ถามจุกๆ! 9 ประเด็นโยง ‘เศรษฐกิจ-ปากท้อง’

25 มี.ค. 2567 - 06:15

  • ‘สว.’ ถามจุกๆ ‘รัฐบาลเศรษฐา’ 9 ประเด็นโยง ‘เศรษฐกิจ-ปากท้อง’

  • เหน็บไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ หรือศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำ จึงไม่โต?

  • มีเป้าหมายระยะยาว ให้พ้นกับดักรายได้ปานกลางหรือไม่?

Senator_asks_9_issues_regarding_economy_livelihood_SPACEBAR_Hero_1419c47853.jpg

เพียงแค่คิวแรกๆ ก็กระหน่ำใส่ ‘รัฐบาลเศรษฐา’ กันแบบไม่ยั้ง สำหรับศึกการประชุมวุฒิสภา พิจารณาญัตติด่วนขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 

โดยในช่วงของ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้อภิปรายในด้านปัญหาด้านเศรษฐกิจของชาติและปากท้องประชาชน ว่า เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2566 ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ลงมติเห็นชอบให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมา 11 ก.ย. 2566 รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จึงใช้สิทธิ์ตามมาตรา 153 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงการบริหารราชการแผ่นดิน อัตราการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศไทย เต็มศักยภาพอยู่ที่ร้อยละ 35 แต่ด้วยการคาดการณ์ของเศรษฐกิจในปี 2567 เดิมคาดว่าขยายตัวเกินร้อยละ 3 

แต่วันนี้ ได้ปรับการแก้ใหม่การคาดการณ์ ทั้งจากภาครัฐ, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย: ธปท.) และภาคเอกชน คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวโตต่ำกว่าร้อยละ 3 จึงมีคำถามว่า ไทยโตต่ำกว่าศักยภาพที่มี หรือ ศักยภาพเศรษฐกิจไทยต่ำ จึงไม่โต

พร้อมตั้งคำถาม 9 ประเด็นดังนี้

1\. รัฐบาลจะมีนโยบายเชิงโครงสร้างทำให้เศรษฐกิจเติบโตเต็มศักยภาพหรือมากกว่านั้นได้อย่างไร การเติบโตที่ดีต้องเติบโตอย่างทั่วถึง และไม่เพียงจะมีประชาธิปไตยทางการเมือง แต่ต้องมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วย

2\. รัฐบาลจะมีเป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำ 62 จังหวัด ที่เติบโตน้อยได้ยังไง

3\. รัฐบาลมีแผนที่ชัดเจนในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจสี่ภาคอย่างไร

4\. รัฐบาลมีนโยบายที่จะจัดสรรรายได้ท้องถิ่นให้ถึงร้อยละ 35 หรือไม่อย่างไร

5\. รัฐบาลผลักดันเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตเพิ่มของภาคการเกษตรอย่างไร

6\. รัฐบาลมีแนวทางที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างไร

7\. รัฐบาลมีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ในการบูรณาการนโยบายซอฟต์พาวเวอร์สาขาอย่างไร, ได้มีการพัฒนาทักษะ หนึ่งครอบครัวหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ ไปแล้วมากน้อยเพียงใด ผ่านทางกลไกหรือหน่วยงานใด และจะดำเนินการจัดตั้ง THACCA (Thailand Creative Culture Agency: หน่วยงานที่รวบรวมงบประมาณและภารกิจสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เข้าไว้ด้วยกัน) เมื่อใด, โดยวิธีการใด  

8\. รัฐบาลจะผลักดันไปใช้ Digital ID กับ Digigal Payment ให้ทุกหน่วยงานเข้ามาอย่างไร รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลมาไว้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจใช้สังคม หรือไม่อย่างไร

9\. รัฐบาลจะมีเป้าหมายระยะยาว ในการให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางหรือไม่อย่างไร

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์