เตือนประชุมลับเมียนมา ขัดต่อมารยาททางการทูต

19 มิ.ย. 2566 - 09:05

  • ‘กัณวีร์’ ชี้ ประชุมลับผลกระทบเมียนมา ไม่ควรทำ เพราะขัดมารยาททางการทูต อาจเกิดข้อผูกมัดต่อรัฐบาลชุดใหม่

  • มอง 4 ประเทศอาเซียนไม่เข้าร่วม อาจเห็นต่าง ควรพูดคุยทุกฝ่าย

Security-meeting-Myanmar-and-neighboring-countries-SPACEBAR-Hero
วันนี้ (19 มิ.ย. 66) นายกัณวีร์ สืบแสง พรรคเป็นธรรมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงประเด็นเรื่องการประชุมลับของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาขัดแย้งในประเทศเมียนมา ระบุว่า ตามที่ได้พูดไปว่ามารยาททางการทูต และการเมือง แม้จะเป็นรักษาการก็ไม่ควรเรียกประชุม แม้ทางรัฐมนตรีรักษาการ จะระบุว่าเป็นการประชุมที่ทำประจำ และเคยประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ก็ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ เพราะการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการก็อาจเกิดการมุ่งมั่นในการทำอะไรสักอย่างขึ้นมาได้ และจะกลายเป็นข้อผูกมัด ถ้ารัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาในการบริหารประเทศยังไม่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหา ในการพูดคุยเพื่อการรักษาสันติภาพในเมียนมา อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งมากกว่าข้อดี 

ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงการประชุมในครั้งนี้จะส่งต่อพรรคร่วมรัฐบาลในการทำงานต่อหรือไม่ นายกัณวีร์ ระบุว่า มีผลกระทบอยู่แล้ว แต่เราเห็นข้อดีในแง่ร้าย คือในประเทศอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซียก็ไม่เข้าร่วม แสดงให้ความชัดเจนว่าแนวทางของอาเซียนมีการเห็นต่างการประชุมครั้งนี้ หากรออีก 4 สัปดาห์จะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา และจะเป็นแนวทางที่ดีที่ 

“สันติภาพในเมียนมาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำเป็นต้องพูดคุยกัน ทำความเข้าใจให้หมดทุกประเทศในอาเซียน แต่ตอนนี้เมียนมาเป็นประเทศที่มาจากผู้สถาปนาอำนาจตัวเองจากปลายกระบอกปืน มาเป็นตัวแทนของประเทศเมียนมาก็แปลก ๆ ยังมีอีกหลายกลุ่มอย่างกองกำลังชาติพันธุ์ที่ถืออาวุธอยู่ ก็เห็นต่างในส่วนนี้ จึงต้องพูดคุยกันในทุกส่วน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกัน” 

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า จะมีการนำเสนอต่อพรรคร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ นายกัณวีร์ ระบุว่า พรุ่งนี้มีการประชุมของคณะกรรมการประสานงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ตนเองในฐานะตัวแทนพรรคเป็นธรรมจะเสนอเรื่องนี้เอง โดยทางพรรคก้าวไกลได้กำหนดไว้ว่าการตั้งคณะกรรมการต้องเป็นปัญหาที่กระทบต่อประชาชน เรื่องการต่างประเทศยังไม่มีการคุยกัน แต่ตนเองเห็นถึงความสำคัญของจุดยืนทางการทูตในเวทีโลก จึงมีความสำคัญเร่งด่วนในการสร้างจุดยืนทางการทูตของไทยให้ชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ 

ผู้สื่อข่าวถามต่อเรื่องของเมียนมากระทบอย่างไรบ้างต่อจุดยืนทางการทูตของประเทศไทย และจะมีการปรับตัวอย่างไร นายกัณวีร์ ระบุว่า จุดยืนทางการทูตของไทยตั้งแต่สงครามเย็น เน้นทวิภาคี พูดคุยกัน 2 ประเทศ เน้นอนุรักษ์นิยม ความมั่นคง เราจำเป็นต้องใช้กรอบใหญ่กว่านี้ คือ พหุภาคี คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้น เพราะสิทธิมนุษยชนที่เสนอไปในประชามติ 5 ข้อของอาเซียน ยังไม่ได้สะท้อนถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในเมียนมา หลังจากการรัฐประหารในวันที่ 1 ก.พ. 64 ก็ยังไม่มีองค์กรหรือประเทศใดในการพูดคุยเรื่องนี้ เราจำเป็นต้องแสงความเป็นผู้นำ และกล้าแสดงออกว่ามีการลิดรอนสิทธิอย่างรุนแรง ควรใข้เวลานี้ แสดงจุดยืนให้ชัดเจน ตนเองเห็นในวงที่เข้าร่วมการประชุมวันนี้ ที่ไม่ได้มาจากอาเซียนอย่างประเทศจีน และประเทศอินเดียเข้าร่วมการประชุมด้วย ควรรวมประเทศใกล้เคียงเมียนมาให้หมดทั้ง 5 ประเทศในการแก้ไขเรื่องนี้

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์