Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo00.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo01.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo02.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo03.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo04.jpg

Photo Story : ‘เกาะกูด’ เป็นของไทยแต่ต้น ถาม ‘ยกเลิก MOU44’ ใครได้ประโยชน์

4 พ.ย. 2567 - 10:08

  • “ดิฉันเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์” ! ‘นายกฯ อิ๊งค์’ ยัน ‘เกาะกูด’ เป็นของไทยตั้งแต่ต้น

  • ย้ำเดินหน้าเจรจา ‘MOU44’ ต่อเนื่องไม่มียกเลิก

  • ฝากให้คิด ‘อย่าเอาเรื่องการเมือง มากระทบความสัมพันธ์ของประเทศ’

Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo00.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo01.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo02.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo03.jpg
Paethongtarn-and-the-cabinet-holds-MOU-2544-SPACEBAR-Photo04.jpg

‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี  ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงผ่านภายหลังประชุมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ถึงความชัดเจนเรื่องบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา หรือ เอ็มโอยู 44 โดยมีรัฐมนตรีที่ร่วมหารือ บนตึกไทยคู่ฟ้ามาร่วมแถลงข่าวด้วย  

โดยนากยกฯ ระว่า เอ็มโอยู 44 ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ‘เกาะกูด’ และเกาะกูดไม่ได้อยู่ในเอ็มโออยู่ เรื่องนี้ไม่ได้มีการถกเถียง เพราะเป็นของไทยอยู่แล้ว หากพิจารณาการตีเส้น ‘กัมพูชา’ ก็เว้นเกาะกูดไว้ให้ ซึ่งการพูดคุยกันในวันนี้ไม่ได้พูดคุยเกี่ยวกับที่ดิน แต่พูดถึงที่ดินในทะเลว่าสัดส่วนใครขีดเส้นอย่างไร เนื่องจากเอ็มโอยูขีดเส้นไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะมีการเจรจากันระหว่าง 2 ประเทศ  ดังนั้นหากจะเกิดอะไรขึ้นจะมีข้อตกลงอะไรต้องมีคณะทำงานขึ้นมาพูดคุยกัน  

ณ ขณะนี้คณะกรรมการของกัมพูชามีอยู่แล้ว แต่ของไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนรัฐบาล ก็ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) ไทย-กัมพูชาด้วย ซึ่งตั้งแต่สมัย ‘รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ อดีตนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการนี้เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวอยู่ คิดว่าไม่น่าจะนาน เพราะดำเนินการมาประมาณ 1 เดือนแล้ว และคงจะมีการพูดคุยรายละเอียดกันเร็วๆ นี้ฃ 

เมื่อถามว่า การไม่ยกเลิกเอ็มโออยู่ทำให้คนมองว่าไทยยอมรับการขีดเส้นของกัมพูชาหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิด รัฐบาลไม่ได้ยอมรับเส้นอะไร แต่เอ็มโอยูดังกล่าวคือการที่คิดไม่เหมือนกัน จึงต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งง 2 ประเทศ ย้อนกลับไป ตั้งแต่ปี 2515 กัมพูชาขีดเส้นมาก่อน ต่อมาปี 2516 ไทยจึงขีดเส้นด้วย  

“ขอย้ำว่าเกาะกูดไม่เกี่ยวกับการเจรจานี้  ให้คนไทยทุกคนสบายใจได้เลยว่าเราจะไม่เสียเกาะกูดไป และกัมพูชาก็ไม่ได้สนใจเกาะกูดของเราด้วย ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้”

ส่วนที่มีการยกอ้างสมัย ‘รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ อดีตนายกรัฐมนตรี มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยกเลิกเอ็มโอยูนั้น แพทองธารยืนยันว่าไม่มี เพราะข้อเท็จจริงเอ็มโอยูปี 2544 ยกเลิกไม่ได้ หากไม่เกิดการตกลงของทั้ง 2 ประเทศ และมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาด้วย

“ต้องถามว่ายกเลิกแล้วได้อะไร เราต้องกลับมาที่เหตุและผล ทุกประเทศคิดไม่เหมือนกันได้ จึงต้องมีเอ็มโอยูว่าถ้าคิดไม่เหมือนกันเราต้องคุยกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก การรักษาไว้ซึ่งความสงบระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ในเอ็มโอยูดังกล่าวเปิดให้ 2 ประเทศพูดคุยกัน จึงต้องถามว่ายกเลิกแล้วได้อะไร ถ้ายกเลิกฝ่ายเดียวโดนฟ้องร้องจากกัมพูชาแน่นอน ซึ่งไม่มีประโยชน์"

แพทองธาร กล่าว

สำหรับการออกมาแถลงข่าววันนี้ ก็เพื่อจะอธิบายว่า 1) เอ็มโอยูไม่เกี่ยวกับเกาะกูด 2) เอ็มโอยูคือเรื่องระหว่าง 2 ประเทศ ยกเลิกเองไม่ได้ และ 3) ไทยไม่เสียเปรียบเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว ฉะนั้น ‘อย่าเอาเรื่องของการเมืองมาทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สั่นคลอนอยากให้เข้าใจตรงกันตามหลัก’ โดยการเจรจาจะต้องเดินต่ออาจมีการลงรายละเอียด กับหน่วยงานที่้เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพลังงานด้วย 

เมื่อถามอีกว่ากลัวประเด็นนี้จะบานปลายหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ถ้าทุกคนเข้าใจในหลักการแล้ว ไม่น่าจะบานปลาย เพราะทั้งหมดคือข้อเท็จจริงไม่มีการคุยอะไรข้างหลัง เพราะที่ตนกล่าวมาคือกรอบเป็นหลักคิด เป็นกฎหมาย ย้ำว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เผือกร้อนแต่อย่างใด 

เมื่อถามอีกว่า จะใช้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีกับ ‘สมเด็จ ฮุน เซน’ ประธานวุฒิสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาในเรื่องนี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีสามารถสร้างคอนเน็คชันที่ดีได้ เหมือนเรามีเพื่อนสนิทเราก็สามารถคุยกันได้ แต่เรื่องของประโยชน์ของประเทศเขาและประเทศเรา เราต้องใช้คณะกรรมการเพื่อไม่ให้มีอคติ ความรู้สึกของฉันของเธอขึ้นมา เราใช้คณะกรรมการเพื่อให้เกิดความรู้จริง รู้ครบและยุติธรรม” 

เมื่อถามอีกว่ายืนยันจะรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศไทยอย่างสูงสุดใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า “ดิฉันเป็นคนไทย 100% ประเทศไทยต้องมาก่อนคนไทยต้องมาก่อนรัฐบาลนี้ยืนยันจะรักษาแผ่นดินไทยไว้อย่างเต็มที่ และจะทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขที่สุด”

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์