



นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรค ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรค ร่วมกันรับหนังสือจากตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ นำโดย iLaw ซึ่งรณรงค์รวบรวมรายชื่อประชาชน จำนวน 205,739 รายชื่อ เสนอให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ดำเนินการจัดทำประชามติที่นำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วม พร้อมนำคำถามประชามติที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอมาเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
โดย นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขอบคุณกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ที่แสดงเจตจำนงค์ในการใช้ช่องทางตามกฎหมายประชามติ ในการเสนอคำถามที่จะให้คณะรัฐมนตรี พิจารณากำหนดในการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาล ได้เสนอเรื่องนี้เอาไว้ เราก็จะทำตามเจตนารมณ์ เมื่อการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย ก็จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.
ขณะที่ ชูศักดิ์ ศิรินิล กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยริเริ่มในการขอจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มานานแล้ว เมื่อปี 2563 เราได้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่ก็มีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่รัฐสภาในการแก้ไขจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งสุดท้ายไม่สามารถโหวตผ่านได้ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาตีความกันว่าก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องไปสอบถามประชาชนก่อน ในครั้งนี้เราก็ยืนยันว่าจะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และก่อนอื่นต้องทำประชามติสอบถามประชาชนว่าต้องการให้ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราได้สอบถามประชาชนแล้ว
ชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ในอดีตเราเคยเสนอกระบวนการของ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในครั้งนี้เราจึงเห็นว่าจะต้องสอบถามประชาชนให้ชัดเจนว่า
โดย นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขอบคุณกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ที่แสดงเจตจำนงค์ในการใช้ช่องทางตามกฎหมายประชามติ ในการเสนอคำถามที่จะให้คณะรัฐมนตรี พิจารณากำหนดในการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาล ได้เสนอเรื่องนี้เอาไว้ เราก็จะทำตามเจตนารมณ์ เมื่อการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย ก็จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.
ขณะที่ ชูศักดิ์ ศิรินิล กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยริเริ่มในการขอจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มานานแล้ว เมื่อปี 2563 เราได้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่ก็มีคนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่รัฐสภาในการแก้ไขจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งสุดท้ายไม่สามารถโหวตผ่านได้ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาตีความกันว่าก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องไปสอบถามประชาชนก่อน ในครั้งนี้เราก็ยืนยันว่าจะต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และก่อนอื่นต้องทำประชามติสอบถามประชาชนว่าต้องการให้ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราได้สอบถามประชาชนแล้ว
ชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ในอดีตเราเคยเสนอกระบวนการของ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในครั้งนี้เราจึงเห็นว่าจะต้องสอบถามประชาชนให้ชัดเจนว่า
- ประสงค์จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
- จะมีการเลือกตั้ง สสร. มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าสามารถถามได้สะเด็ดน้ำแบบนี้ก็เชื่อว่ากระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเดินไปได้ราบรื่น ซึ่งสุดท้ายเราก็จะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง