Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo00.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo01.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo02.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo03.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo04.jpg

Photo Story: ดอกไม้เหล็ก! นักบินหญิง F-35A ‘น.ต.หญิง คลูสเนอร์’

9 มี.ค. 2568 - 05:22

  • รวมภาพ น.ต.หญิง เมลานี คลูสเนอร์ หัวหน้าสาธิต F-35A Lightning II กองบินขับไล่ที่ 388 ฐานทัพอากาศฐานทัพอากาศฮิลล์ มลรัฐยูทาห์ ทำการบิน เอฟ-35เอ งานแอร์โชว์ 88 ปี กองทักอากาศ ที่ กองบิน 6 ดอนเมือง

Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo00.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo01.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo02.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo03.jpg
Airshow-US-Air-Force-F35A-SPACEBAR-Photo04.jpg

กองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในวันครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ บริเวณฝูงบิน 601 กองบิน 6 ดอนเมือง หนึ่งในไฮไลต์สำคัญคือ การบินเอฟ-35เอ เดโม (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ ‘นักบินหญิง’ ทำการบินในครั้งนี้ ชื่อว่า นาวาอากาศตรีหญิง เมลานี คลูสเนอร์ (Melanie Kluesner) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสาธิต F-35A Lightning II กองบินขับไล่ที่ 388 ฐานทัพอากาศฐานทัพอากาศฮิลล์ มลรัฐยูทาห์

นาวาอากาศตรีหญิง คลูสเนอร์ มีชั่วโมงบินสะสม 1,100 ชั่วโมง ในเครื่องบินหลายแบบ เช่น ที-6 ,ที38ซี ,เอฟ-16ซี ,เอฟ-35บี และเอฟ-35เอ และเป็นนักบินหญิงคนแรกของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ทำการบิน เอฟ-35บี ขึ้นลงทางดิ่ง

ซึ่งขณะทำการบิน F-35A ได้ทำ Vapor Cone หรือละอองอากาศรอบเครื่องบิน ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศรอบเครื่องบิน หลังเครื่องบินเคลื่อนที่ใกล้ความเร็วเสียง หรือ 1,235 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับน้ำทะเล แต่จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความกดอากาศของแต่ละชั้นบรรยากาศ

ซึ่งทางกองทัพอากาศไทย ชี้แจงว่าไม่ใช่ ‘โซนิคบูม’ (Sonic Boom) หากเครื่องบินทะลุผ่านกำแพงเสียง (Mach 1+) จะเกิด คลื่นกระแทก (Shockwave) ซึ่งอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนและเสียงดังมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้หน้าต่างอาคารหรือกระจกแตกร้าว (หากอยู่ใกล้พื้นดิน) รบกวนประชาชนหรือสัตว์ป่า กระทบต่อโครงสร้างเครื่องบิน หากออกแบบมาไม่เหมาะสม

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์