ไทยเอาบ้างไหม? ‘เกาหลีใต้’ เริ่มเก็บค่าแก้วใช้แล้วทิ้ง หวังลดขยะ!

8 กันยายน 2566 - 07:07

seoul-charge-300-won-single-use-cups-2025-SPACEBAR-Hero
  • เพื่อลดขยะและเพิ่มอัตราการรีไซเคิล รัฐบาลเกาหลีใต้จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจำนวน 300 วอน (ประมาณ 8 บาท) สำหรับแก้วแบบใช้ได้ครั้งเดียวที่ใช้ในร้านกาแฟต่างๆ ในเมืองซึ่งจะเริ่มเก็บในปี 2025

เพื่อลดขยะและเพิ่มอัตราการรีไซเคิล รัฐบาลเกาหลีใต้จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจำนวน 300 วอน (ประมาณ 8 บาท) สำหรับแก้วแบบใช้แล้วทิ้งที่ใช้ในร้านกาแฟต่างๆ ในเมืองซึ่งจะเริ่มเก็บในปี 2025  

โดยลูกค้าจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนนี้ในลักษณะของเงินมัดจำ จากนั้นเมื่อลูกค้านำถ้วยที่ใช้กลับมาคืน ลูกค้าจะได้เงินมัดจำคืนผ่านแอปพลิเคชันที่ดำเนินการโดยองค์กรบริหารจัดการระบบฝากบรรจุภัณฑ์ (Container Deposit System Management Organisation)  

ระบบฝากแก้วดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ จะเป็นการดึงข้อมูลเชิงลึกจากโครงการต่างๆ ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ในเมืองเซจง และเกาะเชจู โดยจะเป็นการทำงานร่วมกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมเพื่อเลือกธุรกิจที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ระบบและกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้แนะนำโครงการนำร่องที่ลูกค้าจะได้รับส่วนลดค่าเครื่องดื่ม 300 วอน หรือราว 8 บาท หากพวกเขานำแก้วมาเองที่ร้านกาแฟ โดยส่วนลดดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนลดที่เพิ่มเติมเข้ามาจากโปรโมชันที่ร้านมีอยู่แล้ว เช่น ถ้าทางร้านมีโปรลดราคาสำหรับลูกค้าที่นำแก้วมาเอง สิ่งนี้จะลดเพิ่มเข้าไปอีก  

โดยโครงการนี้จะถูกนำร่องในร้านกาแฟ 100 แห่งทั่วกรุงโซลจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2023  

ร้านกาแฟในอาคารขนาดใหญ่สร้างขยะพลาสติกมากกว่า 300 กิโลกรัมต่อวัน จะได้รับการส่งเสริมให้ใช้แก้วที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้สถานที่อำนวยความสะดวกสาธารณะอื่นๆ เช่น โรงภาพยนตร์ และสนามกีฬา ก็จะต้องใช้ถ้วยแบบใช้ซ้ำได้เช่นกัน  

สถานที่อำนวยความสะดวกที่ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจำนวนมาก อย่างเช่น สถานที่จัดงานศพ และสถานกีฬา จะถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์ที่ใช้ถ้วย และภาชนะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วระดับของเสียจะลดลงถึง 80% 

จากข้อมูลนี้ โซลวางแผนที่จะขยายการใช้ระบบฝากบรรจุภัณฑ์ไปยังศูนย์การแพทย์ และสถานฝังศพขนาดใหญ่ทั้งหมดในเมืองในปี 2024 สวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน และจุดปิกนิกกลางแจ้งยอดนิยมในเมืองหลวง จะห้ามนักท่องเที่ยวใช้ภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง 

จากสวนสาธารณะใกล้สะพานจัมซูในปี 2023 ไปจนถึงสวนสาธารณะ ตุกซอมฮันกัง (Ttukseom Hangang) และสวนสาธารณะพันโพฮันกัง (Banpo Hangang) ในปี 2024 สวนสาธารณะริมแม่น้ำฮันทั้งหมดจะถูกกำหนดให้เป็น ‘โซนพลาสติกเป็นศูนย์’ 

รัฐบาลเกาหลีใต้วางแผนที่จะเพิ่มจำนวนสถานที่แยกขยะรีไซเคิลใกล้กับบ้านเดี่ยว และพื้นที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งขยะรีไซเคิลส่วนใหญ่จะถูกผสมเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันโซลมีไซต์แยกขยะ 13,000 แห่งที่ดำเนินการอยู่ และมีแผนจะเพิ่มเป็น 20,000 แห่งภายในปี 2026 

รัฐบาลเมืองจะบังคับใช้การรีไซเคิลขวดพลาสติกใสแยกจากฉลากอย่างจริงจัง ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2021 ขณะที่รัฐบาลเมืองก็กำลังพิจารณาวิธีการอนุญาตให้ผู้อยู่อาศัยแลกเปลี่ยนขยะรีไซเคิลเป็นถุงขยะทั่วไป 

ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นรายวันในกรุงโซลเพิ่มขึ้นจาก 896 ตันในปี 2014 เป็น 2,753 ตันในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 200% ในอัตรานี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ขยะพลาสติกในแต่ละวันจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 40% ในปี 2026 ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนดังกล่าว รัฐบาลกรุงโซลคาดการณ์ว่าภายในปี 2026 ขยะพลาสติกในแต่ละวันจะลดลง 10% จาก 2,753 ตันเป็น 2,478 ตัน และอัตราการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นจาก 69% เป็น 79%

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์