ไม่ได้ยกเลิกทหารเกณฑ์ แต่เพิ่มระบบสมัครใจ

13 ก.ย. 2566 - 11:17

  • ‘สุทิน’ รับทำงานวันแรกตื่นเต้น ทหารต้องรับ ‘ชุดใหญ่’ ลั่นไม่ได้ยกเลิกทหารเกณฑ์ แต่ปรับลดการบังคับเกณฑ์ในรูปแบบสมัครใจ เชื่อกองทัพพร้อมสนับสนุนเป็นกำลังช่วยเหลือสังคม

Sutin-Interview-In-case-of-abolition-of-conscription-SPACEBAR-Hero
13 กันยายน 2566 ภายหลังรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจของกระทรวงกลาโหม ‘สุทิน คลังแสง’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชน ฐานะที่เริ่มงานเป็นวันแรกว่า เนื่องจากเป็นวันแรก ส่วนตัวจึงรู้สึกตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ มองว่าก็เป็นพิธีการต้อนรับที่สมบูรณ์ หากพูดเป็นภาษาวัยรุ่นจะเรียกว่า ‘ชุดใหญ่’ ซึ่งต้องขอบคุณกองทัพ
  
สิ่งที่มีการพูดคุยกับผู้นำเหล่าทัพนั้น พุ่งเป้าไปที่ 3 ปัจจัยในการพัฒนากองทัพ  อันดับแรกต้องแข็งแกร่งไม่แพ้ประเทศอื่น อันที่สองคือปรับขนาดกองทัพให้ทันสมัย โดยอาจลดขนาดตามสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่กระทบต่อศักยภาพ และอันดับสุดท้าย คือ การทบทวนภารกิจให้สอดคล้องกับยุคสมัย ในส่วนการทำการรบ ในอดีตทางกองทัพทำได้ดี  แต่ภัยมั่นคงในยุคปัจจุบันเป็นรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะภัยความยากจน และต้องช่วยสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น ส่วนนี้เชื่อว่า ศักยกายภาพของกองทัพจะสามารถช่วยเติมเต็มได้  
  
สุทิน กล่าวต่อว่า กองทัพถือเป็นกน่วยงานที่เต็มไปด้วยคนเก่ง เพราะ เด็กเรียนเก่งจะมุ่งไป 3 อาชีพหลัก คือ หมอ วิศวะ และทหาร จึงหมายความว่ากองทัพเต็มไปด้วยบุคคลที่มีมันสมอง ดังนั้นกองทัพอาจต้องไปช่วยงานพัฒนามากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทำอยู่แล้วกองทัพทำอยู่แล้ว แต่อยากให้ทำมากขึ้นรวมถึงการแก้ไขภัยพิบัติที่ต้องเป็นไปตามระบบ มีตัวชี้วัดชัด้จนมากกว่าเดิม 
  
อีกปัจจัยที่จะมีการใช้สนับสนุน คือทรัพยากรทางที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเยอะ แต่จากการพูดคุย จึงทราบว่า มีที่ดินอยู่ 2 ประเภท 1) เป็นที่ทางยุทธศาสตร์ ที่มีขอบเขตชัดเจน เป็นความจำเป็นที่ต้องใช้ในการฝึกฝนกำลังพล 2) เป็นที่ดินที่ไม่จำเป็นมากในการฝึก หรือเป็นที่ดินรกร้าง ส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะขอไว้ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาเป็นแหล่งน้ำ หรือที่ผลิตพลังงาน หรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งกองทัพก็รับนโยบายแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาตามความเหมาะสม และอาจต้องหารือกับกรมธนารัตน์อีกที 
  
ในส่วนของโรงพยาบาลทหาร ที่ตั้งอยู่ภายในกรมกองหรือในพื้นที่ต่างๆ  ส่วนตัวมองว่า ต้องมีส่วนช่วยชาวบ้านมากขึ้น เพราะปัจจุบันหากเทียบสัดส่วนประชากรแล้ว สถานรักษาพยาบาลยังมีจำนวนน้อย จึงจะขอให้เปิดให้ประชาชนมากขึ้น แต่ที่ผ่านมากองทัพก็ดำเนินงานส่วนนี้มาแล้ว อย่างโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็เปิดให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ซึ่งคนทั่วไปที่มาชฝใช้บริการมีมากกว่าทหารด้วยซ๋ำ 
  
ส่วนเรื่องการพัฒนาให้ทันสมัย กองทัพจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ในยุทธการ ส่วนตัวจึงมอบหน้าที่ให้ศึกษาดู โดยเฉพาะกองทัพไซเบอร์ ที่ปัจจุบันมีบทบาทสูง ซึ่งต้องมีการพูดคุยและพิจารณาว่าจะต่อยอดอย่างไร หรือ จะแตกเป็นเหล่าทัพที่ 5 หรือ และกองทัพไซเบอร์ทีาพูดกัน อาจไม่ใช่แค่เรื่องกองทัพ แต่อาจเป็นระบบการคุ้มครองนักลงทุนที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ 
  
ทั้งนี้ สุทินได้กล่าวถึง เรื่องการลดกำลังพล - ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ว่า ส่วนตัวได้ชี้แจงในที่ประชุมสภาไปแล้ววานนี้ (12 กันยายน 2566) แต่ก็มีคนไปดัดแปลงว่าจะไม่มีการเกณฑ์ทหารแล้ว ตรงนี้ขอชี้แจงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยได้ไม่ยกเลิกเลย แต่ืำไปโดยกระบวนการตามธรรมชาติ คือรีบสมัครแบบสมัครใจ กองทัพจะต้องเพิ่มสวัสดิการให้กับพลทหาร และแก้ไขปัญหารายจ่ายต่าง ๆ ให้ทหารเกณฑ์รับเงินเดือนเต็มเม็ดเต็มหน่วย อีกทั้งยังเป็นช่องทางเลือกอาชีพ ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งทั้งหมดอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการสมัครรับเกณฑ์อย่างเต็มใจ จนกำลังพลเต็มอัตรารับสมัคร 
  
ทั้งนี้ การลดการเกณฑ์ต้องศึกษาไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรม และต้องทองภาพกว้างระดับนานาชาติ อย่างกรณี NATO ที่หลายประเทศต้องกลับมาเกณฑ์ทหารอีกครั้งเมื่อเกิดสงคราม  
  
“ทางกอรทัพเขาให้ความร่วมมือตลอด แต่เราอาจเพิ่มจุดแข็งให้มากขึ้น โดยการสร้างแรงจุงใจ วันนี้ให้ทหารไปทบทวนตัวเลขทหารเกณฑ์แล้ว ว่าจะลดลงได้หรือไม่ กองทัพต้องไปหาคำอธิบายมา แต่เบื้องต้นเชื่อว่า สามารถปรับลดได้ แต่จะลดเท่าไหร่ต้องศึกษากันอีกที” 
  
ส่วนจะมีการของบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มหรือไม่ สุทินกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องขอเพิ่ม แต่วิธีการปรับลดกำลังพลที่สอดคล้องกับเงินเดือน จะช่วยให้เกิดความสมดุล จะเพิ่มเงินเดือนได้หรือไม่ก็ต้องคำนึงถึงจำนวนกำลังพลที่มีอยู่ด้วย 
  
ทั้งนี้ ทางการทัพจะให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการก้าวหน้าบของอาชีพ เพราะอดีตผู้คนมักคิดว่า การเป็นทหารชีวิตจะต้องหยุด 2 ปี แต่วันนี้ไม่ใช่ เพราะจะต้องเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าสู่โรงเรียนนายสิบ เสมือนเป็นโรงเรียนเตรียมก่อนเข้านายสิบ  
  
ประการสุดท้ายคือ การมีส่วนร่วมกองทัพในการแก้ปัญหายาเสพติด  เพราะที่ผ่านมา จะพบว่าค่ายทหารเกณฑ์มีส่วนบำบัดผู้ติดยาได้ จึงต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองมั่นใจต่อหน่วยงาน ซึ่งต่อจากนี้จะต้องทำการบ้านและทำการประชาสัมพันธ์ให้ดี ให้เข้าถึงเยาวชน และเชื่อว่าจัดึงดูดให้มีผู้สมัครมากขึ้น จนถึงจุดสมบูรณ์ในวันข้างหน้า

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์