สรรหา ‘จุฬาราชมนตรี’ คนที่ 19 (EP.4) ‘อรุณ บุญชม’ เส้นทางชัยชนะและภารกิจหนักหน่วง สรรหา-เลือกตั้งกรรมการอิสลามทั่วประเทศ

23 พ.ย. 2566 - 10:30

  • อรุณ บุญชม ได้รับเสียงสนับสนุนเป็นจุฬาราชมนตรี คนที่ 19

  • 57.95% คือสัดส่วนเสียงที่สนับสนุน อรุณ บุญชม

  • 26 พ.ย.นี้ เลือกตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชุดใหม่ 40 คน

  • จุฬาราชมนตรี-คณะกรรมการชุดต่อไป จะกำหนดการเมือง-ความมั่นคงของพี่น้องมุสลิมและภาคใต้ในอนาคต

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

ผลการสรรหาจุฬาราชมนตรีจากที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวานนี้ (22 พฤศจิกายน) เป็นไปตามคาดหมาย

เมื่อ อรุณ บุญชม ประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 เป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 471 เสียง

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้
Photo: อรุณ บุญชม

ขณะที่อันดับ 2 ประสาน ศรีเจริญ ได้รับคะแนนจากที่ประชุม 129 คะแนน

อันดับ 3 ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ 115 คะแนน

บัตรเสีย 7 ใบ

บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1 ใบ

รวมผู้ร่วมประชุมและร่วมลงคะแนนสรรหาจุฬาราชมนตรี 723 คน จากจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 40 จังหวัดทั่วประเทศ ที่มีสิทธิลงคะแนน 772 คน

ผลการลงคะแนนซึ่งนายอรุณได้รับเสียงสนับสนุนถึง 419 เสียง หรือคิดเป็น ร้อยละ 57.95 จากผู้เข้าประชุมทั้งหมด

หรือคิดเป็นร้อยละ 54.27 จากจำนวนกรรมการอิสลามทั่วประเทศ

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

นับเป็นมติเอกฉันท์ และไม่เกินความคาดหมาย เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้นำศาสนาในหลายพื้นที่ และผู้ที่มีบทบาทต่อกลุ่มคนไทยมุสลิมเชื้อสายสำคัญ ทั้งเปอร์เซีย มลายู และปาทาน ต่างก็เห็นตรงที่จะสนับสนุนนายอรุณให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนี้

419 เสียงของนายอรุณ แน่นอนว่าสามารถดึงผู้สนับสนุนทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุม และเป็นคะแนนผกผันที่ทำให้ ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ คนหนุ่มที่เป็นความหวังของคนรุ่นใหม่ในภาคใต้ได้รับเสียงสนับสนุนตกไปเป็นอันดับ 3 โดยได้เพียง 115 คะแนน ต่ำกว่านายประสาน ศรีเจริญ อันดับ 2 ที่ได้รับเสียงสนับสนุน 129 เสียงถึง 15 คะแนน 

นอกจากผลการลงคะแนนสรรหาจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 ที่ปรากฏชัดถึงบทบาทของกลุ่มผู้สนับสนุนอรุณ บุญชม ที่ครอบคลุมมุสลิมเชื้อสายหลักทั้ง 3 เชื้อสาย และครอบคลุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดส่วนใหญ่ของประเทศ

ภาพการประชุมที่ปรากฏ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งได้รับมอบหมายจาก อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มาทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม

ภาพของ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จากพรรคประชาธิปัตย์ที่ร่วมปรากฏบนเวที ที่ประคบเคียงข้าง อรุณ บุญชม ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนที่ 19 ยังเป็นภาพที่ส่งนัยยะสำคัญเช่นกัน

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้
Photo: (จากซ้ายไปขวา) พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่, อรุณ บุญชม, ชาดา ไทยเศรษฐ์

นัยยะหนึ่ง ทั้งสองคนต่างก็เป็น มุสลิมเชื้อสายปาทาน ทั้งคู่

อีกนัยยะหนึ่ง ทั้งคู่ต่างก็เป็นนักการเมือง คนหนึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกคนหนึ่งก็ดำรงตำแหน่ง สส.

แม้คนหนึ่งจะมาในฐานะตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่กฏหมายระบุว่าจะต้องเป็นประธานในประชุม 

ส่วนอีกคนหนึ่งมาในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

แต่ด้วยสถานะการเป็นนักการเมือง สถานะที่มีบทบาทสำคัญในแต่ละพรรค ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีผลต่อการถูกตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองจะเข้ามาแทรกในการบริหารกิจการอิสลามหรือไม่

โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยมีคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามหลายล้านคน และพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างหนักหน่วง

ก่อนหน้านี้ พิเชษฐ์ สถิรชวาล จากพรรคเพื่อไทย ครั้งที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ก็ถูกตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อหวังขยายฐานทางการเมืองให้กับพรรคเพื่อไทยในภาคใต้

เด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีและ สส.จังหวัดปัตตานีหลายสมัย ที่เคยสังกัดทั้งพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทยในสมัยนั้น ก็เคยดำรงตำแหน่งนี้มาแล้วเช่นกัน

บทบาทของ ชาดา ไทยเศรษฐ์ และพล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ นับจากนี้จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือต้องจับตาว่าเมื่อ อรุณ บุญชม ได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 19 แล้ว จะสร้างสมดุลระหว่างการเมืองและกิจการศาสนาอย่างไร

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

โดยเฉพาะการจัดวางตำแหน่งให้สำนักจุฬาราชมนตรี ที่มีบทบาทต่อการบริหารกิจการอิสลามที่สำคัญทั้งหมด และการจัดวางตำแหน่งกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในโควตาของจุฬาราชมนตรีที่มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทั้งหมด

คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่คัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรี ในช่วงจุฬาราชมนตรี อาศิส พิทักษ์คุมพล มีทั้งหมด 12 คน จากจำนวนคณะกรรมการ 50 คน โดยครั้งนั้นมีตัวแทนจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพียง 36 คน เพราะยังมีคณะกรรมการอิสลามประจังหวัดเพียง 36 จังหวัด

ปัจจุบันมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 40 จังหวัด ก็จะมีตัวแทนจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพิ่มเป็น 40 คน สัดส่วนของกรรมการกลางที่มาจากการคัดเลือกจุฬาราชมนตรีก็จะเพิ่มเป็น 13 คน รวมเลขาธิการอีก 1 คนที่คัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรี ก็จะมีกรรมการในสัดส่วนจุฬาราชมนตรี 14 คน

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่คัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรียุค อาศิส พิทักษ์คุมพล คือ

  • อรุณ บุญชม
  • ประสาน ศรีเจริญ
  • รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน
  • บาบอแม (แวดือราแม มะมิงจิ) ประธานคณะกรรมการอิสลามประจังหวัดปัตตานี
  • อนุมัติ อาหมัด อดีตสมาชิกวุฒิสภาที่ต่อมา ลาออกเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเป็นแม่ทัพคุมการเลือกตั้งภาคใต้ให้กับพรรค
  • ซากีย์ พิทักษ์คุมพล บุตรชายของอาศิส พิทักษ์คุมพล
  • รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี
  • ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ
  • ประสิทธิ์ มะหะหมัด
  • เอกพจน์ วงศ์อารยะ บุตรชายของอารีย์ วงศ์อารยะ
  • มาโนช พันธ์ฉลาด
  • พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ได้รับการคัดเลือกจากจุฬาราชมนตรีให้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย รวม 13 คน

ในยุคของว่าที่จุฬาราชมนตรี อรุณ บุญชม จึงต้องติดตามใกล้ชิดว่า 14 กรรมการกลางในสัดส่วนของจุฬาราชมนตรีจะมีใครบ้าง และแต่ท่านจะมีบทบาทอย่างไร และใครจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลาง ยังจะเป็น พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ อีกหรือไม่

นอกจากประเด็นทางการเมือง และประเด็นการคัดเลือกกรรมการกลางอิสลามในสัดส่วนจุฬาราชมนตรีแล้ว ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนใหม่ ยังต้องเตรียมรับมือกับการเลือกตั้งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศอีกด้วย

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

เนื่องเพราะคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (กอจ.) ทั้ง 40 จังหวัดจะครบวาระในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ และแต่ละจังหวัดจะต้องจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชุดใหม่โดยเร็ว

เพราะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัด จะต้องคัดเลือกตัวแทนจังหวัดละ 1 คน ให้สำนักจุฬาราชมนตรีเสนอพร้อมรายชื่อกรรมการกลางในสัดส่วนจุฬาราชมนตรี ทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทยชุดใหม่

อรุณ บุญชม, จุฬาราชมนตรี, จุฬาราชมนตรี คนที่ 19, เปอร์เซีย, มลายู, ปาทาน, มุสลิม, ชาดา ไทยเศรษฐ์, พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด, เลือกตั้ง, อิสลาม, ไฟใต้

การเลือกตั้ง กอจ.ทั้ง 40 จังหวัดรอบนี้ จึงน่าจะมีการแข่งขันกันหนักในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญต่อทั้งกิจการอิสลาม และบทบาททางการเมืองและด้านความมั่นคงในพื้นที่ ที่วันนี้ไฟใต้ยังคงคุโชน

ทั้งหมดคือ ภารกิจแสนหนักหน่วงของ ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนที่ 19 บนเส้นทางชัยชนะในรอบนี้

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์