parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo00.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo01.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo02.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo03.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo04.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo05.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo06.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo07.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo08.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo09.jpg

Photo Story: ‘รัฐสภา’ เริ่มถกญัตติส่งศาลรธน.

17 มี.ค. 2568 - 07:27

  • ‘รัฐสภา’ เริ่มถกญัตติส่งศาลรธน. ตีความอำนาจรัฐสภาแก้รธน.

  • ‘สว.เปรมศักดิ์’ ขออย่าผูกแก้รธน.กับ ‘การเลือกตั้ง’ เหตุรัฐบาลอาจอยู่ไม่ครบเทอม ด้าน 'เทวฤทธิ์' จี้รัฐบาล เร่งรัดทำกติกาประเทศฉบับประชาชน

  • ‘ไอติม’ จี้ ‘นายกฯ’ แสดงภาวะผู้นำแก้รธน. ชี้ส่งศาลรธน. เคลียร์เทคนิคกฎหมาย ไม่การันตี สส.-สว. จะสนับสนุน

parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo00.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo01.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo02.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo03.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo04.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo05.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo06.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo07.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo08.jpg
parliament-17mar25-SPACEBAR-Photo09.jpg

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มี มงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งเสนอโดย นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) และญัตติทำนองเดียวกันที่เสนอโดย  วิสุทธิ์ ไชยรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดต่อประเด็นหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนการออกเสียงประชามติถามความต้องการของประชาชนต่อการได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ในการเสนอญัตติ นพ.เปรมศักดิ์ อภิปรายตอนหนึ่งว่า ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า รัฐสภาจะลงมติเห็นชอบต่อการเพิ่มหมวดใหม่ว่าด้วยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนการออกเสียงประชามติของประชาชนได้หรือไม่  และหากรัฐสภามีอำนาจแล้ว การออกเสียงประชามตินั้นจะทำภายหลังจากที่มีการแก้ไขและพร้อมกับที่ให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบได้หรือไม่ ทั้งนี้ ที่มีคนบอกว่าการเสนอศาลรัฐธรรมนูญอาจเป็นการประวิงเวลาและไม่ทันต่อการเลือกตั้งสส. ปี 2570 ทั้งนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่กระทบต่อการเลือกตั้ง สส. และการเลือกตั้งย่อมเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ จะครบเทอมหรือไม่ ไม่มีใครทราบ

“การกำหนดเวลาของการแก้ไข ไม่สุขุมรอบคอบเพราะการแก้ไขรรัฐธรรมนูญเป็นงานใหญ่ ต้องอาศัยยหลอมรวมความคิดเปรียบประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง ที่ต้องไปถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็ว แต่เป็นรถไฟธรรมดาที่ต้องทยอยส่งผู้โดยสารให้ถึงบ้านปลอดภัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่บอกว่า ต้องเร่งรัดเร่งรีบ แต่ต้องแก้ไขให้เป็นประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่สนองอำนาจการเมือง นอกจากนั้น ต้องรักษาเอกลักษณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง รวมถึงคำนึงถึงหลักการที่ประชาชนยอมรับ และไม่เตะหมวด 1 หมวด2”

นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว

จากนั้น สมาชิกรัฐสภาได้อภิปรายแสดงความเห็นทั้งสนับสนุนญัตติและไม่สนับสนุน เพราะมองว่าเป็นการประวิงเวลาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

ทั้งนี้ เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว.อภิปรายว่า ไม่เห็นด้วย แต่จะไม่ขวาง และระหว่างรอคำวินิจิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอยากให้รัฐบาลพิสูจน์ตามคำพูดของ แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ที่แถลงนโยบายว่าจะเร่งรัดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยเร็ว แต่ขณะนี้ผ่านมา 6 เดือน ยังไม่เห็นการเร่งรัด มีเพียงการออกมาพูดโดย ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เท่านั้น ดังนั้นระหว่างรอให้รัฐบาลพิสูจน์ถึงความเร่งรัดดังกล่าว

จากนั้น พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายว่า มีสมาชิกบางคนไม่ได้สนใจ หรือมีข้อกังวลด้านข้อกฎหมาย แต่ไม่อยากแก้รัฐธรรมมนูญ จึงพยายามค้นหาข้อกังวลทางกฎหมายเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญ หวังชะลอการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ปัญหาทางเทคนิคทำให้ประชาชนลืมประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปราบโกงปลดล็อคท้องถิ่น และแก้ปัญหาให้ประชาชน ทั้งนี้สิ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่ใช่ข้อกังวลทางการกฎหมาย แต่คือเจตจำนงของัรฐบาลที่การส่งศาลรัฐธรรมนูญไม่สามรถแก้ไขให้ได้

พริษฐ์ อภิปรายด้วยว่า การส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญศาลอาจจะไม่รับไว้พิจารณาเหมือนที่เคยเกิดขึ้น หรือรับไว้พิจารณาแต่ไม่มีคำวินิจฉัยที่ชัดเจนหรือไม่วินิจฉัยเพิ่มเติมจากปี 2564 จะทำให้รัฐสภากลับมาสู่จุดเดิม ดังนั้น สิ่งที่จะทำได้คือต้องอาศัยเจตจำนงของนายกฯ ต้องโน้มน้าวสมาชิกรัฐสภาซีกรัฐบาล ซึ่งภารกิจดังกล่าวไม่มีศาลรัฐธรรมนูญช่วยได้ เพราะต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เดินหน้าได้ ไม่มีหลักประกันใดว่า สส.และสว.กลุ่มที่หัวใจเดียวกันจะร่วมลงมติสนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

“การส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็น เพราะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาชนสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ ทั้งนี้ การส่งไปศาลไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา เพราะอุปสรรคไม่อยู่ที่ขัอกฎหมาย แต่คือเจตจำนงของรัฐบาล ดังนั้นทางออกอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล สิ่งที่รัฐสภาควรทคือส่งสัญญาณไปยังทำเนียบ เพื่อให้น.ส.แพทองธาร แสดงภาวะผู้นำ และเจ้าภาพในการสร้างเอกภาพระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลผลักดันนโยบายเรือธง ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สำเร็จ”

พริษฐ์ อภิปราย

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์