สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงมติของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่รับคำร้องของ ‘ผู้ตรวจการแผ่นดิน’ กรณียื่นตีความข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่ห้ามเสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี รอบที่ 2 นั้นชี้ชัดว่า ผู้ที่ยื่นคำร้องไม่ใช่ผู้ที่ถูกกระทบสิทธิเสรีภาพโดยตรง ดังนั้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกระทบสิทธิ ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในประเด็นมติของรัฐสภา วันที่ 19 กรกฏาคมได้ อย่างไรก็ดี ตนมองว่า พิธา ควรเสียสละไม่ยื่นคำร้อง เพื่อให้การเดินหน้าโหวตนายกฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนจะโหวตนายกฯ คนต่อไป หรือโหวต เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ได้หรือไม่นั้น เป็นคนละเรื่อง
“ผมไม่ทราบว่าพรรคก้าวไกลจะให้นายพิธา ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่หากทำอาจจะทำให้การโหวตนายกฯ วันที่ 22 สิงหาคมนั้น ถูกชะลอออกไปอีก และจะทำให้การเมืองไทยติดกับดัก ดังนั้น หากนายพิธา ไม่ยื่นคำร้องจะทำให้การโหวตนายกฯ เดินหน้า แต่หากหาเหตุเพื่อให้ยื้อการโหวตไปจน สว.หมดวาระและหมดอำนาจเลือกนายกฯ ผมขอชี้แจงว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เกี่ยวกับ สว. แต่อยู่ที่พรรคการเมืองและ สส. 500 คน จะตกลงกันเอง สว.เป็นแค่แขกที่ถูกเชิญไปร่วมงานเท่านั้น” สมชาย กล่าว
“ผมไม่ทราบว่าพรรคก้าวไกลจะให้นายพิธา ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่หากทำอาจจะทำให้การโหวตนายกฯ วันที่ 22 สิงหาคมนั้น ถูกชะลอออกไปอีก และจะทำให้การเมืองไทยติดกับดัก ดังนั้น หากนายพิธา ไม่ยื่นคำร้องจะทำให้การโหวตนายกฯ เดินหน้า แต่หากหาเหตุเพื่อให้ยื้อการโหวตไปจน สว.หมดวาระและหมดอำนาจเลือกนายกฯ ผมขอชี้แจงว่า ประเด็นดังกล่าวไม่เกี่ยวกับ สว. แต่อยู่ที่พรรคการเมืองและ สส. 500 คน จะตกลงกันเอง สว.เป็นแค่แขกที่ถูกเชิญไปร่วมงานเท่านั้น” สมชาย กล่าว