Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo00.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo01.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo02.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo03.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo04.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo05.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo06.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo07.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo08.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo09.jpg

Photo Story : ยื่น UN กระทุ้งรัฐบาล หนุนกฎหมายนิรโทษกรรม ปชช.

22 ม.ค. 2567 - 06:56

  • อ่านเหตุผล ‘เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน’ ยื่นหนังสือต่อ ‘สหประชาชาติ’ กระทุ้งรัฐบาล ‘หนุนกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน’ และพิจารณาทบทวน ‘แก้ไข ม.112’

Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo00.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo01.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo02.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo03.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo04.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo05.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo06.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo07.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo08.jpg
Thaksin –and-the-survival-of-the-government-SPACEBAR-Photo09.jpg

“แม้รัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่สถานการณ์ทางการเมืองไม่ดีขึ้น เพราะยังมีผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดยังมีการลงโทษจำคุกด้วยการใช้อำนาจของมาตรา 112 อยู่ ทั้งที่การดำเนินการทางการเมือง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพชุมนุมอย่างสงบ ไม่ควรถูกดำเนินคดีตั้งแต่แรกแล้ว”

เครือข่ายเรียกร้องอะไรบ้าง?

สำหรับประเด็นเรียกร้องของ ‘เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน’ จากการรวมตัวของ กลุ่มวิชาการ - กฎหมาย องค์กรภาคประชาสังคม และนักกิจกรรมทางสังคมกว่า 23 องค์กร

ในการยื่นหนังสือถึง ‘องค์การสหประชาชาติ’ (UN) แสดงความต้องการให้รัฐบาลไทย สนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนวันนี้ (22 มกราคม 2567)

ดำเนินการเพื่อให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจต่อการสร้างความปรองดองทางการเมืองและความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน

ด้วยการผ่านการสนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมไปถึงมาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์) แห่งประมวลกฎหมายอาญา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยรณรงค์หาเสียง เพื่อเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ก่อนการเลือกตั้งในเดือนตุลาคมปีนี้

พร้อมกันนี้ ได้ขอสนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสันติตามข้อ 19 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และให้รัฐบาลไทยทบทวนและแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

ท้ายที่สุด คือการสนับสนุนให้มีการผ่าน ‘ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน’ ให้เสร็จสิ้นในปีนี้ด้วย

สำหรับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566

เทียบร่าง กม.นิรโทษกรรม ‘ก้าวไกล-ฉบับประชาชน’

โดยหากเทียบเนื้อหากับ ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่นำเสนอโดย ‘พรรคก้าวไกล’ มีรายละเอียดที่แตกต่างกันอยู่หลายประการ อาทิ การนับวันเริ่มนิรโทษกรรม

โดยฉบับของพรรคก้าวไกล ให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ในการขับไล่รัฐบาลทักษิณ (11 กุมภาพันธ์ 2549)

ขณะที่ฉบับประชาชน ยึดวันที่ คมช. เข้ายึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ (19 กันยายน 2566)

ส่วนที่เหมือนกันของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 2 ฉบับ คือ เนื้อหาที่ระบุถึงกรณีที่จะไม่ได้รับการนิรโทษ

  1. เจ้าหน้าที่ทำการสลายการชุมนุมเกินกว่าเหตุ

  2. กรณีการล้มล้างการปกครอง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.113

ท่าที ‘เพื่อไทย’ ยังร่างไม่เสร็จ

ขณะที่ฝากฝั่งรัฐบาล ที่นำโดย ‘พรรคเพื่อไทย’ ตามรายงาน ‘อยู่ในระหว่างการร่าง’ และมีทีท่าไม่เห็นด้วยกับเว้นโทษให้ ‘ผู้ต้องหาคดี ม .112’ เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ไม่เห็นด้วยกับการเกี่ยวพันกับ กฎหมายคดีหมิ่นสถาบัน ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพของ ‘รัฐบาลผสม’

พร้อมกันนี้ยังมีการจับท่าทีผ่านการให้สัมภาษณ์ของ ‘สุทิน คลังแสง’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เคยพูดส่อความนัยทางการเมือง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2566 เรื่องส่วนได้ส่วนเสียที่พรรคอาจตกอยู่ในสภาวะ ‘เหยื่อการเมือง’ ดังนั้นขั้นตอนการพิจารณาจึงต้องเป็นไปอย่างถี่ถ้วน

กระนั้นหากยึดคำให้สัมภาษณ์ของ ‘สรวงศ์ เทียนทอง’ สส.สระแก้ว ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ว่าอาจมีการเสนอส่วนที่สอดคล้องควบคู่ไปกับพรรคก้าวไกล แต่ต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบจากวงประชุมเล็ก โดยขั้นแรกเสนอตั้งเป็นตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญขึ้นมาเพื่อพูดคุยเรื่องดังกล่าวให้ตกผลึกอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน

‘ไทย’ มี ‘นิรโทษกรรม’ มาแล้วกี่ครั้ง?

ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรม มาแล้ว 23 ฉบับ โดย ‘โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน’ รวบรวมข้อมูลไว้ว่า มีการเว้นโทษให้คณะรัฐประหารไปแล้วถึง 11 ครั้ง

เว้นโทษคดีกลุ่มกบฎ 6 ครั้ง

เว้นโทษที่เกี่ยวพันกับการสลายและชุมนุมใหญ่ 3 ครั้ง

เว้นโทษผู้ต่อต้านญี่ปุ่น (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) 1 ครั้ง

เว้นโทษผู้ฟ้องคณะรัฐประหารอีก 1 ครั้ง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์