https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7KNfTdZQheZigtK8FBKluh/c6a5314e7c6513330b03f61836b98ef2/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4PdF2xWkevIPBzBdIA1cIr/3d51de39281b60c19888d627c8427755/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2zQPL8z7QifZVI1pDegSTd/af815cfafb5d5168ef8bbe1ab41442e9/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7inRnvNuyMmub3Kn1wuMHa/2b1f38c1526980ac9f7a78ee9c559af6/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo03

Photo Story: วงถก ‘8 พรรค’ ไร้ประเด็น ‘ประชามติแบ่งแยกดินแดน’

19 มิ.ย. 2566 - 09:09

  • ไร้ซึ่งข้อหารือ! ‘รอมฎอน’ แจงวงถกสันติภาพชายแดนใต้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ครั้งที่ 2

  • ย้ำไร้ประเด็น ‘ประชามติแบ่งแยกดินแดน’ ยันยึดหลักความถูกต้องภายใต้รัฐธรรมนูญ

  • ชี้พรรคที่เจอปัญหาต้องแก้ไขเอง เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ของคณะทำงานย่อย

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7KNfTdZQheZigtK8FBKluh/c6a5314e7c6513330b03f61836b98ef2/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo00
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4PdF2xWkevIPBzBdIA1cIr/3d51de39281b60c19888d627c8427755/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2zQPL8z7QifZVI1pDegSTd/af815cfafb5d5168ef8bbe1ab41442e9/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7inRnvNuyMmub3Kn1wuMHa/2b1f38c1526980ac9f7a78ee9c559af6/Southern-border-peace-conference-eight-parties-no-issue-of-separatist-referendum-SPACEBAR-Photo03
รอมฎอน ปันจอร์ ว่าที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เปิดเผยกับสื่อมวลชน ภายหลังจากการหารือร่วม 2 ชั่วโมง ณ พรรคประชาชาติ ของวงประชุม คณะทำงานสันติภาพชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 จากตัวแทน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ว่า เป็นการประชุมต่อยอดจากครั้งที่ผ่านมา เรื่องนโยบายและจุดเด่นของแต่ละพรรคในประเด็นการแก้ปัญหาความสงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งต่อไปเราจะเรียกเป็นภาพใหญ่ว่า ‘การสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้’ หยิบยกประเด็นที่เหมือนหรือต่างกัน จะนำมาสังเคราะห์ ว่าใน 100 วันแรก ภายใต้การทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร หรือภายใน 1 ปี และ 4 ปี จะทำอะไรบ้าง  

ทั้งนี้ 8 พรรคฯ ได้เห็นพ้องต้องกันว่า หากเอาวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นตัวตั้ง ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะครบรอบ 20 ปี เป็นข่วงเวลาเดียวกันที่เราเคยมีประสบการณ์ ของความขัดแย้งภายในประเทศ ‘สงครามเย็น’ ในช่วงปี 2503 - 2523 ขณะนั้น มีคำสั่งสำนักนายกฯ 66/23  

“เราตั้งหลักว่า 20 ปีนี้ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องมาทบทวนคลี่คลายปัญหา ความขัดแย้งที่สังคมไทยเผชิญ เรามีบทเรียนและความสูญเสียพอสมควร ภายใต้รัฐบาลพลเรือนจทกการเลือกตั้ง ที่จะเข้าสู่การทำงานอีกไม่นาน น่าจะมีวิธีคิดและมุมมองใหม่ๆ” รอมฎอน ระบุ  

โดยในช่วงเช้า ได้มีการทบทวนคณะทำงานย่อย มีมติและสรุปการศึกษา และจะนำเสนอคณะการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาลชุดใหญ่อีกรอบ ซึ่งเป็นการคุยกันเรื่องมาตรการความมั่นคงหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายพิเศษ มีหลายเรื่องที่เห็นพ้องว่าต้องลดความพิเศษลง พร้อมทบทวนประเด็นกฎอัยการศึก และกฎหมายการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน หน่วยงาน กอ.ร.มน. และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน 2551 รวมถึงเรื่องวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในอนาคต ที่อาจจะมีการต่อ ‘พ.ร.กฉุกเฉิน’ อีก 3 เดือน ว่าจำเป็นหรือไม่ ซึ่งอยู่ระหว่างทบทวนเรื่องเหล่านี้ จากความคิดเห็นหลายฝ่าย โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ด้วย 

“เรื่องหนึ่งที่ชัดเจนคือ การสานต่อการพูดคุยสันติภาพ โดยเราจะเปลี่ยนชื่อตามข้อเสนอ จาก ‘การพูดคุยสันติสุข’ ในช่วงรัฐบาล คสช. กลับไปชื่อเดิมคือ ‘การพูดคุยสันติภาพ’ เพื่อมุ่งสู่ความจริงจัง ในการแสวงหาข้อตกลง และเพื่อสื่อสารกับกลุ่ม BRN ประชาชนนานาชาติที่ติดตามสถานการณ์ และประชาชนในพื้นที่ว่ารัฐบาลโดยพลเรือน จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างออกไปรัฐบาลก่อนหน้านี้” รอมฎอน ระบุ  

ทั้งนี้ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ระบุว่า คณะทำงานได้เก็บบทเรียน หรือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจากรัฐบาลชุดก่อน ในรอบ 10 ปี โดยจะดำเนินการตามขั้นตอน จะมีการประชุมหารือกันว่าอะไรควรทำก่อนทำหลัง เพราะไม่ใช่แค่นโยบายพรรคใดพรรคหนึ่งที่โดดเด่น พร้อมยืนยันว่า ทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะประเด็นความปลอดภัย โดยจะสถาปนาไม่ให้มีมาตรการพิเศษเข้ามาครอบ ทั้งด้านกายภาพและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  

ในส่วนประเด็นประชามติแบ่งแยกดินแดน จนมีกระแสเตรียมยื่นยุบพรรคการเมืองนั้น รอมฎอน กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้มีการพูดคุย เพราะส่วนใหญ่พูดคุยประเด็นอนาคตและสิ่งที่ตกค้างจากการประชุมรอบที่ผ่านมา สถานการณ์เฉพาะหน้ายังไม่ได้มีการพูดคุยกัน 

เมื่อถามถึงประเด็นความห่วงใยต่อพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ที่อาจได้รับผลกระทบจากประเด็นดังกล่าวนั้น รอมฎอน ยืนยันว่า ส่วนตัวไม่กังวล เพราะมีสมาธิจดจ่อกับประเด็นที่หารือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนต่อรัฐบาลที่จะนำโดย พิธา ยืนยันว่า สิ่งที่คิดและจะดำเนินการในอนาคต จะทำให้รัฐบาลใหม่สามารถแก้ปัญหาพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม  

ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าจะเป็นการล้มพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล จากประเด็นความมั่นคงนั้น ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่า ไม่แปลก เพราะอันที่จริงยังมีอีกหลายประเด็นในส่วนของภาคใต้ แต่อย่างที่กล่าวไว้ว่า พรรคร่วมฯ ทั้ง 8 ตั้งใจและมีสมาธิในการประชุม และมีการตักเตือนกันภายในว่าต้องระมัดระวัง และรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เมื่อถามต่อไปว่า เรื่องประเด็น ‘ประชามติแบ่งแยกดินแดน’ ทางพรรคร่วมฯ จะมีการหารือโดยละเอียดหรือไม่ รอมฎอน ตอบว่า เรื่องนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของคณะทำงานย่อยอยู่แล้ว แต่เป็นปัญหาของแต่ละพรรคที่กำลังประสบอยู่ต้องแก้ไขกันเอง  

ส่วนประเด็นจะมีการผลักดันเรื่องการแบ่งแยกดินแดนหรือไม่ เรื่องนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่ตกไปแล้ว คงไม่มีรัฐบาลไหนจะเสนอเรื่องนี้ แต่ก็ถูกตั้งคำถาม ซึ่งจะขอชี้แจงว่า ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง พร้อมยืนยันว่า พรรคร่วมฯ ดำเนินการตามความปลอดภัยใต้รัฐธรรมนูญไทย ทุกประการ  

“มันเป็นประเด็นที่กลายเป็นข้อกังขา แต่เรายืนยันว่า เราทำการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แข่งขันยังชอบทำจากการเลือกตั้งของประชาชน เรื่องนี้ไม่ได้เป็นข้อถกเถียงใดๆ ทั้งสิ้นในที่ประชุม” รอมฎอน กล่าวทิ้งท้าย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์