ฟังเสียงชาวโซเชียลไทย คิดอย่างไรกับ ส.ว. 250 คน?

27 เม.ย. 2566 - 07:58

  • กระแสบนโลกโซเชียลมีความเห็นต่อ ส.ว. 250 คน ในเชิงลบ เช่น ไม่เห็นด้วย ไม่เป็นประชาธิปไตย

  • #สวมีไว้ทำไม คือแฮชแท็กเด่นบนโลกโซเชียลมีเดียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

  • ‘ที่มา’ และ ‘อำนาจ’ ของ ส.ว. 250 คน คือประเด็นที่คนตั้งคำถามว่า ไม่เป็นตัวแทนของประชาชน

TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia-SPACEBAR-Thumbnail
ส.ว. 250 คน เป็นประเด็นที่สร้างข้อถกเถียงทางการเมืองมาโดยตลอด และคาดว่าจะ ‘ประเด็นใหญ่’ อีกครั้ง เมื่อถึงคราวจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง พ.ศ.2566 

สาเหตุมาจาก ‘ที่มา’ และ ‘อำนาจ’ ที่ดูเป็นจุดด่างพร้อยของระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนแต่อย่างใด 

เนื่องจาก ส.ว.ทั้งชุด มาจากการแต่งตั้ง โดย คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) เป็นผู้คัดสรรและตัดสินใจเลือกในขั้นตอนสุดท้าย
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4ysgrh4tavBKLFMBZTVTix/e23a8181a57be26547b29938c9bf81e7/TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia-SPACEBAR-Photo01
Photo: พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วันที่ 22 พฤษภาคม 2557
แถม ส.ว. ชุดดังกล่าวยังมี ‘อำนาจพิเศษ’ ในการร่วมกับ ส.ส. โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำและมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดอนาคตของประเทศ 

ตั้งแต่ คสช. ตัดสายสะดือ ส.ว. 250 คน ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เสียงสนับสนุนและคัดค้านต่อกรณีนี้ไม่เคยเงียบ 

ยิ่งการเลือกตั้งใกล้เข้ามาเท่าไหร่ เสียงก็ยิ่งดังขึ้นเท่านั้น
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5vKged7D2KERUplOb5Bu6C/61401f544bc844add27910f982072ed9/TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia-SPACEBAR-Photo02
Photo: การประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 5 มิถุนายน 2562
ด้วยความอยากรู้ว่า คนไทยในโซเชียลมีเดียคิดอย่างไรต่อประเด็น ส.ว. 250 คน SPACEBAR ร่วมกับทีม DATAOPS จึงใช้เทคโนโลยีเชิงข้อมูล (Social Listening) ฟังเสียงคนไทยต่อประเด็นนี้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา 

และนี่คือข้อมูลที่เราพบ... 

“นี่หรือ...คนดี” ภาพรวมกระแส ส.ว. 250 รอบ 1 ปี 

61,136 ข้อความ (messages) และ 2.78 ล้าน การมีส่วนร่วม (interactions) 

คือตัวเลขเชิงปริมาณที่คนพูดถึงประเด็น ส.ว. 250 คน บนโซเชียลมีเดียในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ 1 เมษายน 65 - 31 มีนาคม 66) 

จากข้อมูลที่ได้ยินพบว่า กระแสส่วนใหญ่พูดถึง ส.ว. 250 คน ในเชิงลบ เช่น ไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน อาทิ 
  • ส.ว. 250 คน เป็นเสียงที่มาเบียดบังอำนาจของประชาชน 
  • การให้ ส.ว. 250 คนโหวตเลือกนายกฯ ไม่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ 
  • เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีก็ไม่มีความหมายอยู่ดี เพราะสุดท้ายต้องไปแพ้เสียงโหวตของ ส.ว. 250 เสียง 
  • การเลือกตั้งครั้งนี้ ต้องทำให้เสียงของคนไทยมีความหมายมากกว่าเสียงโหวตของ ส.ว. 250 คน 
โดยคอนเทนต์ที่ติดเทรนด์มาจากสำนักข่าว เพจ นักการเมือง และพรรคฝั่งตรงข้ามรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3CO61kswCe1RZx0NiMuiTP/d5c4347d6d1b9712187464f39453344d/info_TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia__1_

#สวมีไว้ทำไม แฮชแท็กเด่นประเด็น ส.ว. 250 

ท่ามกลางกระแสไม่เอา ส.ว. 250 คนที่ SPACEBAR ได้ยินบนโซเชียลมีเดียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา #สวมีไว้ทำไม คือแฮชแท็กเด่นที่ช่วยดันกระแส ส.ว. 250 คน ให้อยู่ท่ามกลางสปอตไลต์ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/7aSHkY84e1lhazgmh8qMwp/b2622c0f4c32475cb810c65bbc292253/TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia-SPACEBAR-Photo03
#สวมีไว้ทำไม เป็นแฮชแท็กที่ชวนตั้งคำถาม ยั่วแย้ง และเสียดสีการมีอยู่ของ ส.ว. ในฟากคนที่ไม่เห็นด้วย 

นอกจากนี้ยังมี #ตัดอำนาจสว #แก้รัฐธรรมนูญ ที่ถูกพูดถึงเพื่อจะแก้ไข ‘ที่มา’ และ ‘อำนาจ’ ของ ส.ว. 250 คนที่กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยมองว่า ‘ไม่เป็นประชาธิปไตย’ 

250 ส.ว. คือใคร มาจากไหน เป็นประชาธิปไตยหรือไม่? 

ส.ว. 250 เป็นประชาธิปไตยหรือไม่? 

คือหนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงมากที่สุด นับตั้งแต่ยุครัฐบาล คสช. ถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จนมาถึงการเลือกตั้ง พ.ศ.2566 ที่กำลังจะเกิดขึ้น 

เนื่องจากที่มาของ ส.ว. ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ทั้ง 250 คน มีที่มาที่ชวนตั้งคำถาม เพราะ... 
  • ส.ว. 194 คน : มาจากกลุ่มคน (ไม่เกิน 400 คน) ที่คณะกรรมการสรรหาที่ คสช. แต่งตั้งคัดสรรมา แล้วให้ คสช. เลือกอีกที 
  • ส.ว. 6 คน : มาโดยตำแหน่งที่รัฐธรรมนูญกำหนด ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
  • ส.ว. 50 คน : มาจากกลุ่มคน (200 คน) ที่ กกต. จัดให้มีการคัดเลือก โดย 'แบ่งกลุ่มอาชีพ' เลือกกันเอง แล้วให้ คสช. เลือกอีกที 
คำถามคือ ส.ว. ทั้ง 250 คน ที่มี คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ซึ่งทำการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2557 เป็นคนเคาะตัดสินใจคัดเลือกขั้นสุดท้าย สะท้อนเสียงของประชาชนหรือไม่ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4WytI7BVP3dcZ8Z2GQf9nw/a2dc5a640e79f4aeee12d6b83f251a4d/TAGCLOUD-250-senators-trend-one-year-socialmedia-SPACEBAR-Photo04
Photo: รัฐสภาไทยเดือนเมษายน 66 ขมุกขมัวด้วยฝุ่น PM2.5 (AFP)
นักการเมืองขั้วหนึ่งที่มาจาก คสช. และได้เป็นรัฐบาลหลังเลือกตั้ง พ.ศ.2562 ต่างยืนยันว่า เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ 

ในขณะที่อีกขั้วหนึ่งตอกย้ำว่า ที่มา ที่ไป และการตัดสินใจของ ส.ว. 250 คน ล้วนสะท้อนว่า เป็นการสืบทอดอำนาจจากยุค คสช. ถ้าจะเป็นประชาธิปไตยก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างหรือ ‘ประชาธิปไตยจำแลง’ เท่านั้น 

แล้วคุณล่ะ คิดว่า ส.ว. 250 คน เป็นประชาธิปไตยหรือไม่?

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์