









ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล นำแถลง 9 ข้อต่อสู้ครั้งสุดท้าย ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล 7 สิงหาคม 2567 โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง เนื้อหาประกอบด้วย
ข้อที่ 1. การพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลไม่มีอำนาจในการรับคำร้องไว้วินิจฉัย เนื่องจากมีเขตอำนาจเฉพาะเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ การตีความเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญต้องตีความอย่างเคร่งครัด ในกรณีใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจ พิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญศาลย่อมไม่มีอำนาจ โดยรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 210 วรรค 1 บัญญัติไว้ว่า พิจารณาความชอบด้วยกฎหมายหรือเรื่องกฎหมาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภารัฐสภาคณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ หน้าที่อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่มีบทบัญญัติ ให้สามารถวินิจฉัยการยุบพรรค แม้ว่าพรป.พรรคการเมืองปี 2560 จะให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง เอกสารรัฐธรรมนูญธรรมวินิจฉัยที่ 5/2563 อนาคตใหม่ ไว้ว่า พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญที่ไปขยายอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญเกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถนำคดียุบพรรคอนาคตใหม่มาเป็นบรรทัดฐานหรือเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องด้วยพรรคเข้าไปไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
ข้อที่ 2. การยื่นคำร้องในคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเสนอคดีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การยุบพรรคก้าวไกล ตามมาตรา 96 วรรค 1 วงเล็บ 1 และ วงเล็บ 2 มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะเราไม่สามารถตีความได้ว่าการเสนอคำร้องตามมาตรา 92 แยกเป็นเอกเทศจากมาตรา 93 ได้ และหากพิจารณาจากเอกสารจาก กกต. เดิมทีก่อนเสนอคำร้องยุบพรรค นายทะเบียนพรรคการเมือง และสำนักงานได้ดำเนิน การตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 92 อยู่ ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมาย ให้ขยายระยะเวลาการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเนื่องจากเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่เห็นว่าต้องรวบรวมอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ถูกต้อง สมบูรณ์ชัดเจนและเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งแสดงเห็นว่า กกต มุ่งหมายยื่นคำร้องอยู่เฉพราะก้าวไกลโดยไม่สนใจต่อกระบวนการขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ละเลยไม่รอให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นเกี่ยวกับคำร้องก่อนเสนอคดี
ข้อที่ 3. การเสนอคำร้องนี้ เป็นข้อหาที่แตกต่างจากข้อหาในคดีเดิม ในคดีที่ 3/2567 ที่สั่งพรรคก้าวไกลและนายพิธา ลิ้ม เจริญ รัตน์ สส.บัญชี รายชื่อ เลิกการกระทำ โดยเป็นข้อหาที่ต่างไปจากคดีเดิม แต่ กกต.กลับไม่แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานใดๆ และไม่เปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลได้รับทราบข้อกล่าวหาและชี้แจงโต้แย้งในพยานหลักฐาน ซึ่งถือเป็นกระบวนการยุติธรรม คดีทุกประเภท
แม้ว่าชั้นการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลจะรับฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้วก็ตาม แต่การรับฟังคู่ความทุกข์ฝ่ายของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นเหตุยกเว้น ที่จะทำให้การเสนอคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ไม่มีผลผูกพันธ์คดีนี้ โดย กกต.อ้างว่า การเสนอคำร้องยุบพรรคก้าวไกล เป็นไปตามคำวินิจฉัย ของ ศาลที่ 3 /2567 โดยปราศจากข้อสงสัย มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ แต่ก้าวไกล ยืนยันว่าหากพิจารณาหลักความเป็นที่สุดของคำพิพากษา ทั้งความเป็นที่สุดในมูลเหตุการฟ้องคดี และข้อเท็จจริงที่วินิจฉัย ย่อมประจักษ์ชัดว่าสารในคดีนี้ไม่อาจรับนำการรับฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 มาผูกพันในการพิจารณาคดียุบพรรคนี้ได้ หากพิจารณาตามหลักความเป็นที่สุดของมูลเหตุในการฟ้องคดี โดยคดีแรกเป็นคดีที่วินิจฉัยตามบทบัญญัติมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่ศาลรัฐธรรมนูญ ในการวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการใช้สิทธิโดยเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่ แล้วกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ผู้กระทำการนั้นยกเลิกการกระทำเสีย ซึ่งศาลก็สั่งให้นายพิธา และพรรคก้าวไกล ยกเลิกการกระทำ ในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมม์ การโฆษณาและการสื่อความหมายด้วยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และห้ามเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการนิติบัญญัติโดยมิชอบอีก แต่ข้อกล่าวหาของ กกต. ว่า พรรคก้าวไกลทำการล้มล้างการปกครองหรือมีการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตาม พรป.ประกอบพรรคการเมืองมาตรา 92 มีโทษถึงยุบพรรค จึงไม่สามารถให้เอาคำวินิจฉัยคดีก่อนหน้านี้ มาผูกพันวินิจฉัยคดีนี้ได้ แต่ต้องมีความพิสูจน์ ที่เข้มข้นกว่า นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องมีผลผูกพันคู่ความในคดีเป็นสำคัญ แต่ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 กกต.ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี ตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
ชัยธวัช ตุลาธน
ข้อที่ 4. นอกจากการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112 แล้วการกระทำอื่นๆ ตามคำร้องมีได้เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล เพราะการกระทำใดจะเป็นการกระทำของพรรคการเมืองได้ต้องเป็นการกระทำของพรรค โดยมติของคณะกรรมการบริหารพรรค หรือเป็นการกระทำที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง จะถือว่าการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการกระทำของพรรคมิได้ ทั้งกรณีที่ สส.ไปปรากฏตัวในที่ชุมนุม การไปประกันตัวให้กับจำเลยในคดีมาตรา 112 หรือตกเป็นจำเลยในคดีมาตรา 112 รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกพรรคให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 เหล่านั้นล้วนไม่ใช่การกระทำของพรรค ข้อเท็จจริงตามเอกสารไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าบุคคลต่างๆที่ได้กระทำการไปนั้น ทำไปโดยที่มีพรรคก้าวไกล เป็นผู้สั่งการหรือบงการแต่อย่างใด อีกทั้งความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐ ยังไม่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ที่ศาลไม่อาจรับฟังได้
ข้อที่ 5. ไม่ได้เป็นการล้มล้างหรือกระทำการปฏิปักษ์ ต่อการปกครอง ในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการที่ สส.เข้าชื่อแก้กฎหมายตามมาตรา 112 ว่า ไม่ได้เป็นการใช้กำลังบังคับ หรือการกระทำใช้ความรุนแรงเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสิ้นสุดลง หรือมิได้เป็นการใช้อำนาจเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เป็นระบอบการปกครองอื่นแต่ประการใด แต่เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญในการเสนอร่างกฎหมายให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา ซึ่งเป็นการกระทำการผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยชอบ และยืนยันว่าชอบด้วยกฎหมาย
ในสมัย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีการเสนอแก้ไขลดโทษในคดีมาตรา 112 และอีกกรณีคือ อุดม รัฐอมฤต ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยมีการเสนอหลักการ เรื่องอำนาจของราชเลขา
ชัยธวัช ตุลาธน
ขณะที่การใช้นโยบาย ‘ม.112’ มาหาเสียงของพรรคก้าวไกล เป็นเพียงการนำเสนอนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง เพื่อประคับประคองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ เท่านั้น เมื่อพิจารณาไปตามภาวะวิสัย และสัมมาสัมนึกของวิญญูชน
รวมไปถึง 5 ความเห็นของเจ้าหน้าที่ กกต. ที่มีอำนาจ จะเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องในคดีนี้คือพรรคก้าวไกล มิได้เป็นการกระทำ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่อย่างใด
ส่วน ‘เหตุการณ์ติดสติ๊กเกอร์’ ยืนยันว่าในเหตุการณ์นั้น มีการสื่อสารความหมายอย่างชัดเจนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 มิใช่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่า ในฐานะผู้แทนราษฎรพร้อมที่จะสนับสนุนให้มีการนำความคิดเห็นของประชาชน เข้าไปอภิปรายในสภาอย่างมีวุฒิภาวะ
ชัยธวัช ตุลาธน
ส่วนการใช้ตำแหน่ง สส.ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีมาตรา 112 ไม่ได้หมายความว่าพวกนั้น จะต้องเห็นด้วยหรือสนับสนุนการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีทำนองเดียวกับการเป็นทนายความแห่งคดีนั้น ส่วน สส.ในพรรคก้าวไกลถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลและยังไม่ถึงที่สุดจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนี้ต้องคดีอาญาเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ และการที่ สส. ไปปรากฏตัวในที่ชุมนุม ก็เป็นเพียงการไป แสดงจุดยืนส่วนตัว มิได้เป็นมติหรือเกี่ยวข้องกับพรรค
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรยุบพรรคก้าวไกล ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยของบางประเทศจะสามารถทำได้ แต่จะต้องทำไปเพื่อจุดมุ่งหมายในการพิทักษ์รักษาและการพื้นฐานและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยตามแนวคิดประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ ซึ่งการยุบพรรคการเมือง จึงต้องพึงพิจารณาอย่างเคร่งครัด ระมัดระวังและให้ได้สัดส่วนกับความรุนแรงของพฤติการณ์ของพรรคการเมือง และจะต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นแก้ไขเร่งด่วนฉับพลันเมื่อไม่มีมาตรการอื่นที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งผลของการกระทำที่มีความร้ายแรงของพรรคการเมืองได้อย่างทันทีภายใต้หลักความพอสมควรแก่เหตุ มิฉะนั้นจะกลายเป็นพรรคการเมืองในการทำลายหลักการพื้นฐานและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยเสียเอง
ชัยธวัช ตุลาธน
ข้อที่ 6. ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรยุบพรรค แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าพูดถูกร้องจะใช้สิทธิและเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง ก็สามารถยับยั้ง โดยจะต้องปรากฏพยานหลักฐานที่เป็นรูปธรรมมีน้ำหนักเพียงพอที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า การกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครอง หรืออาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้โดยใกล้เคียงต่อผล ถึงขนาดจำเป็นต้องยุบพรรคนั้นเสีย การกระทำของพรรคก้าวไกลยังไม่รุนแรงในทางกฎหมาย รวมไปถึงมีเหตุสมควรเพียงพออันจะเป็นการยุบพรรค เมื่อศาลสั่งให้พรรคยกเลิกการกระทำดังกล่าวตามคำสั่งที่ 3/67
ข้อที่ 7. หากศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจยุบพรรคก้าวไกล แต่ไม่มีสิทธิตัดสิทธิการเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูภญไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม กระทบต่อศักดิ์ ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องสมควรแก่เหตุ และการกำจัดสิทธิตาม รัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจทึ่ออกโดยนิติบัญญัติ เท่านั้น
ข้อที่ 8. หากศาลเห็นว่ายุบพรรคก้าวไกล ระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค ต้องอยู่บนหลักความพอสมควรแก่เหตุ เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.ป.พรรคการเมืองปี 2550 ในกรณีที่มีคำสั่งยุบพรรค กำหนดไว้ว่า 5 ปี ดังนั้น ครั้งนี้ ก็ไม่เกิน 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปีตามที่ กกต. ร้องขอ
ข้อที่ 9. การเพิกถอนสิทธิสมัครเลือกตั้งต้องเพิกถอนเฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ซึ่งในคดีนี้หากพิจารณาข้อเท็จจริงจะพบว่าการกระทำของพรรคก้าวไกล ที่กกตยื่นคำร้องเป็นการกระทำของพรรค ในช่วงเวลาที่กรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ดำรงตำแหน่งอยู่เท่านั้น ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผิด ต้องเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคในชุดที่ 1 และ 2 เท่านั้น ไม่รวมกรรมการบริหารพรรคที่ดำรงตำแหน่งในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ยังหวัง ‘ก้าวไกล’ ไม่โดนยุบพรรค
ขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงปิดว่า มีเส้นแบ่งระหว่าง คดีของพรรคก้าวไกลและพรรคที่เคยถูกยกในอดีต คือระเบียบของ กกต. เอง เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีระเบียบหรือข้อบังคับ กกต. สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกำลังจะก้าวไกลจึงถือเป็นพรรคแรกที่มีกระบวนการนีเกิดขึ้น
ตั้งแต่ปี 2549 มีพรรคการเมืองถูกยุบไปมากกว่า 33 พรรค มีนักการเมืองถูกตัดสิทธิ์ไป มากกว่า 249 คน มีเพียงพรรคเดียวที่รอดจากการยื่นยุบพรรค โดยศาลยกคำร้อง ปี 2553 เพราะกระบวนการยื่นคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในครั้งนี้ ตนเองก็ไม่ได้มีโอกาสในการอธิบายต่อศาล และ กกต. ให้เข้าใจ ซึ่งถือว่าตนเองเสียโอกาสนั้นไป คือ กกต. ไม่ได้ทำตามระเบียบของตัวเองที่ร่างขึ้น เมื่อปี 2566 เพราะไม่ได้มีการชี้แจงให้ผู้ถูกร้อง (ก้าวไกล) ทราบก่อน อย่างไรก็ตาม พิธา ปฏิเสธตอบคำถามถึงการประเมินสถานการณ์ในอนาคต
ไม่อยากก้าวล่วงอำนาจศาล แต่มั่นใจในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของพรรคก้าวไกล อีกทั้งเชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะไม่ถูกยุบ และได้รับความยุติธรรมเหมือนกับพรรคการเมืองหนึ่งที่เคยได้รับเมื่อ 14 ปีแล้ว รวมถึงมาตรฐานการพิจารณาจะเป็นไปตามหลักสากล และไม่กังวลว่าศาลจะใช้เหตุผลทางการเมืองในการวินิจฉัยคดี แต่จะตัดสินตามตามความจริงและข้อกฎหมายเท่านั้น
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
เมื่อถามถึงแนวทางของพรรคหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่เป็นผลลบกับพรรคก้าวไกลนั้น พิธา กล่าวว่า มีคิดเอาไว้ แต่ยังไม่ถึงเวลา ตอนนี้ขอโฟกัสในการใช้เวลาในการทำหน้าที่ สส. อย่างเต็มที่อย่างมีสมาธิ ตามที่ประชาชน 14 ล้านเสียง ได้เคยเลือกมาแต่หวังว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ พิธา ยืนยันว่า พรรคก้าวไกลจะไม่มีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงเพื่อประโยชน์ของพรรคอย่างแน่นอน สำหรับกิจกรรมในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ไม่ใช่การปลุกมวลชน แต่พรรคก้าวไกลเป็นสถาบันการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมาโดยตลอด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกพรรคหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคก็มีสิทธิในการร่วมรับฟัง
เมื่อถามถึงกระแสข่าวพรรคก้าวไกล มีการดีลพรรคสำรองไว้ เช่น พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล นั้น พิธา กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดตรงนั้น ตอนนี้ขอโฟกัสกับการสู้คดียุบพรรค แต่เมื่อถึงเวลาคงจะมีการพูดคุยเรื่องนี้ ตอนนี้ยังไม่มีมติใด ๆ พร้อมย้ำว่า หากคำตัดสินศาลไม่เป็นคุณ ส่วนตัวก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคใหม่แล้ว
อีกทั้งพรรคการเมืองทั่วไป ก็จะมีกฎเกณฑ์ในการเรียกประชุมพรรค และ สส. เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอน ซึ่งตนเองก็ไม่สามารถตอบแทนได้ แต่ยืนยันได้ว่า สมาชิกพรรคยังคมีความเป็นปึกแผ่น ไม่ได้แตกแยก