Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo00.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo01.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo02.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo03.jpg

‘พิธา’ โชว์ลุยดับไฟป่า จ.เชียงใหม่ ชี้ปัญหาขาด ‘อุปกรณ์-เจ้าหน้าที่’

16 มีนาคม 2567 - 10:22

Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo00.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo01.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo02.jpg
Pita-Forest-Fire-SPACEBAR-Photo03.jpg

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เข้าพื้นที่ฐานปฏิบัติการดับไฟป่าของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ร่วมกับอาสาดับไฟป่า มูลนิธิกระจกเงา ก่อนที่จะลงพื้นที่จริงที่ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้สอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ถึงจำนวนคนที่จะช่วยดับไฟป่า หลังได้รับรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่เหยี่ยวไฟประมาณ 300 คนที่ปฏิบัติการอยู่ แต่เจ้าหน้าที่ที่ประจำหน่วยป้องกันมีอยู่ประมาณ 10-12 คน ซึ่งแต่ละหน่วยมีจำนวนคนไม่เท่ากัน แบ่งเป็นอำเภอละประมาณ 10 คน ทำให้จำนวนคนไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ไฟไหม้ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดแคลนแรงงานเหมือนกับพยาบาล 

ด้าน สมบัติ บุญงามอนงค์ ตัวแทนดับไฟป่าของมูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า หน่วยของตนเองประจำอยู่ที่จังหวัดเชียงรายแต่ช่วงนี้ไม่มีสถานการณ์ไฟป่า จึงมาช่วยที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน

ขณะที่ ณัฐพล สิงห์เถื่อน หัวหน้าศูนย์อาสาสมัครรับผิดชอบกรณีไฟป่า มูลนิธิกระจกเงา ได้เล่าถึงแผนงานปฏิบัติงานประจำวันว่า ใกล้ฐานที่ตั้งมีบริเวณไหนเกิดสถานการณ์ไฟป่าบ้าง หลังจากนั้นก็จะทำการบินโดรนเพื่อสำรวจ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการวัดจุดฮอตสปอตของจังหวัด โดยจะดูความเป็นจริงว่าทิศทางไฟจะไปทางใด ทั้งนี้จุดฮอตสปอตจะเกิดขึ้นช่วงเวลาประมาณ 02.00 น. แต่เมื่อถึงช่วงเช้าไฟก็จะลุกลาม 

ดังนั้นจึงต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เพราะจุดฮอตสปอต ไม่ใช่ข้อมูลเรียวไทม์จึงจำเป็นต้องมีการบินโดรนสำรวจไฟลามไปถึงจุดไหนแล้ว ขณะเดียวกันฐานปฏิบัติการนี้ ต้องยอมรับว่ามีเครื่องบินโดรนน้อยมากในการสำรวจจุดกำเนิดไฟ และเมื่อทราบจุดไฟไหม้ที่ชัดเจนแล้วก็ จะแบ่งทีมไปจุดนั้น โดยจะใช้ภาพโดรนของมูลนิธิกระจกเงาประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น 

"หน่วยงานรัฐยังขาดแคลนอุปกรณ์ เช่น โดรนบินสำรวจ ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่ได้ซื้อมาใช้เอง แต่ไม่ใช่โดนความร้อนใช้เพื่อดูแนวไฟ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเห็นความจำเป็นของการใช้โดรนเพื่อดูแนวของไฟ เพื่อปฏิบัติภารกิจในการดับไฟป่า เป็นต้น 

5 ปีที่ผ่านมาเราเป็นเหมือนทีมดับไฟแทนเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เป้าหมายของเราคือเราจะศึกษาพฤติกรรมการดับไฟเทคโนโลยีการใช้เครื่องมือต่างๆ และเชื่อมโยงกับภาครัฐและสิ่งที่เราเห็นข้อจำกัดของภาครัฐมี เราอยากให้ภาครัฐใช้ในสิ่งที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน” ณัฐพลกล่าว

อย่างไรก็ตามพบว่า การเกิดไฟป่าเกิดจากมนุษย์ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ของอุทยานและป่าไม้ ที่ไม่ใช่ในพื้นที่ทางการเกษตรอย่างที่รัฐบาลเข้าใจ 

พิธา กล่าวว่า มูลนิธิกระจกเงา ต้องการที่จะใช้ความร่วมมือและเทคโนโลยีเพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมไฟและเข้าไปถึงให้เร็วที่สุดและได้รับรู้การใช้จำนวนคนที่จะเข้าไปช่วยดับไฟให้ได้มากที่สุด

จากนั้น พิธา พร้อมด้วยเหยี่ยวไฟและอาสาสมัครฯ ได้เดินทางไปปฏิบัติการดับไฟไหม้ป่าจริงที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ โดยได้มีการเตรียมตัว ทั้งหมวก หน้ากาก อาหารพร้อมน้ำดื่มเข้าไปด้วย เพราะอาจจะต้องใช้ระยะเวลาเดินเข้าไปในพื้นที่

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์