เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เตรียมพิจารณาคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ประเด็นมติของรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ห้ามเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซ้ำรอบสอง นั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ (3 ส.ค.) โดยประเมินว่า ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะยกคำร้อง เพราะประเด็นที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่การกระทบสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล หรือกระทบโดยตรง แต่เป็นเหตุผลทางการเมือง ขณะที่การพิจารณาวินิจฉัยของรัฐสภา เมื่อ 19 กรกฎาคมนั้นเป็นเอกสิทธิ์ และเป็นไปตามอำนาจอธิปไตยของฝ่ายนิติญญัติ ดังนั้น ศาลฯไม่สามารถก้าวก่ายเรื่องดังกล่าวด้วย ดังนั้น ตนมองว่า โดยรวมแล้วจะยกคำร้อง
“แต่ที่มีการวิเคราะห์ว่าจะรับไว้พิจารณานั้น อาจจะเป็นปัญหาได้ แม้จะรับแต่ไม่มีคำสั่งใด จะทำให้รัฐสภาไม่สามารถเดินหน้าเลือกนายกฯได้ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญควรจะยกตั้งแต่แรก ซึ่งกรณีดังกล่าว ผมยืนยันว่าสิ่งที่รัฐสภาดำเนินการนั้น เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้” เสรี กล่าว
ส่วนหากประเมินว่าศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้อง กระบวนการเลือกนายกฯ ต้องเกิดขึ้นวันที่ 4 สิงหาคม สว.จะตัดสินใจอย่างไรนั้น เสรี ตอบว่า ต้องรอฟังความชัดเจนจากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ที่ได้หารือกันในวันนี้ (2 ส.ค.) ว่าจะเสนอชื่อใครต่อรัฐสภา จะเป็น เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย หรือไม่ รวมถึงการจับมือจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งสถานการณ์การเมืองตอนนี้ ตนมองว่าเป็นช่วงฝุ่นตลบ ผันผวน และเป็นการต่อสู้กันทางการเมือง
“พรรคเพื่อไทยตอนนี้คล้ายจะหลบ แต่พรรคก้าวไกลยังเกาะ ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่กล้าตัดสินใจ จะพันกันไปมาปัญหาไม่จบ สำหรับการโหวตนั้น ต้องดูตามหลักการ โดยยึดเกณฑ์ที่ สว.ไม่โหวตให้คนของพรรคก้าวไกล เพราะมีประเด็นแก้มาตรา 112 และจะแก้รัฐธรรมนูญ หมวด1 หมวด 2 ส่วนที่นายเศรษฐา ระบุว่าสนับสนุนแก้มาตรา 112 นั้น ต้องรอฟังให้แสดงเจตนารมณ์” เสรี กล่าว
เมื่อถามว่ามองอย่างไรกับสูตรการเมืองที่ 151 สส.พรรคก้าวไกล จะโหวตให้นายกฯ พรรคเพื่อไทย และถอยเป็นฝ่ายค้าน เสรี ตอบว่า พรรคก้าวไกลคงไม่ทำแบบนั้น เพราะจะทำให้พรรคก้าวไกลเสียหาย เนื่องจากหากจะถอยเป็นฝ่ายค้าน ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดตั้งแต่แรก เพราะหากโหวตให้แคนดิเดตนายกฯ เพื่อให้ตั้งรัฐบาลได้ แต่ในอนาคตจะตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลได้อย่างไร และอาจขัดกับวิสัยที่จะตรวจสอบในสภาฯ
“หากพรรคก้าวไกลลงคะแนนให้ แสดงว่ายังต้องการตำแหน่งและร่วมรัฐบาลใช่หรือไม่ หากบอกว่าจะถอยเป็นฝ่ายค้าน จะตอบมวลชนอย่างไรในจุดยืนของตัวเอง ซึ่งอาจจะถูกครหาและแนวร่วมเกิดความไม่เชื่อถือได้ ดังนั้น หากพรรคก้าวไกลอยากได้มวลชน ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน หากจะถอยเป็นฝ่ายค้าน จะลงคะแนนให้ทำไม” เสรี กล่าว
เสรี กล่าวด้วยว่า ทางออกของพรรคเพื่อไทย ในครั้งนี้ ตนมองว่าไม่ยาก เพราะเมื่อพรรคก้าวไกล ประกาศให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลแล้วก็ฉีก MOU ส่วนที่ติดขัดว่ารัฐสภาไม่ให้ผ่าน ให้พรรคก้าวไกลตั้งรัฐบาล ก็แยกกัน หากเกาะกันไว้แสดงว่ายังหวังจะร่วมรัฐบาล พรรคก้าวไกลมี สส.เยอะ อาจได้โควต้าหลายกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงด้านความมั่นคง
“แต่ที่มีการวิเคราะห์ว่าจะรับไว้พิจารณานั้น อาจจะเป็นปัญหาได้ แม้จะรับแต่ไม่มีคำสั่งใด จะทำให้รัฐสภาไม่สามารถเดินหน้าเลือกนายกฯได้ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญควรจะยกตั้งแต่แรก ซึ่งกรณีดังกล่าว ผมยืนยันว่าสิ่งที่รัฐสภาดำเนินการนั้น เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้” เสรี กล่าว
ส่วนหากประเมินว่าศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้อง กระบวนการเลือกนายกฯ ต้องเกิดขึ้นวันที่ 4 สิงหาคม สว.จะตัดสินใจอย่างไรนั้น เสรี ตอบว่า ต้องรอฟังความชัดเจนจากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ที่ได้หารือกันในวันนี้ (2 ส.ค.) ว่าจะเสนอชื่อใครต่อรัฐสภา จะเป็น เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย หรือไม่ รวมถึงการจับมือจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งสถานการณ์การเมืองตอนนี้ ตนมองว่าเป็นช่วงฝุ่นตลบ ผันผวน และเป็นการต่อสู้กันทางการเมือง
“พรรคเพื่อไทยตอนนี้คล้ายจะหลบ แต่พรรคก้าวไกลยังเกาะ ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่กล้าตัดสินใจ จะพันกันไปมาปัญหาไม่จบ สำหรับการโหวตนั้น ต้องดูตามหลักการ โดยยึดเกณฑ์ที่ สว.ไม่โหวตให้คนของพรรคก้าวไกล เพราะมีประเด็นแก้มาตรา 112 และจะแก้รัฐธรรมนูญ หมวด1 หมวด 2 ส่วนที่นายเศรษฐา ระบุว่าสนับสนุนแก้มาตรา 112 นั้น ต้องรอฟังให้แสดงเจตนารมณ์” เสรี กล่าว
เมื่อถามว่ามองอย่างไรกับสูตรการเมืองที่ 151 สส.พรรคก้าวไกล จะโหวตให้นายกฯ พรรคเพื่อไทย และถอยเป็นฝ่ายค้าน เสรี ตอบว่า พรรคก้าวไกลคงไม่ทำแบบนั้น เพราะจะทำให้พรรคก้าวไกลเสียหาย เนื่องจากหากจะถอยเป็นฝ่ายค้าน ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดตั้งแต่แรก เพราะหากโหวตให้แคนดิเดตนายกฯ เพื่อให้ตั้งรัฐบาลได้ แต่ในอนาคตจะตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลได้อย่างไร และอาจขัดกับวิสัยที่จะตรวจสอบในสภาฯ
“หากพรรคก้าวไกลลงคะแนนให้ แสดงว่ายังต้องการตำแหน่งและร่วมรัฐบาลใช่หรือไม่ หากบอกว่าจะถอยเป็นฝ่ายค้าน จะตอบมวลชนอย่างไรในจุดยืนของตัวเอง ซึ่งอาจจะถูกครหาและแนวร่วมเกิดความไม่เชื่อถือได้ ดังนั้น หากพรรคก้าวไกลอยากได้มวลชน ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน หากจะถอยเป็นฝ่ายค้าน จะลงคะแนนให้ทำไม” เสรี กล่าว
เสรี กล่าวด้วยว่า ทางออกของพรรคเพื่อไทย ในครั้งนี้ ตนมองว่าไม่ยาก เพราะเมื่อพรรคก้าวไกล ประกาศให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลแล้วก็ฉีก MOU ส่วนที่ติดขัดว่ารัฐสภาไม่ให้ผ่าน ให้พรรคก้าวไกลตั้งรัฐบาล ก็แยกกัน หากเกาะกันไว้แสดงว่ายังหวังจะร่วมรัฐบาล พรรคก้าวไกลมี สส.เยอะ อาจได้โควต้าหลายกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงด้านความมั่นคง