มีการจัดการแบ่งไปแล้ว ก็จะเกิดคำถามว่า ทำไมหุ้นสื่อถึงยังไม่จัดการ จุดนี้จะชี้ให้เห็นว่า วิธีการจัดการทรัพย์มรดกได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง 

เสรี ยืนยันว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะยึดมาตรฐานเดิมไม่ได้ เพราะสถานการณ์แตกต่างกัน สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือคุณสมบัติ ความเหมาะสมตามข้อเท็จจริง ซึ่งตนยืนยันมาตลอดว่า หากมีความพยายามแก้ไขมาตรา 112 ก็ไม่เหมือนกับปี 62 เพราะตอนนั้น ไม่มีพรรคไหนมีพฤติกรรมที่จะแก้ไขมาตรา 112 ดังนั้นจะอ้างมาตรฐานปี 62 มาใช้กับตอนนี้ไม่ได้ งั้นก็ไม่ได้เช่นกันหรือจะเรียกร้องให้เป็นเหมือนปี 62 ก็ทำไม่ได้ เพราะบริบทของแต่ละคนต่างกัน ความสำคัญของเรื่องต่างกัน และปัญหาของแต่ละช่วงเวลาก็แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือในตอนนั้นไม่มีเหตุการณ์ที่ยุยงให้เด็กกระทำผิดต่อกฎหมาย ซึ่งเป็นความเหมาะสมที่สมาชิกวุฒิสภาจะนำมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกนายกฯ  

ส่วนกรณีที่พิธามั่นใจว่าจะมีเสียง ส.ว.สนับสนุนมากพอให้เป็นนายกรัฐมนตรี  เสรียิ้มพร้อมตอบว่า “ถ้ามากพอก็เป็นไปเลย” และอย่างที่ปรากฏอยู่ในข่าวว่า มี ส.ว.17 คน สนับสนุนพิธา แต่ก็มีหลายคนในจำนวนนี้ออกมาปฏิเสธว่า ถูกนำชื่อไปใส่โดยไม่ได้ไปเสนอแนวทางอย่างนั้นเช่น ตวง อันทะไชย, นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์, แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นต้น เพียงแต่ระบุว่า หากได้เสียงข้างมากก็จะโหวตให้ แต่ถ้าได้เสียงข้างมากแล้วยังคงแก้มาตรา 112 อยู่ก็จะไม่โหวตให้ เพราะฉะนั้นจะเอาแนวทางเสียงชนะอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูความเหมาะสมด้วย  

“แม้ว่าจะได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับ 1 ได้มา 14 ล้านเสียง ไม่ใช่คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ แต่มีข้อเรียกร้องว่าในเมื่อได้คะแนนมา 14 ล้านเสียง ทำไมไม่เลือกตามคะแนนเสียง ที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1 ไม่ทำตามเสียงประชาชน ชอบพูดกันบ่อย ต้องทำความเข้าใจว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50 ล้านเสียง มาใช้สิทธิประมาณ 40 ล้านคน เลือกก้าวไกล 14 ล้าน แสดงว่า 14 ล้านเป็นเสียงข้างน้อย การที่เสียงข้างมากไม่เลือกนั่นคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ได้แสดงว่าเราไม่ได้ไปขัดแย้ง กับเสียง 14 ล้านแต่เราทำตามเสียงข้างมากกว่าด้วยซ้ำไป” เสรี กล่าว 

เสรี ยังประเมินด้วยว่า ขณะนี้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.ไม่เพียงพอที่จะส่งพิธาให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูจากการแสดงออกที่ชัดเจนได้ไม่เกิน 5 เสียง เชื่อว่า หาก ส.ว.คนไหนที่สนับสนุนแล้วแสดงตัว ก็จะทำให้เกิดความชัดเจน ยืนยันว่า ที่ทำแบบนี้เพราะได้รับใบสั่งจากประชาชน  

ทั้งนี้ หากพิธาไปต่อไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นแคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยขึ้นมา ส.ว.จะสบายใจขึ้นหรือไม่ เสรีกล่าวว่าไม่ใช่ความสบายใจแต่ต้องให้ ส.ส.ไปตกลงกันให้สบายใจ รวบรวมเสียงให้ได้แล้ว ส.ว.จะพิจารณาบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามย้ำว่า หากเป็นแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย จะมีภาษีดีขึ้นกว่าพิธาหรือไม่ เสรี กล่าวว่า ก็ต้องดูว่าใคร ตอนนี้มีชื่อเดียวคือ อนุทิน จากพรรคภูมิใจไทย ถ้ามาเพื่อไทยก็ต้องดูว่ามี 3 ชื่อแล้วเสนอใคร ก็ต้องดูตัวตนด้วยว่าเป็นใคร ขณะเดียวกันตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าเป็นใคร ตอนนี้ยังรับรองใครไม่ได้ ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย เช่นเดียวกัน หากเป็นชื่อของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย ทุกคนต้องอยู่ในเกณฑ์เดียวกันจะยกเว้นใครไม่ได้ 

ขณะที่ สมชาย กล่าวว่า ในส่วนของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ก็มีการรับเรื่อง และมอบให้ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ แต่เรื่องนี้ ได้มอบให้เสรีไปตรวจสอบแล้ว และมอบให้กรรมาธิการกิจการองค์กรศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในเรื่องข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ที่มีปัญหาในหลายประเด็น ซึ่งการที่มายื่นร้องให้ ส.ว.ยื่นตามมาตรา 82 คือ ส.ว. 1 ใน 5 โดยหลักเป็นเรื่องของ ส.ว.ด้วยกัน เว้นแต่ไปตีความว่า ส.ว.เป็นหนึ่งในสมาชิกรัฐสภา ก็จะใช้ 1 ใน 10 ได้ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะถึงขั้นนั้น ส่วนตัวเห็นว่า กกต.มีหน้าที่อยู่แล้วเรื่องนี้ไม่ยาก ซึ่งจะพิจารณาได้ว่า พิธา ถือหุ้นสื่อหรือไม่ ซึ่งชัดอยู่แล้วไอทีวียังเป็นสื่ออยู่หรือไม่ ก็ตรวจสอบจากวัตถุประสงค์และการประกอบกิจการของบริษัท และคดีความที่อยู่ในศาลปกครอง รวมถึงคำร้องที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ ถึง 4 คดีมาประกอบ ซึ่งชัดเจนว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือหุ้นสื่อเพียงหุ้นเดียวก็ไม่ได้ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

สมชาย มองว่า หาก กกต.ยึดมาตรฐานเดิมที่ใช้พิจารณา คดีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาอย่างไรก็รับได้  

อย่างไรก็ตาม กกต.สามารถดำเนินการได้ทำทันทีเนื่องจากมีคำร้องเดิม รวมกับที่ตั้ง กรรมการไต่สวนตามมาตรา 151 แล้วส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อพิธา หากไม่ถือหุ้นสื่อก็จบ และได้นายกรัฐมนตรีที่ไม่ขาดคุณสมบัติ ไม่มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายต่อไป 

สมชาย ยังย้ำด้วยว่า เมื่อ ส.ว.ต้องทำหน้าที่ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี ต้องนำประเด็นนโยบายของพรรคการเมืองนั้น มาพิจารณามาประกอบกับตัวบุคคล โดยเฉพาะนโยบายที่กระทบกับความมั่นคงของประเทศ แต่เมื่อเสนอมาแล้วคนที่มาจะเป็นนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลควรต้องคำนึงถึงข้อกังวลของ ส.ว.โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์