ความฝันของ ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นจริง เมื่อวันอังคารที่ 22 สิงหาคม
ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน (21 สิงหาคม) ทักษิณทวีตเป็นสัญญาณยืนยันว่า ครั้งนี้จะกลับมาแน่นอน
ถึงอย่างไรก็ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า ทักษิณจะได้กลับบ้านจริงๆ
คนที่ติดตามข่าว #ทักษิณกลับบ้าน รู้ดีว่าทักษิณปรารถนาจะกลับบ้านตั้งแต่ปีที่ถูกรัฐประหาร (พ.ศ.2547) ตลอดมา แต่ด้วยเงื่อนไขส่วนตัวและสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่อาจวางใจ การกลับบ้านของทักษิณ จึงเป็นแค่สคริปต์ของละครชีวิตที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
จนกระทั่ง วันที่ 22 สิงหาคม ราว 9.30 น. ภาพถ่ายทอดสดจากสื่อมวลชนทุกสำนัก จับภาพอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตัวเป็นๆ ที่กำลังเดินออกจากประตูหน้าอาคารผู้โดยสาร อากาศยานส่วนบุคคล สนามบินดอนเมือง
ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน (21 สิงหาคม) ทักษิณทวีตเป็นสัญญาณยืนยันว่า ครั้งนี้จะกลับมาแน่นอน
ถึงอย่างไรก็ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า ทักษิณจะได้กลับบ้านจริงๆ
คนที่ติดตามข่าว #ทักษิณกลับบ้าน รู้ดีว่าทักษิณปรารถนาจะกลับบ้านตั้งแต่ปีที่ถูกรัฐประหาร (พ.ศ.2547) ตลอดมา แต่ด้วยเงื่อนไขส่วนตัวและสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่อาจวางใจ การกลับบ้านของทักษิณ จึงเป็นแค่สคริปต์ของละครชีวิตที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
จนกระทั่ง วันที่ 22 สิงหาคม ราว 9.30 น. ภาพถ่ายทอดสดจากสื่อมวลชนทุกสำนัก จับภาพอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตัวเป็นๆ ที่กำลังเดินออกจากประตูหน้าอาคารผู้โดยสาร อากาศยานส่วนบุคคล สนามบินดอนเมือง

ไม่ว่าคุณจะชอบหรือชัง ทักษิณ ชินวัตร ภาพนี้คือข้อเท็จจริงที่บอกว่า ความฝันอันยาวนานกว่า 17 ปีของตัวละครสำคัญคนหนึ่งของการเมืองไทย ที่วันนี้กลายเป็นคนสูงวัย เช่นเดียวกับตัวละครร่วมยุคสมัยเดียวกันอีกหลายคน ได้กลายเป็นจริงแล้ว
เปรียบกับละครเวที นี่อาจไม่ใช่อวสาน แต่เป็นการจบองก์ (Act) หนึ่ง เพื่อเริ่มต้นฉากชีวิตในองค์ใหม่หรือบทต่อไป ซึ่งน่าสนใจว่า ทักษิณจะเลือกแสดงบทอะไร...หลังจากนี้
แม้สุนทรภู่จะบอกว่า ใจมนุษย์ “มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด” แต่การสืบค้นกลับไปยังข้อความและคำให้สัมภาษณ์เก่าๆ ของทักษิณ อาจช่วยให้พอเห็นปรารถนาในใจของทักษิณในฉากชีวิตบทต่อไป
“...ผมตัดสินใจแล้วว่าจะกลับบ้านไปเลี้ยงหลาน...”
โดยในทวีตเดียวกัน ทักษิณสื่อสารว่า “ผมก็แก่แล้ว” และคงเหมือนคนแก่ทั่วๆ ไป ที่อยากใช้เวลาในชีวิตอยู่กับครอบครัว
เมื่อย้อนกลับไปดูบทสัมภาษณ์ เมื่อ พ.ศ.2565 ในหนังสือ Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 109 ทักษิณก็พูดให้ทำนองเดียวกันว่า
“ถ้ากลับไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่าง ได้กลับไปอยู่กับครอบครัวแล้ว มันก็จบทุกอย่าง ซึ่งวันนั้น วันที่ผมกลับไปอยู่กับครอบครัว ผมก็ต้องทำตัวให้แข็งแรงขึ้นเพื่อชดเชยเวลาที่หายไป”
เวลาที่หายไปที่ทักษิณพูดถึง คือช่วงเวลาที่ต้องลี้ภัยในต่างแดนกว่า 17 ปี คิดเป็น 23% หรือราว 1 ใน 5 ของช่วงเวลาชีวิตทั้งหมดที่ผ่านมา
หากดูจากช่วงอายุในวันที่ลี้ภัย เวลานั้นทักษิณอายุ 57 ปี เทียบกับคนทำงานทั่วไปที่เกษียณอายุตอน 60 ปี หมายความว่า เขาใช้เวลาในช่วงชีวิตเกษียณหมดไปกับการ “เป็นคนแดนไกล โดดเดี่ยวเดียวดายทุกวัน” (ข้อความจากเพลง จากคนแดนไกล ร้องโดย Tony Woodsome)
เปรียบกับละครเวที นี่อาจไม่ใช่อวสาน แต่เป็นการจบองก์ (Act) หนึ่ง เพื่อเริ่มต้นฉากชีวิตในองค์ใหม่หรือบทต่อไป ซึ่งน่าสนใจว่า ทักษิณจะเลือกแสดงบทอะไร...หลังจากนี้
แม้สุนทรภู่จะบอกว่า ใจมนุษย์ “มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด” แต่การสืบค้นกลับไปยังข้อความและคำให้สัมภาษณ์เก่าๆ ของทักษิณ อาจช่วยให้พอเห็นปรารถนาในใจของทักษิณในฉากชีวิตบทต่อไป
เลี้ยงหลาน
ทักษิณบอกความปรารถนานี้ชัดเจนผ่านทวีต ‘ขออนุญาตกลับบ้าน’ เมื่อต้นพฤษภาคม (9 พฤษภาคม)“...ผมตัดสินใจแล้วว่าจะกลับบ้านไปเลี้ยงหลาน...”
โดยในทวีตเดียวกัน ทักษิณสื่อสารว่า “ผมก็แก่แล้ว” และคงเหมือนคนแก่ทั่วๆ ไป ที่อยากใช้เวลาในชีวิตอยู่กับครอบครัว
เมื่อย้อนกลับไปดูบทสัมภาษณ์ เมื่อ พ.ศ.2565 ในหนังสือ Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 109 ทักษิณก็พูดให้ทำนองเดียวกันว่า
“ถ้ากลับไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่าง ได้กลับไปอยู่กับครอบครัวแล้ว มันก็จบทุกอย่าง ซึ่งวันนั้น วันที่ผมกลับไปอยู่กับครอบครัว ผมก็ต้องทำตัวให้แข็งแรงขึ้นเพื่อชดเชยเวลาที่หายไป”
เวลาที่หายไปที่ทักษิณพูดถึง คือช่วงเวลาที่ต้องลี้ภัยในต่างแดนกว่า 17 ปี คิดเป็น 23% หรือราว 1 ใน 5 ของช่วงเวลาชีวิตทั้งหมดที่ผ่านมา
หากดูจากช่วงอายุในวันที่ลี้ภัย เวลานั้นทักษิณอายุ 57 ปี เทียบกับคนทำงานทั่วไปที่เกษียณอายุตอน 60 ปี หมายความว่า เขาใช้เวลาในช่วงชีวิตเกษียณหมดไปกับการ “เป็นคนแดนไกล โดดเดี่ยวเดียวดายทุกวัน” (ข้อความจากเพลง จากคนแดนไกล ร้องโดย Tony Woodsome)

ความรู้สึกของทักษิณที่พูดผ่านการคำประกาศ “กลับบ้าน” ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา น่าจะบอกได้ว่า แม้จะมีทรัพย์สินระดับมหาเศรษฐี ซื้อความสะดวกสบายใดๆ มาปรนเปรอก็ได้ ก็ไม่อาจแทนค่าเป็นความสุขได้ทั้งหมด
ทักษิณบอกว่า สิ่งที่เขาได้เรียนรู้คือ “happiness is at home ความสุขอยู่ที่บ้าน” และ “rich and famous ไม่ใช่คำตอบ” (หนังสือ Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 31)
เรื่องนี้ ‘โอ๊ค’ พานทองแท้เคยพูดเช่นกัน ว่าพ่อไม่ได้เอนจอยการเมืองแล้ว พ่อเอนจอยการอยู่กับหลานกับลูก อยากใช้เวลาด้วยกันมากที่สุด เพราะถือเป็นบั้นปลายชีวิตเขาแล้ว ถ้าเขาเป็นครูได้ เป็นที่ปรึกษาได้ ไม่มีสิทธิ์เลยที่พ่อจะกลับมาเล่นการเมืองอีก (Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 130)
ทักษิณจะไม่ยุ่งกับการเมืองได้จริงไหม คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูบทสัมภาษณ์ในหนังสือ Conversations with Thaksin (เขียนและสัมภาษณ์โดย ทอม เพลต - Tom Plate) ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554 หรือ 12 ปีที่แล้ว ทักษิณพูดถึงบทบาทของเขา ถ้าได้กลับประเทศไว้อย่างลงรายละเอียดพอสมควร
ทอม: “แต่ถ้าคุณจะกลับไป จำเป็นไหมที่จะต้องกลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี คุณสามารถกลับไปเป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้กับนายกรัฐมนตรีแบบที่ ลี กวนยู ของสิงคโปร์ เคยเป็นอยู่หลายปีได้ไหม?”
ทักษิณ: “ผมไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรทั้งนั้น”
ทอม: “คุณจะกลับไปเป็นแบบโซเนีย คานธี มีอำนาจอยู่เบื้องหลังเก้าอี้ นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ไหม?”
ทักษิณ: “ผมไม่จำเป็นเลยที่จะเอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยกตัวอย่างหน่อยว่าถ้าพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระเมตตามากพอที่จะแต่งตั้งให้ผมเป็นที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผมก็สามารถที่จะทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีเงินมากขึ้น ดังนั้น ถ้าทางพระราชวังแต่งตั้งให้ผมได้รับตำแหน่งอะไรในวังก็ได้ มันก็จะทำให้ผมไปยุ่งกับการเมืองไม่ได้ ตำแหน่งในวังแบบนั้นจะมีผลบังคับให้ผมไม่อาจเล่นการเมืองได้”
ทอม: “ถ้าอย่างนั้นคุณก็อาจรับตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยพระราชสำนักใช่ไหม?”
ทักษิณ: “ใช่ครับ แต่ผมไม่อยากได้ตำแหน่งองคมนตรี ผมไม่ต้องการทะเยอทะยานถึงขนาดนั้น ผมต้องการเพียงพิสูจน์ว่าผมเป็นประโยชน์ต่อประเทศของผม และประชาชนของผม... เมื่อผมได้กลับไป...”
เทียบคำในวันนั้นเมื่อ 12 ปีก่อน กับคำของทักษิณเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2565) ดูเหมือนดีกรีความทะเยอทะยานในน้ำเสียงของเขาจะลดลงไปไม่น้อย
“ผมเองจะอย่างไรก็ไม่ได้กลับเข้าไปสู่การมีอำนาจอยู่แล้ว มันจบแล้ว แก่ขนาดนี้แล้ว แต่ในเมื่อมีประสบการณ์เรายิ่งเรียนรู้มากขึ้น ยิ่งมาเห็นมากขึ้น ก็ยิ่งห่วงใยประเทศไทยและคนไทยมากขึ้น” (Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 101)
แต่เนื้อหาใจความยังหมายถึง การได้แชร์ความรู้และประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ยังเหมือนเดิม
ส่วนจะมาในบทบาทใด ครู ที่ปรึกษา หรือตำแหน่งใด (และจะวางมือจากการเมืองได้หรือไม่) สิ่งที่ทักษิณทำหลังจากนี้เป็นต้นไป จะเป็นคำตอบ
ทักษิณบอกว่า สิ่งที่เขาได้เรียนรู้คือ “happiness is at home ความสุขอยู่ที่บ้าน” และ “rich and famous ไม่ใช่คำตอบ” (หนังสือ Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 31)
ครู-ที่ปรึกษา
‘ไม่ยุ่งกับการเมืองแล้ว’ คือแมสเสจที่ทักษิณมักพูดถึงเสมอ ถ้าหากเขาได้กลับเมืองไทย เพราะยังมีอีกหลายอย่างในชีวิตที่เขาอยากทำ และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองเรื่องนี้ ‘โอ๊ค’ พานทองแท้เคยพูดเช่นกัน ว่าพ่อไม่ได้เอนจอยการเมืองแล้ว พ่อเอนจอยการอยู่กับหลานกับลูก อยากใช้เวลาด้วยกันมากที่สุด เพราะถือเป็นบั้นปลายชีวิตเขาแล้ว ถ้าเขาเป็นครูได้ เป็นที่ปรึกษาได้ ไม่มีสิทธิ์เลยที่พ่อจะกลับมาเล่นการเมืองอีก (Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 130)
ทักษิณจะไม่ยุ่งกับการเมืองได้จริงไหม คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูบทสัมภาษณ์ในหนังสือ Conversations with Thaksin (เขียนและสัมภาษณ์โดย ทอม เพลต - Tom Plate) ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2554 หรือ 12 ปีที่แล้ว ทักษิณพูดถึงบทบาทของเขา ถ้าได้กลับประเทศไว้อย่างลงรายละเอียดพอสมควร
ทอม: “แต่ถ้าคุณจะกลับไป จำเป็นไหมที่จะต้องกลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี คุณสามารถกลับไปเป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้กับนายกรัฐมนตรีแบบที่ ลี กวนยู ของสิงคโปร์ เคยเป็นอยู่หลายปีได้ไหม?”
ทักษิณ: “ผมไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรทั้งนั้น”
ทอม: “คุณจะกลับไปเป็นแบบโซเนีย คานธี มีอำนาจอยู่เบื้องหลังเก้าอี้ นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ไหม?”
ทักษิณ: “ผมไม่จำเป็นเลยที่จะเอาตัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยกตัวอย่างหน่อยว่าถ้าพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระเมตตามากพอที่จะแต่งตั้งให้ผมเป็นที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผมก็สามารถที่จะทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีเงินมากขึ้น ดังนั้น ถ้าทางพระราชวังแต่งตั้งให้ผมได้รับตำแหน่งอะไรในวังก็ได้ มันก็จะทำให้ผมไปยุ่งกับการเมืองไม่ได้ ตำแหน่งในวังแบบนั้นจะมีผลบังคับให้ผมไม่อาจเล่นการเมืองได้”
ทอม: “ถ้าอย่างนั้นคุณก็อาจรับตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยพระราชสำนักใช่ไหม?”
ทักษิณ: “ใช่ครับ แต่ผมไม่อยากได้ตำแหน่งองคมนตรี ผมไม่ต้องการทะเยอทะยานถึงขนาดนั้น ผมต้องการเพียงพิสูจน์ว่าผมเป็นประโยชน์ต่อประเทศของผม และประชาชนของผม... เมื่อผมได้กลับไป...”
เทียบคำในวันนั้นเมื่อ 12 ปีก่อน กับคำของทักษิณเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2565) ดูเหมือนดีกรีความทะเยอทะยานในน้ำเสียงของเขาจะลดลงไปไม่น้อย
“ผมเองจะอย่างไรก็ไม่ได้กลับเข้าไปสู่การมีอำนาจอยู่แล้ว มันจบแล้ว แก่ขนาดนี้แล้ว แต่ในเมื่อมีประสบการณ์เรายิ่งเรียนรู้มากขึ้น ยิ่งมาเห็นมากขึ้น ก็ยิ่งห่วงใยประเทศไทยและคนไทยมากขึ้น” (Thaksin Shinawatra: Theory and Thought, หน้า 101)
แต่เนื้อหาใจความยังหมายถึง การได้แชร์ความรู้และประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ยังเหมือนเดิม
ส่วนจะมาในบทบาทใด ครู ที่ปรึกษา หรือตำแหน่งใด (และจะวางมือจากการเมืองได้หรือไม่) สิ่งที่ทักษิณทำหลังจากนี้เป็นต้นไป จะเป็นคำตอบ