โลกออนไลน์ไม่ใช่โลกจริง แต่ก็เสมือนจริงมากขึ้นทุกวัน
อย่างน้อยความจริงบางด้านก็ปรากฏในนั้น แม้ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจริงทั้งหมด แต่ก็มีนัยของข้อเท็จจริง
รายงาน Digital 2023: THAILAND ระบุว่า คนไทยเป็น ‘ชาวเน็ต’ (Internet users) มากถึง 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งหมด 71.75 ล้านคน
อย่างน้อยความจริงบางด้านก็ปรากฏในนั้น แม้ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจริงทั้งหมด แต่ก็มีนัยของข้อเท็จจริง
รายงาน Digital 2023: THAILAND ระบุว่า คนไทยเป็น ‘ชาวเน็ต’ (Internet users) มากถึง 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งหมด 71.75 ล้านคน

โดยใช้เวลา 1 ใน 3 (8 ชั่วโมง 6 นาที) ของแต่ละวันในโลกเสมือนจริง เพื่อหาข้อมูลมากที่สุด (Finding Informaiton - 64.9%) รองลงมาคือ ติดตามข่าวสาร (Keeping up-to-date with News and Events - 58.1%)

เมื่อคนไทยย้ายตัวเองเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงมากขึ้นทุกวัน เส้นแบ่งระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ก็เลือนลางมากขึ้นทุกที
คำว่า ‘เลือกตั้ง’ กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่ชาวเน็ตสนใจสืบค้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา
คำว่า ‘เลือกตั้ง’ กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่ชาวเน็ตสนใจสืบค้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา

Google Trends ระบุว่า จำนวนการสืบค้นบอกสิ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ
เราจึงลองใส่ ‘ชื่อแคนดิเดต’ เพื่อจับชีพจรความสนใจ (Interest Over Time) ที่กำลังเต้นอยู่ในใจคนไทยในรอบ 90 วันที่ผ่านมา (1 มกราคม - 31 มีนาคม)
คนไทยสนใจแคนดิเดตคนไหน สนใจเรื่องอะไร และชีพจรของใครเต้นแรงกว่ากัน
*หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ เขียนเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2566 ค่าชีพจรความสนใจ (Interest Over Time) ที่อยู่ในบทความอาจไม่ตรงกับค่าที่ปรากฏในปัจจุบัน
แต่ในรอบ 90 วันที่ผ่านมา เมื่อฤดูเลือกตั้งเริ่มต้น ความสนใจในตัวเธอก็พุ่งสูง และเต้นแรงขึ้นกว่าเดิม
เราจึงลองใส่ ‘ชื่อแคนดิเดต’ เพื่อจับชีพจรความสนใจ (Interest Over Time) ที่กำลังเต้นอยู่ในใจคนไทยในรอบ 90 วันที่ผ่านมา (1 มกราคม - 31 มีนาคม)
คนไทยสนใจแคนดิเดตคนไหน สนใจเรื่องอะไร และชีพจรของใครเต้นแรงกว่ากัน
*หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ เขียนเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2566 ค่าชีพจรความสนใจ (Interest Over Time) ที่อยู่ในบทความอาจไม่ตรงกับค่าที่ปรากฏในปัจจุบัน
แพทองธาร ชินวัตร : ชีพจรเต้นแรงเมื่ออยู่กับ ‘เศรษฐา’ และคำว่า ‘แลนด์สไลด์’
ก่อนหน้านี้ ดีกรีความสนใจในตัว ‘อุ๊งอิ๊ง’ พุ่งสูงขึ้นทันที หลังเธอเปิดตัวเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เมื่อมีนาคมปีที่แล้ว (พ.ศ.2565)แต่ในรอบ 90 วันที่ผ่านมา เมื่อฤดูเลือกตั้งเริ่มต้น ความสนใจในตัวเธอก็พุ่งสูง และเต้นแรงขึ้นกว่าเดิม

-
20 มกราคม, ควง เศรษฐา ทวีสิน เดินหาเสียงด้วยกันครั้งแรก (ชีพจรความสนใจ : 70)
ความสนใจพุ่งเป้าไปที่เศรษฐาที่มีกระแสข่าวจะเป็นหนึ่งใน ‘แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี’ ก่อนจะคลี่คลายในเวลาต่อมาว่า เขาคือหนึ่งในสามแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย

-
19 กุมภาพันธ์, ลุยอีสาน ประกาศแลนด์สไลด์ (ชีพจรความสนใจ : 58)
“เราคือคำตอบของอนาคตของพี่น้องและลูกหลานค่ะ ฝากไว้นะคะพี่น้อง เราตั้งใจทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้นจริงๆ ขอให้พี่น้องเลือกพรรคเพื่อไทย ทั้งคน! ทั้งพรรค! ให้แลนด์สไลด์ได้ไหมคะ”

-
9 มีนาคม, ประกาศเป้าใหญ่ 310 เสียง (ชีพจรความสนใจ : 100)
“การแลนด์สไลด์ ตั้งเป้า 310 เสียง เป็นเรื่องใหญ่มาก ดังนั้น ต้องมีทั้งคุณเศรษฐา มีหัวหน้าพรรค (นพ.ชลน่าน) มีอิ๊ง มีทั้งทีมพรรคเพื่อไทย ต้องช่วยกันทุกจุดจริงๆ...” แพทองธารกล่าว

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ : ชีพจรลงเท้าฝั่งธนฯ - ภาคใต้ กับดราม่าชั่วข้ามคืน
เทียบจากต้นปี 2566 ชีพจรความสนใจของพิธามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ยิ่งลงพื้นที่มากเท่าไหร่ ดูเหมือนความสนใจในตัวเขาจะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นชีพจรความสนใจอาจไม่ได้เท่ากับกระแสในเชิงบวกทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็นว่ามีคนสืบค้นและสนใจชื่อ ‘พิธา’ มากขึ้น
และนี่คือเรื่องของพิธาที่คนสนใจมากที่สุดในรอบ 90 วันที่ผ่านมา

-
15 มกราคม, ลงพื้นที่ฝั่งธนบุรี เขตตัวตึง (ชีพจรความสนใจ : 38)
หนึ่งวันก่อน (14 มกราคม) เป็นวันเด็ก มีเหตุการณ์น่าสนใจ นักข่าวถามพิธาว่า ถ้าก้าวไกลให้คำขวัญวันเด็กจะบอกอะไร?
“ไม่มีครับ นายกฯ พิธาไม่มีคำขวัญวันเด็ก เพราะผมรู้ว่าสิ่งที่เด็กๆ ต้องการน้อยที่สุดคือคำขวัญ ผมอยากจะชวนผู้สื่อข่าวและคนที่อยู่ในที่นี้ถามตัวเอง ว่ามีคำขวัญวันเด็กปีไหนที่คุณจำได้ในชีวิตบ้าง ไม่มี...”

-
22 กุมภาพันธ์, ดราม่าวิวาทะ พิธา-ปิยบุตร (ชีพจรความสนใจ : 78)
รุ่งขึ้น สื่อและชาวเน็ตยังสงสัยและขยี้ต่อ ก่อนจะคลี่คลายและช็อตฟีล หลังธนาธรลงโพสต์หนุนพิธาเป็นนายกฯ และพิธาโพสต์ภาพโอบไหล่กอดคอปิยบุตร บอกว่าปรับความเข้าใจกันแล้ว การทำงานมีความเห็นแตกต่างกัน แนวทางการทำงานไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องปกติ
“สุดท้ายเราทั้งสองคนยังมีอุดมการณ์ เป้าหมาย และความฝันเดียวกัน ...เราจะเดินทางร่วมกันต่อไป”

-
21 มีนาคม, ลุยภาคใต้ (ชีพจรความสนใจ : 100)
สามวันต่อมา (24 มีนาคม) พิธาลงพื้นที่ปราศรัยจังหวัดชลบุรี ชวนคนกาก้าวไกล เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยไม่เหมือนเดิม บนเวทีปราศรัยวันนั้น พรรคก้าวไกลจัดตัวท็อปขึ้นเรียกคะแนน หนึ่งในนั้นคือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
“14 พฤษภาคม ถึงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง 14 พฤษภาคม สร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเราได้ ด้วยบัตรเลือกตั้งของเรา ประเทศไทยจะเดินไปในทิศทางไหน ขึ้นอยู่กับการกากบาทของทุกท่าน ว่าท่านจะเลือกอนาคตแบบไหน นี่คือจุดชี้เป็นชี้ตายของอนาคต...”

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ : ชีพจรสั่นไหว เมื่อประกาศ “ไม่เอาเผด็จการ”
ชีพจรความสนใจของคุณหญิงสุดารัตน์ในภาพรวมมีจังหวะราบเรียบสลับกับเต้นเป็นช่วงๆ ตามกระแสข่าวแต่ดูจะเต้นแรงเป็นพิเศษในยามที่เธอและพรรคเคลื่อนไหว ประกาศนโยบายและจุดยืนทางการเมือง “ไม่สนับสนุนเผด็จการ”

-
24 มกราคม, เปิดตัว ‘การุณ-ชวลิต’ ดีลกับสร้างอนาคตไทยอยู่ระหว่างหารือ (ชีพจรความสนใจ : 26)
“ยินดีที่เราจะได้นักรบที่หัวใจเต็มเปี่ยมไปด้วยประชาธิปไตย มีประชาชนอยู่ในหัวใจเสมอมา ...ไทยสร้างไทยจึงเป็นผู้นำในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนไม่ใช่ปลายกระบอกปืน”
ในงานแถลงข่าววันนั้น นักข่าวถามว่า “คนจากสร้างอนาคตไทยจะลาออกย้ายมาอยู่กับเราหรือเปล่าคะ?”
“ยังตอบไม่ได้ค่ะ ยังไม่ได้ตกลงอะไรถึงขนาดนั้น ...วันนี้รู้แต่ว่ามีสองขุนพลค่ะ ท่านชวลิตกับท่านการุณนี่แหละค่ะ”

-
4 กุมภาพันธ์, ลั่นไม่เอาเผด็จการ (ชีพจรความสนใจ : 100)
คุณหญิงสุดารัตน์บอกว่า แม้จะเป็นพรรคเกิดใหม่ แต่ไทยสร้างไทยจะเป็นทางออกของประเทศ ปลดล็อกการเมืองสองขั้ว ย้ำ 3 หลักการหลัก คือ
- ประเทศต้องเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่สนับสนุนเผด็จการ
- มุ่งแก้ระบบของประเทศ ที่เต็มไปด้วยเรื่องทุจริต ประกาศสงครามคอร์รัปชั่น
- จัดสรรงบประมาณให้ถึงประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มุ่งสร้างเศรษฐกิจที่ดีภายใน 3 ปี

-
25 มีนาคม, ขอโอกาส... มาทำให้ประชาชน “ชนะ” อย่างแท้จริง (ชีพจรความสนใจ : 90)
“การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยสร้างไทย พร้อมแล้วที่จะเป็นทางเลือกใหม่ทางรอดประเทศอย่างแท้จริง เพื่อยุติสงคราม แย่งชิงอำนาจของ การเมืองสองขั้ว ที่ทำให้เกิดรัฐประหารถึงสองครั้ง”
แต่กระแสเกิดขึ้นในวันก่อนหน้า เมื่อไล่ดูพบว่ามีที่มาจากโพสต์ในเฟซบุ๊กเพจ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เล่าถึงชีวิตทางการเมืองตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
จาก “ได้รับความเมตตาจากพี่น้องชาวบางกะปิ เลือก ‘สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์’ เป็น ส.ส.จนได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคม...” จนถึงวันที่สอบตกไม่ได้เป็น ส.ส. เมื่อ 4 ปีที่แล้ว และไม่มีตำแหน่งใดๆ แต่ไม่เคยห่างหายไปจากพี่น้องประชาชน
ก่อนปิดท้ายด้วยการขอโอกาส มาทำให้ประชาชน “ชนะ” อย่างแท้จริง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ชีพจรอ่อนไหวของผู้นำจากศตวรรษที่ 20
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม มีชีพจรความสนใจบนโลกออนไลน์อยู่เป็นระยะ ขึ้นลงตามกระแสข่าว ส่วนใหญ่เป็นข่าวเชิงวิพากษ์มากกว่าชื่นชมสปอตไลท์ย่อมส่องหาผู้นำแถวหน้าเป็นธรรมดา และเวลาพูดอะไรไม่เข้าท่าเข้าทาง ดูเหมือนสื่อและชาวเน็ตจะไม่ปล่อยผ่าน คำวิจารณ์คือภาระหนึ่งที่ผู้นำต้องน้อมรับ

-
10 มกราคม, “ผมเคารพในกระบวนการประชาธิปไตย” (ชีพจรความสนใจ : 86)
“ไม่ใช่ผมอยากเป็นใหญ่ ไม่ใช่ผมอยากมีอำนาจ อำนาจผมมีมาเยอะแล้ว ...ผมยืนยันผมไม่เคยรับผลประโยชน์ใครทั้งสิ้น แต่เพราะนึกถึงพวกเรา ที่ผมมายืนตรงนี้ เพราะผมเคารพในกระบวนการประชาธิปไตย”
คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ฟังดูย้อนแย้งกับที่มาของอำนาจ ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง สื่อมวลชน ชาวเน็ต และนักการเมืองฝั่งตรงข้ามต่างตีตั๋วขึ้นรถทัวร์มาลงที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในเวลาหลังจากนั้น

-
10 กุมภาพันธ์, ปาฐกถาว่าด้วยเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 (ชีพจรความสนใจ : 100)
การเป็นประธานในการประชุมที่ว่าด้วยการพัฒนาเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 (การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแก่นนำเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นยุวทูตคุณธรรมในศตวรรษที่ 21) พร้อมกล่าวปาฐกถาในวันนั้นก็เช่นกัน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวปาฐกถา ‘การเป็นยุวทูตคุณธรรมขับเคลื่อนกิจกรรมในการพัฒนาสังคมไทยและสังคมโลก’ โดยพูดถึงการปรับตัวของรัฐบาลให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มาร่วมงานในวันนั้นว่า รัฐบาลสร้างการเปลี่ยนแปลงฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่ด้วย “เราต้องร่วมมือ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

เนื้อหาปาฐกถาเป็นไปตามมาตรฐานของ พล.อ.ประยุทธ์ และควรจบลงอย่างเรียบร้อย ถ้าช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่กล่าวถึงกูเกิ้ล และสื่อไม่เอามาขยี้ล้อเลียน
“อะไรไม่ดี คิดแล้วช่วยกันแก้ แต่ก่อนจะด่าว่าใครเนี่ย เปิดกูเกิ้ลดูซะก่อน...”
หากมองกันที่เนื้อหาสาระ ปาฐกถาที่กล่าวนั้นก็ไม่เลวร้าย เพียงแต่ตัวอย่างและคำพูดบางคำฟังดูล้าสมัยและไม่เข้าหูคนรุ่นใหม่ เช่นคำว่า คนดี หิริโอตัปปะ อริยสัจสี่
แต่เมื่อพิจารณาว่า ปาฐกถาดังกล่าวมาจากชายสูงวัย อายุใกล้เจ็ดสิบ มีชีวิตส่วนใหญ่ในศตวรรษที่ 20 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร (ส่วนใครจะรับได้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
ตำรวจหญิงนอกเครื่องแบบใช้มือปิดปากคุณป้า และพยายามนำตัวออกไป เพื่อเคลียร์พื้นที่ แต่เธอไม่ขัดขืน จึงถูกลากตัวไปหลบหลังรถตู้ ขณะที่ชาวบ้าน #กลุ่มรักลุงตู่ พยายามแจ้งว่า คุณป้าเป็นลม เจ้าหน้าที่จึงพาไปหาหมอ
กระแส 'ลุงป้อม' เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเวลาเลือกตั้งใกล้เข้ามา ส่วนใหญ่มาจาก 'สาร' ที่ลุงป้อมและทีมงานต้องการสื่อ
หรือนี่จะเป็นความตั้งใจในการกำหนดวาระข่าวสารที่ลุงป้อมวางไว้?
“อะไรไม่ดี คิดแล้วช่วยกันแก้ แต่ก่อนจะด่าว่าใครเนี่ย เปิดกูเกิ้ลดูซะก่อน...”
หากมองกันที่เนื้อหาสาระ ปาฐกถาที่กล่าวนั้นก็ไม่เลวร้าย เพียงแต่ตัวอย่างและคำพูดบางคำฟังดูล้าสมัยและไม่เข้าหูคนรุ่นใหม่ เช่นคำว่า คนดี หิริโอตัปปะ อริยสัจสี่
แต่เมื่อพิจารณาว่า ปาฐกถาดังกล่าวมาจากชายสูงวัย อายุใกล้เจ็ดสิบ มีชีวิตส่วนใหญ่ในศตวรรษที่ 20 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร (ส่วนใครจะรับได้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
-
13 มีนาคม, ปิดปากคุณป้าที่ราชบุรี (ชีพจรความสนใจ : 59)
ตำรวจหญิงนอกเครื่องแบบใช้มือปิดปากคุณป้า และพยายามนำตัวออกไป เพื่อเคลียร์พื้นที่ แต่เธอไม่ขัดขืน จึงถูกลากตัวไปหลบหลังรถตู้ ขณะที่ชาวบ้าน #กลุ่มรักลุงตู่ พยายามแจ้งว่า คุณป้าเป็นลม เจ้าหน้าที่จึงพาไปหาหมอ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ : ชีพจรเต้นตามจังหวะเพลง และความในใจ
ชีพจรความสนใจของ พล.อ.ประวิตร หวือหวาเป็นช่วงๆ เคลื่อนไหวทีก็มีกระแสขึ้นมาครั้งหนึ่ง เมื่อไม่มีประเด็นอะไร ก็เงียบหายไปดื้อๆกระแส 'ลุงป้อม' เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเวลาเลือกตั้งใกล้เข้ามา ส่วนใหญ่มาจาก 'สาร' ที่ลุงป้อมและทีมงานต้องการสื่อ
หรือนี่จะเป็นความตั้งใจในการกำหนดวาระข่าวสารที่ลุงป้อมวางไว้?

-
9 มกราคม, อวยพร ‘ตู่’ น้องรัก (ชีพจรความสนใจ : 75)
ชีพจรความสนใจของ พล.อ.ประวิตร สูงขึ้นในวันนี้ เพราะคนอยากรู้ว่า ‘ลุงป้อม’ คิดอย่างไรกับ ‘ลุงตู่’ ที่แยกตัวไปร่วมงานกับอีกพรรค “ขอให้ประสบความสำเร็จ” พล.อ.ประวิตร กล่าวอวยพรสั้นๆ
นักข่าวถามว่า มีความเป็นห่วงอะไรหรือไม่ “ไม่เป็นห่วงอะไร ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง”

-
21 กุมภาพันธ์, ปล่อยเพลง ‘ลุงป้อม 700’ (ชีพจรความสนใจ : 100)
ถ้าดูจากชีพจรความสนใจ ถือว่าการปล่อยเพลงเรียกกระแสได้ดีทีเดียว เรียกว่าดีที่สุดในรอบ 90 วันที่ผ่านมา
ส่วนเนื้อหาในเพลงมีดังนี้ (หากต้องการเพิ่มอรรถรสในการอ่านเนื้อเพลง แนะนำดาวน์โหลดเพลง ‘ลุงป้อม 700’ ได้ที่นี่
อยากได้อาไร มาหาลุงป้อมก่อน
หากว่าเดือดร้อน ลุงป้อมช่วยเหลือ
เหน็ดเหนื่อยสักเพียงใด ลุงป้อมไม่เคยเบื่อ
ไม่มีหวั่นไหว ลุงป้อมใจดี..ดี๊ดี
คอยดูแลทุกคน จะยากดีมีจนเท่าไร
ลงมือทำด้วยใจ บอกไม่รู้แต่ต้องไม่แล้ง
นี่แหละลุงป้อม ลุงป้อมเจ็ดร้อย
อย่างน้อยต้องมีกินทุกคน
จะทำนาไร่ก็ได้ดอกผล รวยทั้งปี
นี่แหละลุงป้อม ลุงป้อมเจ็ดร้อย
อย่างน้อยที่ทำกินต้องมี
ต้องทำให้ดี เพื่อประเทศไทย
อยากได้อาไร ให้เลือกลุงป้อมก่อน
เลือกพลังประชารัฐ ไม่มีขัดใจ ละกัน

-
15 มีนาคม, บทสรุป ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ (ชีพจรความสนใจ : 95)
พล.อ.ประวิตร ตั้งชื่อจดหมายฉบับนี้ว่า บทสรุป ก้าวข้ามความขัดแย้ง ใจความหลักพูดถึงการเสนอตัวเข้ามาจัดการความขัดแย้งระหว่างฝ่าย ‘อนุรักษ์นิยม’ และฝ่าย ‘ประชาธิปไตยเสรีนิยม’ ที่มีมาอย่างยาวนาน
“ผมตั้งใจว่า เมื่อพรรคผมเป็นรัฐบาล ผมจะตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก นำนโยบายดีๆ ของทุกพรรค ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียง เอามาทำและปฏิบัติให้เกิดขึ้นได้จริง
“โดยไม่ได้มีความรังเกียจหรือแบ่งแยก หากนโยบายเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าไปได้
“นี่คือการเมืองที่อยู่ในใจผม การเมืองที่ไม่ต้องมีผู้ชนะเด็ดขาด ไม่มีฝ่ายใดต้องแพ้ราบคาบ
“…ผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ‘ผมพูดไม่เก่ง’ แต่ ‘ผมมีหัวใจ’
“หัวใจที่ใหญ่พอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด เพื่อนำพาให้ก้าวข้ามความขัดแย้ง...”

เทียบ 5 แคนดิเดต ชีพจรความสนใจใครเต้นแรงสุด
เมื่อนำคีย์เวิร์ดชื่อแคนดิเดตทั้ง 5 คนมาใส่เทียบกัน คุณคิดว่า ใครมีชีพจรความสนใจในโลกออนไลน์สูงที่สุด?ผลลัพธ์ที่เราพบไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ หากดูจากฐานคนที่แอคทีฟในโลกออนไลน์ที่เป็นคนรุ่นใหญ่ กลุ่มเจน Y และ Z เป็นส่วนใหญ่

อันดับชีพจรความสนใจ (Interest Over Time) ของ 5 แคนดิเดต เลือกตั้ง 2566 บน Google Trends ในรอบ 90 วัน (4 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ.2566)
มาดูกันว่า อีกราวเดือนกว่าๆ ก่อนถึงวันเลือกตั้ง กระแสจะเปลี่ยนแปลง พลิกโผ หรือมีเรื่องเซอร์ไพร์สอะไรเกิดขึ้นหรือไม่
- อันดับ 1 - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
- อันดับ 2 (ร่วม) - แพทองธาร ชินวัตร, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- อันดับ 3 - พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
- อันดับ 4 - สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
- พิธา-พรรคก้าวไกล ได้รับความสนใจมากที่สุด เป็นความสนใจในเชิงความเคลื่อนไหวของพรรค และดราม่าวิวาทะระหว่างพิธา-ปิยบุตร ส่วนใหญ่เป็นการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของพรรคและนโยบายมากกว่าการค่อนแคะเสียดสี
- เช่นเดียวกับ แพทองธาร-พรรคเพื่อไทย ความสนใจพุ่งเป้าไปที่แนวคิด นโยบาย ความเป็นตัวแทนแคนติเดตของพรรค (ทั้งตัวเธอ และเศรษฐา ทวีสิน) รวมถึงเป้าหมายใหญ่ ‘แลนด์สไลด์’ ที่พรรคต้องการไปให้ถึง
- ผิดกับ พล.อ.ประยุทธ์-พรรครวมไทยสร้างชาติ แม้ชีพจรความสนใจจะมาเป็นอันดับสองเท่ากับ แพทองธาร แต่ดูเหมือนทิศทางความสนใจจะเป็นไปในเชิงวิพาษ์วิจารณ์มากกว่าเชิงบวก
- ด้าน พ.อ.ประวิตร-พรรคพลังประชารัฐ ชีพจรความสนใจสูงขึ้นเป็นพักๆ ตามกระแสการเคลื่อนไหวในออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอข่าว เช่น ปล่อยเพลง ‘ลุงป้อม 700’ กระแสในภาพรวมไม่ลบไม่บวก อาจมีถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่ไม่บอบช้ำเท่า พล.อ.ประยุทธ์
- ขณะที่ คุณหญิงสุดารัตน์-พรรคไทยสร้างไทย ชีพจรความสนใจน้อยที่สุด แม้พรรคจะพยายามสร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารในออนไลน์โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ง่าย ถ้าต้องวัดกับพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล อย่างไรก็ตาม แม้จะได้อันดับ 4 แต่ทิศทางความสนใจนับว่าไม่เลว คนสนใจที่ ‘เนื้อหาสาระ’ มากกว่าข่าวปั่นกระแส และความสนใจพุ่งสูงสุด หลัง ‘คุณหญิงหน่อย’ ประกาศจุดยืนพรรคชัดเจนว่า “ไม่เอาเผด็จการ”
มาดูกันว่า อีกราวเดือนกว่าๆ ก่อนถึงวันเลือกตั้ง กระแสจะเปลี่ยนแปลง พลิกโผ หรือมีเรื่องเซอร์ไพร์สอะไรเกิดขึ้นหรือไม่