https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/46Ot9LYTCS8F4uw35aBOQh/9d96a9b216be6c5b7a0b8532a1447224/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/717QomxlhZZ5qP7Noiwxur/d442cf73e472ae803a7462dfaa7e4747/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3o8gYinnVmhHxwtGpQm1sl/c1567efd920b4872cca26655601913ef/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo03
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3ojmOatxSmMi811hrIjxR8/da1c642ad2e1b3f27ac8495b8cd3f7a4/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo04
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4KJGRAH0VduGMj8PkYszKH/6dd054313e551f6a9f6dd6a6cccccdc9/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo05

Photo Story: “อยากให้เขาเป็นอาชีพไหนก็ได้ แค่ทำแล้วมีความสุขเท่านั้นเอง”

14 ม.ค. 2566 - 10:14

  • หนึ่งในครอบครัวที่พาลูกมาเที่ยวงานวันเด็ก ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ สวมชุดซูเปอร์ฮีโร มาร่วมทำกิจกรรมกันทั้งครอบครัว แม่เด็ก เผย อยากให้ลูกกล้าคิด กล้าแสดงออก และอยากให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่พร้อมสนับสนุนและเติบโตไปด้วยกัน หวังลูกทำอาชีพไหนก็ได้ ที่ทำแล้วมีความสุข

https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/46Ot9LYTCS8F4uw35aBOQh/9d96a9b216be6c5b7a0b8532a1447224/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo01
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/717QomxlhZZ5qP7Noiwxur/d442cf73e472ae803a7462dfaa7e4747/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo02
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3o8gYinnVmhHxwtGpQm1sl/c1567efd920b4872cca26655601913ef/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo03
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/3ojmOatxSmMi811hrIjxR8/da1c642ad2e1b3f27ac8495b8cd3f7a4/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo04
https://images.ctfassets.net/i3o8p9lzd06f/4KJGRAH0VduGMj8PkYszKH/6dd054313e551f6a9f6dd6a6cccccdc9/national-children-Day-family-superhero-education-SPACEBAR-Photo05
บรรยากาศความสนุกสนานของงานวันเด็กแห่งชาติ ที่ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ แห่งที่ 1 เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเป็นไปอย่างคึกคัก พบว่าหลายครอบครัวพาลูกหลาน มาร่วมทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก  

หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของน้องตะวัน เด็กชายชุดไอรอนแมน วัย 4 ขวบ ที่ขอให้พ่อและแม่ของเขาสวมชุดซูเปอร์ฮีโรมาร่วมทำกิจกรรมในวันนี้ด้วย  

แม่ของน้องตะวัน เล่าว่าครั้งแรกที่ลูกชายขอให้แต่งชุดแบบนี้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน คือตอนที่ลูกชายเธออายุได้ 2 ขวบ ซึ่งเธอและสามีก็ยอมใส่ชุดซูเปอร์ฮีโรตามที่ลูกชายขอมาโดยตลอด เพราะอยากสนับสนุนและร่วมทำกิจกรรมกับลูกอย่างเต็มที่  

ทีมข่าว SPACEBAR ยังชวนแม่น้องตะวัน สะท้อนความเห็นเกี่ยวกับนโยบายทางการศึกษาเนื่องในวันเด็ก ว่าอยากให้ภาครัฐ สนับสนุนเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่ โดยแม่ของน้องตะวัน มองว่าเธออยากให้ภาครัฐ สนับสนุนให้มีโรงเรียนทางเลือกมากขึ้น เพราะโรงเรียนลักษณะนี้ มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น ไม่เน้นเรื่องการสอบวัดผล หรือสร้างบรรยากาศการแข่งขันกันตั้งแต่เด็ก แต่จะให้เด็กได้เรียนรู้จากนอกห้องเรียนมากขึ้น ส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และเป็นตัวเอง ซึ่งน้องตะวัน ก็เรียนโรงเรียนทางเลือกเช่นกัน เพราะเธออยากให้ลูกเรียนอย่างมีความสุข และเหมาะสมกับวัย เรียนไปเล่นไปผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผลที่ได้ คือ ทำให้น้องตะวัน มีความกระหายการเรียนรู้อย่างไม่ต้องให้ใครบังคับ  

ส่วนเหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนทางเลือก แม่น้องตะวัน บอกว่าไม่อยากให้ลูกเป็นเหมือนเธอตอนเด็ก เพราะด้วยความที่เธอเป็นเด็กต่างจังหวัด ในสังคมต่างจังหวัดจะมองว่าเด็กที่เรียนสายวิทย์เป็นเด็กเก่ง และเห็นตัวอย่างอาชีพ แค่ไม่กี่อาชีพ ต้องเรียนตามที่ครอบครัวอยากให้เป็น และมีข้อจำกัดหลายอย่าง จึงมองว่าถ้ามีลูก ก็อยากให้ลูกทำอาชีพไหนก็ได้ที่ทำแล้วมีความสุข และตั้งใจมีลูกตอนที่พร้อมทั้งเรื่องวัยวุฒิ และการเงิน ซึ่งแม้จะไม่ได้ร่ำรวยมาก แต่ก็สามารถส่งเสียลูกได้ ที่สำคัญเธอและสามี ก็จะพยายามหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกในทุกวันหลังเลิกงาน   

ขณะที่สถานการณ์การศึกษาไทย ก่อนหน้าปี 62 นักวิจัย สสส. เปิดเผยว่าเด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีเด็กนักเรียนลาออกกลางคันปีละ 900,000 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งผลให้เด็กนักเรียน 386,250 คนเลือกทำอาชีพผิดกฏหมายเพื่อหาค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยเรียนวันละ 8-10 คาบต่อวันและยังมีนักเรียนบางส่วนรู้สึกเบื่อจนไม่อยากเรียน และที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กไทยร้อยละ 87 มีเวลาพูดคุยกับพ่อแม่เพียงวันละ 10 นาที 

ไม่ใช่แค่ผลวิจัยนี้ ที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะวิกฤตทางการศึกษาไทย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นยังถูกสะท้อนผ่านตามหน้าข่าวต่างๆ ทั้งเรื่องภาวะการเรียนรู้ถดถอยของเด็ก และปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ซึ่งเป็นบาดเเผลที่เกิดจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 รวมถึงข่าวเด็กฆ่าตัวตายจากการถูกกดดันเรื่องเรียนที่มีให้เห็นอยู่เป็นระยะ นี่จึงเป็นคำถามที่ชวนคิดว่า ‘เด็ก’ ที่หลายคนบอกว่าเป็นสิ่งมีค่า เป็นพลังที่จะสร้างอนาคตให้กับประเทศ พวกเขาถูกทำให้เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์