“...ผมตัดสินใจแล้วว่าจะกลับบ้านไปเลี้ยงหลานภายในเดือนกรกฎาคมนี้ก่อนวันเกิดผมครับ...” ทักษิณ ชินวัตร ทวีตข้อความนี้ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม
ถึงวันนี้ (26 มิถุนายน) เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือน ก็จะถึงกำหนดการที่ทักษิณบอกว่า เขาจะเดินทางกลับบ้าน (วันเกิดทักษิณ 26 กรกฎาคม)
นี่คือความปรารถนาของทักษิณและครอบครัวชินวัตร ตั้งแต่ถูกรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทว่าสิบกว่าปีผ่านไป แม้ทักษิณจะส่งสัญญาณถึงทางการไทยมาตลอดว่า เขาอยากกลับบ้าน แต่ความปรารถนาดังกล่าวก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง
คำถามคือ มีโอกาสแค่ไหนที่ทักษิณจะได้กลับบ้าน?
ในโลกความจริง คำตอบอยู่ที่ตัวทักษิณเองว่าจะเลือกตีตั๋วขึ้นเครื่องบินมาแลนดิ้งที่เมืองไทยหรือไม่ (แน่นอนว่า การเดินทางกลับบ้านมีปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณามากมาย) แต่ถ้าคาดการณ์ถึง 'ความน่าจะเป็น' ที่เขาจะกลับมา การย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์อาจพอให้เห็นเค้าลางของคำตอบ
ลองดูกันว่า ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา มีนักการเมืองไทยระดับหัวแถวกี่คนที่ต้องลี้ภัย และมีกี่คนที่ได้เดินทางกลับบ้าน...
ถึงวันนี้ (26 มิถุนายน) เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือน ก็จะถึงกำหนดการที่ทักษิณบอกว่า เขาจะเดินทางกลับบ้าน (วันเกิดทักษิณ 26 กรกฎาคม)
นี่คือความปรารถนาของทักษิณและครอบครัวชินวัตร ตั้งแต่ถูกรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทว่าสิบกว่าปีผ่านไป แม้ทักษิณจะส่งสัญญาณถึงทางการไทยมาตลอดว่า เขาอยากกลับบ้าน แต่ความปรารถนาดังกล่าวก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง
คำถามคือ มีโอกาสแค่ไหนที่ทักษิณจะได้กลับบ้าน?
ในโลกความจริง คำตอบอยู่ที่ตัวทักษิณเองว่าจะเลือกตีตั๋วขึ้นเครื่องบินมาแลนดิ้งที่เมืองไทยหรือไม่ (แน่นอนว่า การเดินทางกลับบ้านมีปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณามากมาย) แต่ถ้าคาดการณ์ถึง 'ความน่าจะเป็น' ที่เขาจะกลับมา การย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์อาจพอให้เห็นเค้าลางของคำตอบ
ลองดูกันว่า ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา มีนักการเมืองไทยระดับหัวแถวกี่คนที่ต้องลี้ภัย และมีกี่คนที่ได้เดินทางกลับบ้าน...

จากข้อมูลข้างต้น มีนักการเมืองที่ลี้ภัยการเมืองเพียง 2 คนที่ได้เดินทางกลับมาและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย โดยทั้งสองจุดร่วมกันที่ ‘ไม่เป็นอันตราย’ ต่อผู้มีอำนาจนำในเวลานั้น
ส่วนผู้ที่ดูจะ ‘มีพิษและเป็นภัย’ ซึ่งไม่เป็นที่ไว้ใจของผู้มีอำนาจ พวกเขาล้วนมีชะตากรรมเหมือนกันคือต้องลี้ภัยอยู่ต่างแดนไปตลอดชีวิต
สถานการณ์ดังกล่าวดูจะไม่ต่างกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.2557 ที่มีคนอย่างน้อย 86 คน (ข้อมูลถึง พ.ศ.2561 โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) เพียงเพราะคนเหล่านี้มีพฤติกรรมและแนวคิดที่ 'อันตราย' ในสายตาของทางการไทย
คนที่ลี้ภัยการเมืองเหล่านี้ที่ยังมีชีวิตยังคงอยู่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ เช่น ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการและอาจารย์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาอยู่กรุงเกียวโต, จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ฝรั่งเศส
และอีกบางคนก็ลี้ภัยอยู่ต่างแดนจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต เช่น วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ลี้ภัยอยู่ฝรั่งเศส ก่อนจะเสียชีวิตด้วยโรคเนื้องอกในตับที่โรงพยาบาลในกรุงปารีส เมื่อปี พ.ศ.2565
ส่วนคำถามที่ว่า ทักษิณจะได้กลับมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจมองว่า ทักษิณเป็น ‘ตัวอันตราย’ และ 'น่าไว้ใจ' หรือเปล่า
ถ้าจำทวีตของทักษิณเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ ทั้งสองครั้งที่เขาทวีตจะมีคำว่า “ขออนุญาต”
สุดท้าย ทักษิณจะกลับบ้าน (เหมือนจอมพลถนอม กิตติขจร และทวี บุณยเกตุ) หรือไม่
คงอยู่ที่ว่าเขาจะ “ได้รับอนุญาต” หรือเปล่า
ส่วนผู้ที่ดูจะ ‘มีพิษและเป็นภัย’ ซึ่งไม่เป็นที่ไว้ใจของผู้มีอำนาจ พวกเขาล้วนมีชะตากรรมเหมือนกันคือต้องลี้ภัยอยู่ต่างแดนไปตลอดชีวิต
สถานการณ์ดังกล่าวดูจะไม่ต่างกับผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.2557 ที่มีคนอย่างน้อย 86 คน (ข้อมูลถึง พ.ศ.2561 โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) เพียงเพราะคนเหล่านี้มีพฤติกรรมและแนวคิดที่ 'อันตราย' ในสายตาของทางการไทย
คนที่ลี้ภัยการเมืองเหล่านี้ที่ยังมีชีวิตยังคงอยู่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ เช่น ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการและอาจารย์ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาอยู่กรุงเกียวโต, จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ฝรั่งเศส
และอีกบางคนก็ลี้ภัยอยู่ต่างแดนจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต เช่น วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ลี้ภัยอยู่ฝรั่งเศส ก่อนจะเสียชีวิตด้วยโรคเนื้องอกในตับที่โรงพยาบาลในกรุงปารีส เมื่อปี พ.ศ.2565
ส่วนคำถามที่ว่า ทักษิณจะได้กลับมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจมองว่า ทักษิณเป็น ‘ตัวอันตราย’ และ 'น่าไว้ใจ' หรือเปล่า
ถ้าจำทวีตของทักษิณเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ ทั้งสองครั้งที่เขาทวีตจะมีคำว่า “ขออนุญาต”
สุดท้าย ทักษิณจะกลับบ้าน (เหมือนจอมพลถนอม กิตติขจร และทวี บุณยเกตุ) หรือไม่
คงอยู่ที่ว่าเขาจะ “ได้รับอนุญาต” หรือเปล่า