ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo00.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo01.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo02.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo03.jpg

Photo Story: จาก ‘บรรพชนป่าคอมฯ’ สู่ ‘โลกใหม่’ กอ.รมน. มีไว้ทำไม?

8 พฤศจิกายน 2566 - 09:23

  • จากอดีต กอ.รมน. มีบรรพชนสู้กับ ‘ป่าคอมฯ’ ในวันที่ ‘ภัยคุกคาม’ เปลี่ยนแปลงไป มีความซับซ้อนมากขึ้น บทบาท กอ.รมน. จึงเกิดคำถามมีไว้ทำไม?

  • กอ.รมน. จัดเสวนาวงปิด แลกเปลี่ยนกันเอง ดึง ‘ทหารวิชาการ’ ยืมมือ สมช. ช่วยชี้แจง หลัง ‘ก้าวไกล’ รุกคืบเสนอกฎหมาย ‘ยุบ กอ.รมน.’ ในซีก กอ.รมน. ตีโจทย์นี้แตกหรือไม่?

ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo00.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo01.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo02.jpg
ISOC-Talk-Move-Forward-Party-Settle-SPACEBAR-Photo03.jpg

กอ.รมน. จัดเสวนาวิชาการวงปิด พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยเชิญหน่วยงานภายใน กอ.รมน. มาร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนชี้แจง ภายหลัง ‘พรรคก้าวไกล’ เตรียมเสนอร่างกฎหมาย ‘ยุบ กอ.รมน.’ เข้าสู่สภาฯ โดย กอ.รมน. ได้เชิญ 2 พลเอก ตำแหน่ง ‘ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก’ วุฒิปริญญาเอก จบรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ และผู้แทนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะหน่วยระดับนโยบายร่วมเสวนา  

พล.อ.ดร.นพรัตน์ ชั้นประดับ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก กล่าวถึงผู้ที่เสนอยุบ กอ.รมน. หรือยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ต้องระบุว่าปัญหาอยู่ในระดับใดใน 5 ข้อ เพื่อจะได้แก้ไขตรงจุด ได้แก่  

1)ระดับรัฐธรรมนูญ  

2)พระราชบัญญัติจัดตั้งส่วนราชการ (เช่น การปรับตำแหน่ง ผอ.รมน. , ผอ.รมน.ภาค)  

3)กฎกระทรวง กำหนดอำนาจหน้าที่ การจัดการ (เช่น การปรับโครงสร้าง) 

4)โครงสร้างอัตรากำลัง (เช่น การยกเลิกหน่วยงาน)  

5)การปฏิบัติงาน (เช่น บทบาททหาร งบประมาณ งานซ้ำซ้อน)  

ซึ่งร่างกฎหมาย ที่พรรคก้าวไกลเสน อไม่ได้ระบุชัดเจนว่าปัญหาคืออะไร อยู่ในระดับไหน จึงไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์และหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าปัญหาอยู่ระดับใด แต่ตีคลุมไปว่าต้องยุบ กอ.รมน. 

โดยในแต่ละระดับปัญหาจะมี ‘วิธีการ’ แก้ไขแตกต่างกัน เช่น การแก้ไขร่าง พ.ร.บ. รายมาตรา ไม่ใช่ทั้งฉบับ , การออกคำสั่งสำนักนายกฯ , การออกคำสั่ง ผอ.รมน. ใหม่ , การแก้ไขระหว่างส่วนราชการด้วยกันเอง เป็นต้น 

ส่วนคำถามที่ว่าโครงสร้าง กอ.รมน. มีความซ้ำซ้อนหรือไม่นั้น? 

พล.อ.นพรัตน์ ชี้แจงว่า กอ.รมน. มีรูปแบบการจัดแบบ ‘ทหาร’ ผสม ‘พลเรือน’ หรือที่เป็นภาษาอังกฤษว่า Rank Classification Structure กับ Boardbanding Structure ที่มีผู้รับผิดชอบเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จบมาโดยตรงและมีประสบการณ์  

ขณะที่ พล.ท.ดร.ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับเดิม สั้นและชัดเจนอยู่แล้ว ถึงบทบาท กอ.รมน. ที่มีทั้งหมด 3 หมวด 24 มาตรา โดยมี 3 มาตราสำคัญ ได้แก่ 

มาตรา 15  ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้  ทั้งนี้ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป 

ในกรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และให้นายกรัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบโดยเร็ว 

มาตรา 16  ในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา 15 ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย 

ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา 15 

มาตรา 20  ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. ตามมาตรา 16 (1) ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยค่าเสียหายตามควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 

คำถามที่ว่า กอ.รมน. เป็น ‘องค์กรบรรพบชนจากป่าคอมฯ’ วันนี้สงครามเย็นจบแล้ว ตั้งแต่คำสั่ง 66/23 จากนั้นเข้ามาสู่ยุคกระแสประชาธิปไตย จึงเกิดคำถามต่อบทบาทของ กอ.รมน. ตามบริบทโลก-ภูมิภาค หลังสงครามเย็นจบ จึงเกิดทฤษฎีจากสำนักต่างๆขึ้นมา  

สำหรับพัฒนาการ กอ.รมน. ในช่วงเปลี่ยนจาก ‘ภัยคอมมิวนิสต์’ เป็น ‘ภัยคุกคามรูปแบบใหม่’  

ปี 2543 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย มีมติ ครม. ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 

ปี 2545 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 158/2545 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2545 เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปรับการบริหารจัดการและใช้ กอ.รมน. ในการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด ความมั่นคงชายแดน โครงการพระราชดำริ ความมั่นคงใหม่ในหลายมิติ 

ปี 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 205 /2549  ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เรื่องการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (สถานะภาพระดับรัฐบาล)  

ปี 2551 สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีการตรา พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นผลให้ ‘กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร’ เป็นส่วนราชการที่มีรูปแบบเฉพาะ ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การบังคับบัญชาโดยขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี

“งานด้านความมั่นคง ทำงานคนเดียวหรือหน่วยเดียวไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเป็น ‘กองอำนวยการร่วม’ เพื่อทำการ ‘บูรณาการ’ ซึ่งการทำงานแบบเดิม คือ การไล่ตามปัญหา แต่แบบใหม่พร้อมที่จะรับมือปัญหาใหม่ คาดการณ์ล่วงหน้า ดังนั้นกฎหมาย กอ.รมน. อันใหม่นี้ เป็นเสมือนทศกัณฑ์ ที่มี 10 หน้า 20 มือ ที่พร้อมจะปฏิบัติงาน ซึ่งมีความท้าทายคือการ ‘แยกปัญหาความมั่นคง’ ให้มีความชัดเจน”

พล.ท.ดร.ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก

ขณะที่ ‘ชลธนสรณ์ พิสฐศาสน์’ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า เวลาเราจะยกเลิกอะไร ถ้าเป็นหนึ่งในฟันเฟืองงานความมั่นคง จะไปเริ่มใหม่อย่างไร และการยกเลิกเกิดผลกระทบอย่างไร ต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง

หน่วยงาน กอ.รมน. ตั้งมาเพื่อยับยั้งภัยความมั่นในประเทศ ซึ่งต้องดูว่าภัยในปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยภัยคุกคามมีพัฒนาการ เฉกเช่น กอ.รมน. ที่มีการปรับรูปแบบ ภายหลังภัยคอมมิวนิสต์ ภัยสงครามจบแล้ว มาสู่ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้มีความชัดเจน เพราะ ‘ตัวแสดง’ กับรัฐ ไม่ได้ชัดเจน เช่น ภัยเศรษฐกิจ ภัยสังคม ที่เป็น ‘ลูกโซ่’ ดังนั้นภัยรูปแบบใหม่ จึงมีความสลับซับซ้อน เปลี่ยนแปลงสูงและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ชลธนสรณ์ พิสฐศาสน์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

ทำให้ปัญหาความมั่นคงเป็นโจทย์ท้าทาย จะแบ่งหน่วยงานความมั่นคงอย่างไร เพื่อทำการสกัดภัยให้ได้ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเทศ ไม่ให้เกิดผลกระทบความสงบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งเป็นโจทย์ที่จะตั้งหน่วยงานความมั่นคงขึ้นมาเพื่อตอบสนองภัยต่างๆ จะหาใครมารับผิดชอบหน่วยเดียวได้หรือไม่ เพราะ_ภัยในปัจจุบันต้องมีการบูรณาการ ทันต่อภัยนั้นๆ มีความยืดหยุ่น ไม่ทำงานตามระบบราชการตามปกติ ซึ่งแทบทุกภัยความมั่นคงไม่มีหน่วยใดจัดการได้ในหน่วยเดียว_ อีกทั้งประเทศเดียวก็ไม่สามารถแก้บางภัยคุกคามได้ ซึ่งหน่วยงานต้องทำงานได้ทั้งในสภาวะปกติและไม่ปกติ มีสายบังคับบัญชาสั้นกระชับ อีกทั้งมีโครงสร้างระดับพื้นที่ในการรับมือ ซึ่งบางภัยคุกคามภาครัฐก็ไม่สามารถรับมือได้หมด แต่ต้องดึง ‘ภาคประชาชน’ เข้ามา เช่น การตรากฎหมายตั้ง กอ.รมน. ขึ้นมา 

หากมีการยุบ กอ.รมน. ไปแล้ว จะตั้งหน่วยงานใดขึ้นมา? 

ในสวนของ สมช. มีหน้าที่จัดทำแผนนโยบายระดับชาติ ในการขับเคลื่อน ซึ่งเราต้องอาศัย ‘หน่วยโซ่ตรงกลาง’ ระหว่างหน่วยงานระดับนโยบาย กับ ระดับปฏิบัติ ดังนั้นการจะไปตั้งหน่วยใหม่ จึงต้องคำนึงถึงจุดนี้ 

คำถามที่ว่าควรยกเลิก กฎหมาย กอ.รมน. ฉบับปัจจุบันหรือไม่ ? 

เรื่องการบริหารจัดการภัยความมั่นคง เราต้องนำกลับมาคิดเสมอว่ากฎหมายความทันสมัยหรือไม่ กลไกการทำงาน  อัตรากำลังเป็นอย่างไร จึงต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทุกหน่วยงาน และกฎหมายต้องมีการทบทวนทุก 5 ปี  

ดังนั้นการให้ยกเลิกกฎหมาย จึงต้องดูว่าปัญหาอยู่ที่ตัวกฎหมาย หรือ สาระของกฎหมาย ไม่ชอบอำนาจหน้าที่ หรือ บทบาทใด หรือปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมาย แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปที่จุดแรกอีก และเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์