พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดหลังประชุมติดตามความคืบหน้าคดีตึก สตง. ถล่มว่า ประเด็นหลักที่ดีเอสไอตรวจสอบ คือความผิดฐานนอมินี และการเสนอราคาต่อรัฐด้วยการฮั้ว พร้อมกับอธิบายถึงความเชื่อมโยงและข้อพิรุธต่างๆ เกี่ยวกับบริษัทที่รับเหมาก่อสร้างอาคารดังกล่าวว่า
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ประเทศไทย (CHINA RAILWAY NUMBER 10 (THAILAND) COMPANY LIMITED) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับเหมาก่อสร้างตึก สตง. ที่ถล่มลงมา พบว่า มีคนไทยถือหุ้นในบริษัทนี้ จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย
- นายโสภณ มีชัย ถือหุ้น 40.7% (407,997 หุ้น)
- นายประจวบ ศิริเขตร ถือหุ้น 10.2% (102,000 หุ้น)
- นายมานัส ศรีอนันท์ ถือหุ้น 0.0003% (3 หุ้น)
โดยเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปตรวจสอบที่บ้านพักของ นายประจวบ ศิริเขตร ที่ จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ไม่เจอตัว พบเพียงภรรยาของนายประจวบ เธอบอกว่าสามี ทำงานรับจ้างก่อสร้าง ได้เงินน้อยมาก ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าฐานะของนายประจวบ ไม่สอดคล้องกับการเป็นผู้หุ้นในบริษัทใหญ่ที่รับงานภาครัฐหลายพันล้าน รวมถึงไม่สอดคล้องกับการที่นายประจวบเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในนิติบุคคลอีก 10 แห่ง จึง เข้าข่ายเป็นนอมินี หรือการถือหุ้นอำพราง โดยตอนนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการติดตามตัวนายประจวบ และผู้ถือหุ้นรายอื่นมาให้ข้อมูล

ขณะที่ น.ส.กนกไรวินท์ บุรินทร์นันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรกของการก่อตั้ง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ เป็นนิติบุคคล มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย นายโสภณ มีชัย นายมานัส ศรีอนันท์ และนายประจวบ ศิริเขตร โดยวันแรก นายมานัส ศรีอนันท์ ถือหุ้น 306,000 หุ้น จากนั้นได้ทยอยโอนให้ นายโสภณ มีชัย จนเหลือแค่ 3 หุ้น ทำให้ท้ายที่สุดนายโสภณ มี 407,997 หุ้น โดยตอนนี้ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าการโอนหุ้นเป็นไปตามปกติหรือไม่
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังพบว่า ผู้ถือหุ้นชาวไทยทั้ง 3 ราย ไม่เคยประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างมาก่อน ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบว่าเหตุใด บุคคลทั้งสาม ถึงเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทขนาดใหญ่ และรับงานจากภาครัฐได้ เพราะจากการตรวจสอบพบว่า บริษัทที่บุคคลทั้งสามถือหุ้นรับงานภาครัฐจากทั่วประเทศ ทั้งหมด 29 โครงการ เป็นเงิน 22,000 ล้านบาท

ด้าน ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ อ้างตัวว่าเป็นบริษัทคนไทย แต่กลับไม่มีประสบการณ์เข้าร่วมประมูลแข่งกับบริษัทไทยเลย จึงต้องตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย รวมถึง ตรวจสอบเรื่องกิจการร่วมค้ากับนิติบุคคลของไทย 11 บริษัท โดยเฉพาะงานรับเหมาก่อสร้างตึก สตง. ที่บริษัท อิตาเลียนไทย ร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ เป็นกิจการร่วมค้าในการประมูลอาคารดังกล่าว โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ในการตรวจสอบว่าการรับงานโครงรัฐต่างๆ เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ หรือมีการอำพรางข้อมูลใดบ้าง
จากข้อมูลของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังพบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นในนิติบุคคลอื่น อีก 8 บริษัท แต่ที่น่าสังเกตคือทั้ง 8 บริษัทมีที่ตั้งเดียวกัน
- บจก. ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป
- บจก. วิล มาร์ท (ประเทศไทย)
- บจก. สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้
- บจก. เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย)
- บจก. เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล
- บจก. สแตร์ ลาเบล อินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย)
- บจก. โมเยนเน่ (ประเทศไทย)
- บจก. สยาม ไบโอเมดิคอล
ส่วนรายชื่อกิจการร่วมค้า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ ที่เข้าร่วมทำโครงการก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ มี 11 บริษัท รวม 29 โครงการ มูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท (22,773,856,494.83)
- กิจการร่วมค้า AKC
- กิจการร่วมค้า RCH
- กิจการร่วมค้า ซีไอเอส
- กิจการร่วมค้า ดับบลิว จี ซี 10 คอนสตรัคชั่น
- กิจการร่วมค้า ดีวายซีอาร์ คอนสตรัคชั่น
- กิจการร่วมค้า ทีพีซี
- กิจการร่วมค้า อาร์เอลจี
- กิจการร่วมค้า เอ จี ซี 10 คอนสตรัคชั่น
- กิจการร่วมค้า เอ ซี คอนสตรัคชั่น
- กิจการร่วมค้า ไอทีดี ซีอาร์อีซี
- กิจการร่วมค้า เอ็นซีอาร์อีซี
ขณะที่ 3 คนไทยที่ถือหุ้นใน บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ประเทศไทย พบว่ามีการถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ อีกหลายบริษัท และ ที่น่าสนใจคือส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ถือหุ้นร่วมกับชาวจีน
นายโสภณ มีชัย ถือหุ้นนิติบุคคล อีก 4 บริษัท
- บจก. ไฮห่าน ถือหุ้น 51%
- บจก. ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป ถือหุ้น 25.5%
- บจก. สยามไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ถือหุ้น 10%
- บจก. ไซเบอร์ เทเลคอม ถือหุ้น 10%
นายประจวบ ศิริเขตร ถือหุ้นนิติบุคคล อีก 7 บริษัท
- บจก. วีล มาร์ท (ประเทศไทย) ถือหุ้น 9.08%
- บจก. สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้น 12%
- บจก. เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย) ถือหุ้น 37.48%
- บจก. เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ถือหุ้น 27.9%
- บจก. สแตร์ ลาเบล อินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) ถือหุ้น 20%
- บจก. สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต ถือหุ้น 7.71%
- บจก. โชคนิมิตร บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ถือหุ้น 30%
นายมานัส ศรีอนันท์ ถือหุ้นหุ้นนิติบุคคล อีก 10 บริษัท
- บจก. ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป ถือหุ้น 25.5%
- บจก. วีล มาร์ท (ประเทศไทย) ถือหุ้น 45.03%
- * บจก. สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้น 12%
- * บจก. เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต (ประเทศไทย) ถือหุ้น 62.48%
- * บจก. เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ถือหุ้น 52.1%
- บจก. สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ถือหุ้น 31%
- บจก. เลนเยส อี-พาวเวอร์ ถือหุ้น 51%
- บจก. สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต ถือหุ้น 48%
- บจก. สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ ถือหุ้น 70%
- บจก. โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ถือหุ้น 40%

