ชื่อของพรรคการเมืองไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักเป็นชื่อที่ไม่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นชื่อที่ที่ใช้คำทั่วๆ ไป หรือ generic names เช่น คำว่า เพื่อ พลัง ไทย พัฒนา ชาติ ฯลฯ ซึ่งไม่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมือง ต่างจากพรรคการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ในสหรัฐและในยุโรป ที่ชื่อพรรคการเมืองสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น พรรคแรงงาน (อังกฤษ) พรรคสาธารณรัฐนิยม (รีพับลิกัน ในสหรัฐ) พรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)
แน่นอนว่า ชื่อที่สะท้อนแนวคิดทางการเมือง จะมีส่วนไม่น้อยให้ประชาชนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะเลือกพรรคนั้นๆ หรือไม่
นอกจากจากพรรคการเมืองในไทยจะใช้ชื่อด้วยคำสามัญที่ดูเป็น "สามานยนาม" (generic/common) ไม่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองแล้ว คำที่เลือกมาใช้ตั้งชื่อพรรคยังซ้ำซาก วนเวียนอยู่กับคำไม่กี่คำ ก่อให้เกิดปัญหาให้กับผู้เลือกตั้งถึง 2 ชั้น คือ 1. ไม่รู้ว่าพรรคนั้นมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบไหน และ 2. เกิดความสับสนเพราะแต่ละพรรคใช้คำสามานยนามเหมือนกันเข้าไปอีก
ชื่อพรรคการเมืองไทยทำไมต้องโหล?
เมื่อเราสำรวจข้อมูลชื่อพรรคการเมือง (1) เราพบว่าคำที่ถูกใช้มากที่สุดในชื่อพรรคการเมืองคือ
แต่นับวัน ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองในไทยยิ่งเหมือนกันเข้าไปอีกเช่นกัน เพราะถูกครอบงำด้วยนโยบาย “แจกเงิน” ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นแนวทางการเมืองแบบ “ประชานิยม” ซึ่งไม่ได้ช่วยสร้างประชาชนที่มีจิตสำนึกทางการเมืองที่ข้ามพ้นพรรคและตัวบุคคล และเน้นมุ่งที่อุดมการณ์ใจที่ตรงกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากกว่า
แน่นอนว่า ชื่อที่สะท้อนแนวคิดทางการเมือง จะมีส่วนไม่น้อยให้ประชาชนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะเลือกพรรคนั้นๆ หรือไม่
นอกจากจากพรรคการเมืองในไทยจะใช้ชื่อด้วยคำสามัญที่ดูเป็น "สามานยนาม" (generic/common) ไม่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองแล้ว คำที่เลือกมาใช้ตั้งชื่อพรรคยังซ้ำซาก วนเวียนอยู่กับคำไม่กี่คำ ก่อให้เกิดปัญหาให้กับผู้เลือกตั้งถึง 2 ชั้น คือ 1. ไม่รู้ว่าพรรคนั้นมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบไหน และ 2. เกิดความสับสนเพราะแต่ละพรรคใช้คำสามานยนามเหมือนกันเข้าไปอีก
ชื่อพรรคการเมืองไทยทำไมต้องโหล?
เมื่อเราสำรวจข้อมูลชื่อพรรคการเมือง (1) เราพบว่าคำที่ถูกใช้มากที่สุดในชื่อพรรคการเมืองคือ
- พรรคที่มีคำว่า “ประชา” 31 พรรค (2)
- พรรคที่มีคำว่า “ไทย” 25 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “ชาติ” 13 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “ธรรม” 12 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “สังคม” 12 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “พลัง” 11 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “ประชาธิปไตย” 10 พรรค (3)
- พรรคที่มีคำว่า “เสรี” 8 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “เพื่อ” 5 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “พัฒนา” 4 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “รวม” 4 พรรค
- พรรคที่มีคำว่า “ไท” 4 พรรค
- เฉพาะพรรคการเมืองที่เคยมีสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร
- รวมพรรคประชาธิปัตย์
- รวมพรรคที่ใช้คำว่าประชาธิปไตยและประชาธิปัตย์
แต่นับวัน ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองในไทยยิ่งเหมือนกันเข้าไปอีกเช่นกัน เพราะถูกครอบงำด้วยนโยบาย “แจกเงิน” ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นแนวทางการเมืองแบบ “ประชานิยม” ซึ่งไม่ได้ช่วยสร้างประชาชนที่มีจิตสำนึกทางการเมืองที่ข้ามพ้นพรรคและตัวบุคคล และเน้นมุ่งที่อุดมการณ์ใจที่ตรงกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมากกว่า