สรรหา ‘จุฬาราชมนตรี’ คนที่ 19 (EP.3) โค้งสุดท้าย 3 สายมุสลิมเปอร์เซีย-มลายู-ปาทาน ชู ‘อรุณ บุญชม’ จุฬาราชมนตรี

21 พฤศจิกายน 2566 - 07:23

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
  • อ่านเกมก่อนเลือกตั้งจุฬาราชมนตรี คนที่ 19

  • ทำไม ‘อรุณ บุญชม’ ถึงเป็นตัวเต็ง

  • การเลือกจุฬาราชมนตรี กำลังถูกการเมืองและคนนอกแทรกแซง?

สถานการณ์ล่าสุด โค้งสุดท้ายก่อนการสรรหาจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 ในวันพรุ่งนี้ (22 พฤศจิกายน) ดูเหมือนภาพจะชัดแล้วว่า จาก 3 แคนดิเดต คือ อรุณ บุญชม, ประสาน ศรีเจริญ และดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ

ใครจะเป็นผู้ได้รับคะแนนสนับสนุนจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศมากที่สุด

เมื่อเทียบจากฐานคะแนนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 40 จังหวัด ที่ล่าสุดมีผู้มีสิทธิลงคะแนน 772 คนจาก 786 คน

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: อรุณ บุญชม ตัวเต็งแคนดิเดตที่คาดว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นจุฬาราชมนตรี คนที่ 19

สายใต้มีผู้มีสิทธิลงคะแนน 374 เสียง พื้นที่สำคัญของฐานคะแนน คือ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผู้มีสิทธิลงคะแนนถึง 15 เสียง จากจังหวัดยะลา 30 เสียง, ปัตตานี 30 เสียง, นราธิวาส 30 เสียง, สงขลา 30 เสียง และสตูล 30 เสียงนั้น เดิมคาดว่า ดร.วิสุทธิ์ น่าจะครองฐานคะแนนในพื้นที่นี้

แต่ล่าสุดกลับถูกนายอรุณลงไปแบ่งคะแนนมาจากพื้นปัตตานี, สงขลา และสตูล โดยการสนับสนุนของ บาบอแม (แวดือราแม มะมิงจิ) ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ และทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: บาบอแม (แวดือราแม มะมิงจิ) ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

นั่นหมายถึง 30 คะแนนในจังหวัดปัตตานี และบางส่วนในจังหวัดยะลา ที่พร้อมเทให้กับนายอรุณ

ส่วนจังหวัดนราธิวาส ยังไม่ชัดเจนว่า ซาฟาอี เจ๊ะเล๊าะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสจะสนับสนุนใคร

นายอรุณยังได้รับการสนับสนุนจาก พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ สส.สงขลา เขต 8 และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอีกด้วย

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่

ซึ่งนั่นนอกจาก 30 เสียงในจังหวัดสงขลาแล้ว พลตำรวจตรีสุรินทร์ ซึ่งเป็นมุสลิมเชื้อสายปาทาน และได้รับการยอมรับจากชาวไทยมุสลิมในอีกหลายพื้นที่ของภาคใต้ ก็ยังสามารถระดมเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมการอิสลามอีกหลายจังหวัด เพื่อสนับสนุนนายอรุณเช่นกัน

ซี่งทำให้ ดร.วิสุทธิ์ ที่เดิมคาดว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากคณะกรรมการอิสลามใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มแผ่วลงไป เพราะถูกนายอรุณแบ่งฐานคะแนนออกไป

374 คะแนนในภาคใต้ นายอรุณน่าจะสามารถแบ่งมาจาก ดร.วิสุทธิ์ ได้เป็นในระดับหนึ่ง

ส่วน 30 คะแนนจากคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครนั้น น่าจะเป็นของนายอรุณแทบทั้งหมด ในฐานะประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร

ส่วน 261 คะแนนในภาคกลางและภาคตะวันออกนั้น แม้จะมี ประสาน ศรีเจริญ มาร่วมแชร์คะแนนบ้าง แต่ล่าสุดนายอรุณที่ได้รับการสนับสนุนจากมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียที่นำโดย อารีย์ วงศ์อารยะ และเชื้อสายปาทานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ซึ่งเป็นสองในสามมุสลิมเชื้อสายสำคัญในประเทศไทย ทำให้นายอรุณครองความได้เปรียบจากฐานคะแนนในภาคกลางและภาคตะวันออกเช่นกัน

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: หนังสือที่เขียนถึง อารีย์ วงศ์อารยะ คนไทยมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซีย ที่ปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน อรุณ บุญชม
อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: ชาดา ไทยเศรษฐ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

นอกจากนั้นในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดกับ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีท่านก่อน นายอรุณซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งในตำแหน่งรองประธานกรรมการกลางอิสลามอิสลามแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวแทนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอีกด้วย 

เมื่อผนวกกับแรงสนับสนุนทั้งจาก อารีย์ วงศ์อารยะ, ชาดา ไทยเศรษฐ์ พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ และบาบอแม (แวดือราแม มะมิงจิ) ทำให้ล่าสุดนายอรุณ น่าจะมีคะแนนสนับสนุนจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเหนือกว่าแคนดิเดตอีก 2 คน แบบ 'ทิ้งขาด' ไปแล้ว

นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำไม ประสาน ศรีเจริญ หนึ่งในแคนดิเดต ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาจุฬาราชมนตรีในวันที่ 22 พฤศจิกายน ถึงออกมาตั้งข้อสังเกตถึงกำหนดการสรรหาจุฬาราชมนตรีว่า ทำไมต้องเป็นวันที่ 22 พฤศจิกายน ทั้งที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 40 จังหวัดทั่วประเทศ กำลังหมดวาระลงในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566

การที่กระทรวงมหาดไทยออกมากำหนดวันสรรหาจุฬาราชมนตรี ก่อนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศจะหมดวาระลงเพียง 4 วัน จึงถูกมองว่า เพื่อให้ฐานคะแนนเดิมของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชุดเดิมยังคงอยู่ ทั้งที่ควรรอให้มีการเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศชุดใหม่ก่อน แล้วถึงให้คณะกรรมการชุดใหม่มาเป็นผู้สรรหาจุฬาราชมนตรี

“จุฬาราชมนตรีท่านใหม่ ต้องทำงานกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชุดใหม่ ไม่ได้ทำงานกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชุดปัจจุบัน แต่เมื่อกระทรวงมหาดไทยกำหนดวันออกมาแล้วทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ”

ปัจจัยทั้งกำหนดวันสรรหาจุฬาราชมนตรี ทั้งท่าทีของบุคคลสำคัญทั้งนายอารีย์ นายชาดา พล.ต.ต.สุรินทร์ และบาบอแม รวมถึงตัวแทนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอีกหลายจังหวัด ที่ล้วนเอื้อต่อ อรุณ บุญชม

ถึงวันนี้ ต้องแปะไว้ข้างฝาแล้วว่า ชื่อของ “นายอรุณ” น่าจะเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนสนับสนุนมากที่สุดแล้ว

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, บาบอแม แวดือราแม มะมิงจิ, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, อารีย์ วงศ์อารยะ, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
Photo: หนังสือนิติศาสตร์อิสลาม โดย อรุณ บุญชม

ซึ่งก็ไม่แปลกที่ทำไม รอมฎอน ปันจอร์ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มานาน ถึงออกมาโพสต์เชิญชวนขอความเห็นเรื่องกติกาการสรรหาจุฬาราชมนตรีว่า ควรใช้กติกาใดในการสรรหาจุฬาราชมนตรี นอกเหนือจากกติกาที่กำหนดใน พ.ร.บ.อิสลามฉบับนี้

เพราะหลายข้อกำหนดถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเปิดช่องให้มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ง่าย ทั้งที่ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศควรปลอดจากการเมือง และการแทรกแซงจากภายนอก

โดยเฉพาะเลขาธิการกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ที่มีนักการเมืองเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วถึง 2 คน ทั้ง พิเชษฐ์ สถิรชวาล จากพรรคเพื่อไทย และปัจจุบัน พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ จากพรรคประชาธิปัตย์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์