ฟังเสียงคนไทย แคนดิเดตนายกฯ ที่ถูกพูดถึงมากสุดช่วงสงกรานต์

17 เม.ย. 2566 - 07:37

  • ในช่วงนับถอยหลัง 1 เดือนก่อนที่การเลือกตั้งจะมีขึ้น เราจะสำรวจกระแสในโลกออนไลน์ด้วยการทำ Social Listening

  • ในยกแรกของการสำรวจ เราพบว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นบุคคลที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ

TAGCLOUD-why-prayut-was-mentioned-the-most-during-songkran-SPACEBAR-Thumbnail
พรรคไหนที่ชาวไทยเอ่ยถึงมากที่สุด และใครคือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงสัปดาห์?  Spacebar Datavoter 2023 จะช่วยบอกให้คุณรู้ได้  

Social Listening ของ Spacebar ไม่ใช่การทำโพล แต่เป็นการสำรวจการถูกพูดถึงของ Keywords ต่างๆ ในโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Youtube, Instagram, Forum และเว็บไซต์สำนักข่าวต่างๆ มีการอัพเดตข้อมูลทุกวัน (ข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นไปตามนโยบายด้านข้อมูลของบริษัท) 

เริ่มนับถอยหลัง 1 เดือนก่อนที่การเลือกตั้งจะเริ่มขึ้น เราพบว่าในช่วงสัปดาห์กลางเดือนเมษายนที่ทุกคนกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือชายที่ชื่อ ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/6cr1iNZcU4obhews3XBWw2/bc126d948931a5acbd4bea813b22c88e/TAGCLOUD-why-prayut-was-mentioned-the-most-during-songkran-SPACEBAR-Photo01
Photo: อัตราการถูกเอ่ยถึงของบรรดาแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองต่างๆ

เมื่อประยุทธ์แซงพิธา 

จากสถิติการทำ Social Listening ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน 2566 เราจะเห็นกราฟที่แสดงจำนวนการถูกเอ่ยถึง (Mentions) ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่างๆ เริ่มต้นจากการเป็นรอง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล  

แต่เมื่อถึงวันที่ 11 เมษายน พิธาถูกเอ่ยถึงน้อยลงอย่างมาก ตรงกันข้ามกับชื่อของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่พุ่งขึ้นมาเรื่อยๆ และถึงระดับสูงสุดในวันที่ 15 เมษายน ที่มีจำนวนถูกพูดถึงมากถึง 75,360 ครั้ง ขณะที่ พิธา ถูกเอ่ยถึง 22,010 ครั้ง ตามด้วย แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทยที่ถูกเอ่ยถึง 16,150 ครั้ง
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/2EZ8x5o7IyIRzIxWLNrXiu/1afdf65448925953ca3e71b8010e6220/TAGCLOUD-why-prayut-was-mentioned-the-most-during-songkran-SPACEBAR-Photo02
Photo: อัตราการถูกเอ่ยถึงในส่วนของพรรคการเมือง พรรคก้าวไกลถูกเอ่ยถึงมากที่สุด รวมไทยสร้างชาติถูกเอ่ยถึงในกลุ่มที่น้อยที่สุด

การชิงพื้นที่ช่วงสงกรานต์ 

เราต้องเข้าใจก่อนว่า พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนักการเมืองระดับแคนดิเดตนายกฯ ที่ออกหน้าและลงพื้นที่หนักมากในช่วงสงกรานต์ แต่เมื่อวัดกันที่ระดับพรรคการเมืองแล้ว พรรคของเขาไม่ได้อยู่ใน ‘แสง’ มากนัก อาจเป็นเพราะในแง่นโยบาย พรรคที่ทำให้เกิดวิวาทะมากที่สุด คือพรรคก้าวไกล ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทย 

วันที่ 12 เมษายน ชื่อของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นที่สนใจมากแบบที่ทิ้งห่างแคนดิเดตคนอื่นๆ เพราะวันนั้น พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบอวยพรวันสงกรานต์ โดยไม่ได้เอ่ยถึงประเด็นการเมือง แต่ก็ยังเป็นที่สนใจของคอการเมือง เพราะงานนี้ไร้เงาของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ 
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/5I0n1Ex0twgnKEOSrjdCue/9c9d7ffe6adf969ef07b0a65585df785/TAGCLOUD-why-prayut-was-mentioned-the-most-during-songkran-SPACEBAR-Photo03
Photo: เทียบอัตราการถูกเอ่ยถึงระหว่าง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (สีแดง) กับ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ (สีเขียว)

ลงทุนบุกถนนข้าวสาร 

ในเปิดทำเนียบ ผู้สื่อข่าวซักถามว่า พล.อ. ประยุทธ์ จะลงพื้นที่หรือไม่ แต่เจ้าตัวตอบว่า “ไปไหนก็วุ่นวาย โกลาหล อลหม่านกันไปหมด เดี๋ยวแอบๆไป แต่จะไปไหนไม่บอก” 

ปรากฎว่าในวันที่ 14 เมษายน พล.อ. ประยุทธ์ ทำเซอร์ไพรส์นำทีมพรรครวมไทยสร้างชาติ สวมชุดลายดอก ถือกระบอกปืนฉีดน้ำ ไปเล่นน้ำท่ามกลางฝูงชนที่ “อลหม่านกันไปหมด” ที่ถนนข้าวสาร แถมยังบอกว่าการบุกถนนข้าวสารครั้งนี้เป็นการเล่นน้ำสงกรานต์ในรอบ 50 ปีของเขา ด้วยสาเหตุเหล่านี้ จึงทำให้การเล่นน้ำที่ถนนข้าวสารข ง พล.อ. ประยุทธ์ กลายเป็น Newsmaker ในช่วงสงกรานต์ไปโดยปริยาย 

ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ 

วันที่ พล.อ. ประยุทธ์ ไปเล่นน้ำที่ถนนข้าวสารและ 1 วันหลังจากนั้นทำให้ตัวเขาถูกเอ่ยถึงอย่างล้นหลามในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่างๆ ตรงกันข้ามกับแคนดิเดตพรรคการเมืองต่างๆ ที่ค่อนข้างเก็บตัวในช่วงเวลาเดียวกัน  

หลังจากเล่นน้ำสงกรานต์ครั้งแรกในรอบ 50 ปี พล.อ. ประยุทธ์ ก็ยังไม่ยอมทิ้งโอกาสทองช่วงสงกรานต์ที่คู่แข่งเก็บตัว เดินทางหาเสียงต่อตามแหล่งชุมนุมใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ โดยวันที่ 16 เมษายน พล.อ. ประยุทธ์ ไปหาเสียงตลาดบองมาเช่และตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่เขาไปจตุจักรหรือเดินห้างแบบนี้ นับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในเมืองไทย 

เอ่ยมากถึงไม่ใช่นิยมมาก 

ด้วยการทำกิจกรรมแบบรัวๆ ช่วงสงกรานต์  พล.อ. ประยุทธ์ จึงครองพื้นที่สื่อและโซเชียลมีเดียมากกว่าคนอื่น มาถึงตอนนี้ คนที่สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ คงจะอดดีใจไม่ได้ ส่วนคนที่ไม่ได้สนับสนุนคงรู้สึกสงสัยว่าทำไมนักการเมืองในดวงใจของพวกเขาถึงได้ถูกทิ้งห่างจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงขนาดนั้น? 

เราต้องย้ำอีกครั้งว่า Social Listening ของ spacebar ไม่ใช่การทำโพลที่บอกความนิยมในตัวนักการเมือง แต่เป็นข้อมูลกลางๆ ที่มาจากการถูกเอ่ยถึงของคนๆ นั้น ซึ่งการถูกเอ่ยถึงมีทั้งการเอ่ยถึงด้านบวก (positive) ถูกพูดถึงกลางๆ ไม่ได้สะท้อนว่าชอบหรือไม่ชอบ (neutral) และการถูกพูดถึงในด้านลบ (negative)  

บทสรุปการวิเคราะห์ 

เรารู้แล้วว่าการถูกเอ่ยถึงไม่ได้สะท้อนถึงคะแนนนิยม แต่เราสามารถวัดได้ว่า พล.อ. ประยุทธ์ ถูกเอ่ยถึงในด้านไหนมากที่สุด ระหว่างด้านบวกหรือด้านลบ อย่างไรก็ตาม เราจะไม่นำข้อมูลนั้นมาเอ่ยถึง ณ ที่นี้ เพราะอาจจะเป็นการชี้นำผลการเลือกตั้งมากเกินไป สิ่งที่เราทำคือการวิเคราะห์ Social Listening โดยเผยให้เห็นถึงบริบทที่ทำให้แคนดิเดตนั้นๆ หรือพรรคนั้นๆ ถูกเอ่ยถึงมากว่าคนอื่น  

คำถามก็คือ การถูกเอ่ยถึงมากๆ ไม่ว่าจะด้านลบหรือด้านบวก จะมีผลต่อคะแนนนิยมหรือไม่? คำตอบของคำถามนี้จะชัดมากขึ้นหลังการเลือกตั้งได้ผ่านไปแล้ว และเราได้วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอีกครั้ง เพราะในสถานการณ์ที่ความสนใจการเมืองของบ้านเราสุดโต่งไปขั้วใดขั้วหนึ่ง เราจึงเห็นความเห็นด้านบวกและด้านลบไปออกกันอยู่ตามโซเชียลมีเดียที่แสดงจุดยืนทางการเมืองชัดเจน การวิเคราะห์ความนิยมจึงอาจให้ผลที่ลำเอียงได้ง่าย

แต่อย่างน้อยเราพอจะเข้าใจว่าในช่วงเวลาแห่งการหาเสียงแบบนี้ ใครๆ ต่างก็ต้องการ ‘แสง’ ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะยิ่งแสง (political spotlight) มากเท่าไร โอกาสที่จะกอบโกยการรับรู้ของประชาชนต่อตัวบุคคลและพรรคการเมืองก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์