



‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการคณะก้าวหน้า บรรยายวิชาการ “ศาลรัฐธรรมนูญกับการยุบพรรคการเมือง” ว่า แนวคิดของการมีศาล รธน. จากตะวันตก หลักการเป็นกฎหมายสูงสุดของ รธน. เพื่อคำ้ประกันหลักการ และการตรวจสอบเสียงข้างมาก คุ้มครองเสียงข้างน้อย ป้องกันพวกมากลากไป ส่วนแนวคิดการ ‘ยุบพรรคการเมือง’ มาจากตั้งแต่ รธน. ยุคหลังสงครามโลก หรือแนวคิด Militant Democracy ที่เป็นผลพวงจากการได้ผู้นำแบบ ‘ฮิตเลอร์’ และลัทธินาซี โดย Karl Loewenstan ช่วงปี 1891-1973 เพื่อเป็นประชาธิปไตยที่ปกป้องตัวเองได้
สำหรับไทยนำศาล รธน. นำเข้าจากตะวันตก ใส่ใน รธน.40 เป็นครั้งแรก ตามเทรนด์นิยม แล้วออกแบบให้เป็นแบบไทยๆ โดน ‘ตัดต่อพันธุกรรม’
พร้อมกันนี้ ‘ปิยบุตร’ ยกแนวทางยุบพรรคการเมืองของ ‘คณะกรรมการเวนิส’ 7 ข้อ ได้แก่
- เสรีภาพในการรวมตัวก่อตั้งพรรคการเมือง
- กรรยุบพรรค ต้องเคารพอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนของยุโรปและข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง
- พรรคที่ถูกยุบต้องใช้ความรุนแรงในการล้มล้างระบบรัฐธรรมนูญอันเป็นประชาธิปไตย
- พรรคไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของสมาชิกที่ไม่ได้รับอนุญาตจากพรรคให้กระทำการ
- การยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้าย
- การยุบพรรคเป็นข้อยกเว้น เคร่งครัด และต้องเป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุ
- ศาล รธน. หรือศาลอื่นมีอำนาจยุบพรรค ต้องมีกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรม
จากนั้น ‘ปิยบุตร’ ได้ย้อนอดีตช่วงปี 2550-2563 ที่มี 6 พรรคการเมืองถูกยุบ ที่มีผลต่อการเมือง รวมทั้งการตัดสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรค ได้แก่ พรรคไทยรักไทย , พรรคชาติไทย , พรรคมัชฌิมาธิปไตย , พรรคพลังประชาชน , พรรคไทยรักษาชาติ และ พรรคอนาคตใหม่ ที่โดนยุบพรรคคดีเงินกู้
กรณีล่าสุดคือ ‘พรรคก้าวไกล’ ที่ถูกข้อหาล้มล้างการปกครองฯ โดย ‘ปิยบุตร’ ชี้ถึงพัฒนาการ ‘ข้อกล่าวหา’ ถึงการยุบพรรค จากจุดเล็กๆในเรื่อง กม.เลือกตั้ง ที่พัฒนามาสู่การล้มล้างการปกครองหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง
อย่างไรก็ตาม ‘ปิยบุตร’ ได้กล่าวถึงอนาคตศาล รธน. ไทย จะ ‘ยกเลิก’ หรือ ‘ไปต่อ’ ถ้าไปต่อจะไปอย่างไร
.
ซึ่ง ‘ปิยบุตร’ ระบุว่าถึงเวลาปฏิรูปศาล รธน. 4 ข้อ ได้แก่
- โดยเสนอให้เปลี่ยนองค์ประกอบและกระบวนการได้มาซึ่งตุลาการศาล รธน. เช่น โควต้า 3:3:3 ได้แก่ ฝ่ายค้าน-รัฐบาล-ตุลาการเลือกกันเอง มีการระบุคุณสมบัติชัดเจน
- ตีกรอบเขตอำนาจศาล รธน. ให้ลดลงและเคร่งครัด เช่น การยุบพรรค จะตีกรอบอย่างไร - เสนอให้แต่ละพรรคการเมืองในสภาฯ ร่วมเสนอกฎหมายยกเลิกยุบพรรค เป็นต้น
- ยกเลิกความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล รธน.
- สร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลศาล รธน. เช่น การให้อำนาจสภาฯ ถอดถอนตุลาการศาล รธน. ได้ , ศาล รธน. ไม่ควรมีอำนาจตรวจสอบการแก้ไข รธน. เพราะเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
การพิจารณายุบพรรควันนี้ไม่ได้สำคัญต่อพรคคก้าวไกลเท่านั้น แต่สำคัญต่อประเทศด้วย ชะตากรรมนักการเมืองเหล่านี้ ในส่วนที่ไม่ถูกตัดสิทธิ ก็จะเดินก้าวต่อไปยังพรรคใหม่ และเชื่อว่าการเลือกตั้งปี 2570 จะได้รับคะแนนเสียงมากกว่าเดิม
ปิยบุตร แสงกนกกุล
เลขาธิการคณะก้าวหน้า ทิ้งท้ายด้วยว่า “จะผ่านไปกี่ปี ก็ต้องมีศาล รธน. ซึ่งทำหน้าที่รักษา รธน. จริงๆ และรักษาประชาธิปไตยจริงๆ”