“วันนี้มันไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ผมถามหน่อย!”
สุชาติ ชมกลิ่น ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ ยืนชี้หน้าถาม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตัวแทนพรรคก้าวไกล ด้วยประโยคข้างต้นบนเวทีดีเบต #เลือกต้ัง66 ที่จัดโดย เนชั่นทีวี ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อค่ำวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา
“ส.ว. 250 คนนี่เป็นประชาธิปไตยไหมครับ” ธนาธรสวนกลับ
สุชาติ ชมกลิ่น ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ ยืนชี้หน้าถาม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตัวแทนพรรคก้าวไกล ด้วยประโยคข้างต้นบนเวทีดีเบต #เลือกต้ัง66 ที่จัดโดย เนชั่นทีวี ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อค่ำวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา
“ส.ว. 250 คนนี่เป็นประชาธิปไตยไหมครับ” ธนาธรสวนกลับ


ทั้งคู่โต้ตอบกันอีกไม่กี่ประโยค ผู้ดำเนินรายการบนเวทีก็เข้ามาเบรกเพื่อรักษาบรรยากาศ แล้วดำเนินการดีเบตต่อไป
บนเวทีวันนั้น ไม่มีข้อสรุปว่า ‘ประชาธิปไตย’ คืออะไร
หรือถ้าพูดให้ถูกต้องกว่าคือประชาธิปไตยในความหมายของ ‘สุชาติ’ และของ ‘ธนาธร’ คืออะไรมากกว่า
แม้ว่าเราจะเสิร์จหาความหมายของคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ได้ในกูเกิ้ล แต่ความหมายนั้นอาจไม่ใช่ความหมายที่ตรงกับความเป็นจริง และอาจไม่ใช่ความหมายที่อยู่ในใจของคู่ดีเบตร้อนในคืนวันนั้น
คำถามคือ แท้จริงแล้ว ‘ประชาธิปไตย’ คืออะไรกันแน่?
บนเวทีวันนั้น ไม่มีข้อสรุปว่า ‘ประชาธิปไตย’ คืออะไร
หรือถ้าพูดให้ถูกต้องกว่าคือประชาธิปไตยในความหมายของ ‘สุชาติ’ และของ ‘ธนาธร’ คืออะไรมากกว่า
แม้ว่าเราจะเสิร์จหาความหมายของคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ได้ในกูเกิ้ล แต่ความหมายนั้นอาจไม่ใช่ความหมายที่ตรงกับความเป็นจริง และอาจไม่ใช่ความหมายที่อยู่ในใจของคู่ดีเบตร้อนในคืนวันนั้น
คำถามคือ แท้จริงแล้ว ‘ประชาธิปไตย’ คืออะไรกันแน่?

ฟังเสียง ‘ประชาธิปไตย’ บนโลกออนไลน์
หากแบ่งคนที่ได้ยินประโยค “วันนี้มันไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน” ของสุชาติ ชมกลิ่น ตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่พูดกับธนาธรบนเวทีดีเบต เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหนึ่ง คนที่มาฟังดีเบตสดวันนั้น สอง คนที่ได้ยินประโยคนี้จากโลกออนไลน์
คนกลุ่มที่หนึ่งน่าจะมีจำนวนหลักร้อยถึงพัน ส่วนคนกลุ่มที่สอง หากวัดจากยอดวิว น่าจะมีอย่างน้อยหลักแสนถึงล้าน
ยุคนี้ข้อมูลไหลบ่าจากโลกจริงสู่ออนไลน์เพียงลัดนิ้วมือ แทบทุกความเคลื่อนไหวถูกอัพโหลดด้วยความเร็วไฮสปีด สื่อ พรรคการเมือง ประชาชนต่างเป็นคนเสพและสร้างเนื้อหาในโลกไร้พรมแดนนี้ไปด้วยกัน เหมือนที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์บนเวทีดีเบตวันที่ 8 เมษายน
จากการโต้วาทะสั้นๆ ในประเด็นความเป็นประชาธิปไตยระหว่างสุชาติและธนาธร ชวนให้สงสัยว่า พรรคการเมืองใดมีความเป็น ‘ประชาธิปไตย’ ในโลกออนไลน์มากกว่ากัน
ทีม SPACEBAR x DATAOPS ได้ใช้เทคโนโลยีเชิงข้อมูลฟังเสียง ‘ประชาธิปไตย’ ของแต่ละพรรคการเมืองในโลกออนไลน์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - 18 เมษายน พ.ศ.2566 เพื่อหาว่าพรรคการเมืองใดพูดถึงและได้รับการพูดถึง เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ มากกว่ากัน

จากข้อมูลพบว่า พรรคที่ได้รับการพูดถึงคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ สูงที่สุด มีลำดับดังต่อไปนี้
แต่เมื่อดูแนวโน้มรายเดือน เกือบทุกพรรคมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน คือได้รับการพูดถึงประชาธิปไตยพุ่งสูงสุดขึ้นในเดือนมีนาคม เนื่องจากเป็นเดือนที่ประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ปี่กลองการเมืองเริ่มบรรเลงรับบรรยากาศการเลือกตั้ง นักการเมืองลงพื้นที่หาเสียงแข็งขัน และเวทีดีเบตเปิดม่าน
- พรรคเพื่อไทย - 4,376 mentions (%)
- พรรคก้าวไกล - 3,089 mentions (%)
- พรรครวมไทยสร้างชาติ - 2,544 mentions (%)
- พรรคพลังประชารัฐ - 1,635 mentions (%)
- พรรคประชาธิปัตย์ - 620 mentions (%)
แต่เมื่อดูแนวโน้มรายเดือน เกือบทุกพรรคมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน คือได้รับการพูดถึงประชาธิปไตยพุ่งสูงสุดขึ้นในเดือนมีนาคม เนื่องจากเป็นเดือนที่ประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ปี่กลองการเมืองเริ่มบรรเลงรับบรรยากาศการเลือกตั้ง นักการเมืองลงพื้นที่หาเสียงแข็งขัน และเวทีดีเบตเปิดม่าน

ยกเว้น ก้าวไกล เพียงพรรคเดียวที่มีแนวโน้มการถูกพูดถึง ‘ประชาธิปไตย’ สูงขึ้นในเดือนเมษายน และมีโอกาสจะแซงหน้าพรรคเพื่อไทยที่นำเป็นอันดับหนึ่ง
เป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากกระแสการดีเบตที่ร้อนแรงในหลายเวทีของพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘ประชาธิปไตย’ ที่สุชาติ ชมกลิ่น เป็นคนโหมให้ไฟความเป็นประชาธิปไตยซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดที่ก้าวไกลจุดมาตลอดร้อนแรงและสว่างไสวขึ้น
ดังนั้น พรรคที่ได้รับการพูดถึง ‘ประชาธิปไตย’ มากที่สุด อาจเป็น (หรือไม่เป็น) ประชาธิปไตยในความคิดของใครหลายคน
‘ประชาธิปไตย’ กับคำนิยามนับพันหมื่น
หากมองด้วยเลนส์ของโลกวิชาการ คำถามและข้อถกเถียงสั้นๆ บนเวทีดีเบตวันนั้นเกี่ยวกับ ‘ความเป็นประชาธิปไตย’ ระหว่างสุชาติและธนาธรไม่ใช่เรื่องแปลกงานศึกษาชิ้นหนึ่งในวารสารวิชาการ Damocratic Theory เมื่อปี พ.ศ.2553 ระบุว่า ในโลกภาษาอังกฤษ มีคำนิยามคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) มากถึง 2,234 ความหมาย
หากนับภาษาอื่น รวมถึงภาษาไทยด้วยแล้ว นิยามของประชาธิปไตยคงจะมีนับหมื่น (หรืออาจจะมากกว่านั้น)
แม้ประชาธิปไตยจะถือกำเนิดขึ้นในยุคกรีกโบราณ (508-507 ปีก่อน ค.ศ. หรือราว 2,500 กว่าปีที่แล้ว) แต่เพิ่งจะเบ่งบานกลายเป็นป็อปคัลเจอร์ เมื่อ 34 ปีที่แล้ว หรือพ.ศ.2534 (ปี 1991) หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ปิดฉากยุคสงครามเย็นสิ้นสุดด้วยความพ่ายแพ้ของระบอบคอมมิวนิสต์

ประเทศจำนวนมากเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็น ‘ประชาธิปไตย’ คำๆ นี้กลายเป็นยี่ห้อการปกครองที่แสดงถึงความศิวิไลซ์ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมบนเวทีของอำนาจมากขึ้น
ขณะเดียวกันคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ก็ถูกผู้มีอำนาจบางกลุ่มฉวยใช้แปะยี่ห้อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองและพวกพ้อง โดยอ้างความต้องการของประชาชนนำหน้า พร้อมกับประดิษฐ์ความหมาย ‘ประชาธิปไตย’ ในความคิดของตนเองขึ้นมา
ขณะเดียวกันคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ก็ถูกผู้มีอำนาจบางกลุ่มฉวยใช้แปะยี่ห้อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองและพวกพ้อง โดยอ้างความต้องการของประชาชนนำหน้า พร้อมกับประดิษฐ์ความหมาย ‘ประชาธิปไตย’ ในความคิดของตนเองขึ้นมา

ทำไม ‘ประชาธิปไตย’ ต้องมาพร้อม ‘ประชาชน’
นักการเมืองที่เดินหมากในเกมนี้ ต่างรู้ดีว่าเมื่อเอ่ยคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ต้องมีคำว่า ‘ประชาชน’ พ่วงมาด้วยเสมอ อาจเพราะ...หนึ่ง - ช่วยให้ผู้พูดดูดี ตามกรอบกติกาประชาธิปไตย
สอง - แสดงออกถึงการคิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวและพวกพ้อง
สาม - เพราะสองคำนี้เป็นเนื้อเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้
3 ข้อข้างต้น ข้อสามสำคัญที่สุด และเป็นเหตุให้เกิดข้อหนึ่งและสอง
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ไว้ว่า “ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่” และ “การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่”

ในภาษาอังกฤษ Democracy มีรากศัพท์มาจากคำว่า ‘Demokration’ ในภาษากรีกโบราณ มีที่มาจาก Demos (ประชาชน) และ Cratos (การปกครอง) หมายถึง “การปกครองโดยประชาชน”
เมื่อย้อนดูนิยาม ‘ประชาธิปไตย’ ทั้งของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะเห็นคำว่า ‘ประชาชน’ อยู่ในนั้นเสมอ
แต่นิยามในใจของนักการเมืองแต่ละคนจะมีประชาชนอยู่ในนิยามเหมือนลมปากหรือไม่ พฤติกรรมส่วนบุคคลน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าพวกเขาหรือเธอ ‘พูดแล้วทำ’
หรือเป็นแค่ลมปากที่คนไร้ศรัทธานักการเมืองไม่ให้คุณค่าและราคา
เมื่อย้อนดูนิยาม ‘ประชาธิปไตย’ ทั้งของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะเห็นคำว่า ‘ประชาชน’ อยู่ในนั้นเสมอ
แต่นิยามในใจของนักการเมืองแต่ละคนจะมีประชาชนอยู่ในนิยามเหมือนลมปากหรือไม่ พฤติกรรมส่วนบุคคลน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าพวกเขาหรือเธอ ‘พูดแล้วทำ’
หรือเป็นแค่ลมปากที่คนไร้ศรัทธานักการเมืองไม่ให้คุณค่าและราคา
