



“ตัดเกรดแล้ว คำแถลงของนายกฯ เศรษฐา ให้อยู่เกรดเดียวกันกับคุณประยุทธ์ คุณประยุทธ์อาจแถลงดีกว่าด้วยซ้ำไป เพราะอย่างน้อยก็ยาวกว่า ที่น่าผิดหวังไปกว่านั้น คือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ไม่รักษามาตรฐานที่เคยทำไว้ได้ดีมากในสมัยของยิ่งลักษณ์์ (ชินวัตร) ที่คำแถลงนโยบายมีเป้าหมายชัดเจน มีการลงรายละเอียดและนโยบายที่ใช้หาเสียงและอยู่บรรจุเกือบทั้งหมด”
หนึ่งในประโยคอภิปรายของ ‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่วันนี้ (11 กันยายน 2566) มาพร้อมกับ ‘โบว์ใหญ่สีขาว’ ่สะดุดสายตา กลางที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162
ในฐานะขุนพลฝ่ายค้าน ที่ได้ลุกอภิปรายเป็นคนแรก ศิริกัญญาใช้เวลาประมาณเวลา 30 นาที ในการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาแถลงของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อความว่า การแถลงนโยบายสำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นกลไลในการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลในฝ่ายบริหารประเทศ และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามไปตลอด 4 ปี
การแถลงนโยบายที่ดีจะกู้คืนความเชื่อมั่น ความศรัทธาของประชาชนของรัฐบาลใหม่ ใน 4 ปีข้างหน้า จะนำความก้าวหน้าอะไรมาให้กับประชาชน พร้อมเปรียบเทียบ ว่าการแถลงนโยบายเสมือนเป็นระบบ GPS แต่เท่าที่รับฟัง ส่วนตัวคิดว่าไม่ต่างอะไรจากเอกสารที่มีออกมาก่อนหน้า เพราะเป็นแค่คำอธิษฐานลอย ๆ ไม่มีการใส่ตัวเลขหรือตัวชี้วัดที่สามารถวัดได้ หากพรรคการเมืองไหน ตระบัดสัตย์ ไม่ใส่นโยบายที่เคยหาเสียงไว้ในการแถลงนโยบาย ก็อาจจะถือว่าทรยศประชาชน ทั้งนี้ ได้ตัดเกรดคำแถลง ว่าใกล้เคียงกับสมัย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งบางขณะดูเหมือนพลเอกประยุทธ์จะชี้แจงได้ดีกว่า
ทั้งนี้ ได้มีการการเปรียบเทียบกับการแถลงนโยบายของ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ส่วนตัวให้คะแนนเเต็ม เพราะมีการพูดถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สมดุลมากขึ้น และมีการพูดถึงกรอบการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะนโยบายก่อนหาเสียงก็ถูกบรรจุในวาระแทบทุกนโยบาย
นอกจากนี้ ศิริกัญญายังยกตัวอย่าง นโยบายที่หาเสียงไว้ของพรรรเพื่อไทยมาด้วย เช่น นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน , เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท, ทุกครัวเรือนมีรายไม่น้อยกว่า 20,000 บาท เป็นต้น ซึ่งการแถลงในวันนี้ กลับระบุแบบกว้าง ๆ เชน่น พักหนี้ตามความเหมาะสม ค่าแรงขั้นต่ำ และ เงินเดือนที่เป็นธรรม ทุกครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น ที่สำคัญไม่ม เรื่องการปรับลดอัตราโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายด้วย
“ตอนนี้เราได้นายกฯ มาจากภาคเอกชน ก็หวังว่าจะนำแนวทางการบริหารภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นเลย อยากให้คิดว่าถ้าเป็นผู้บริหารใหม่ มาในการประชุม จะทำแบบนี้หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับตอนเป็นผู้บริหารบริษัทแสนสิริ ท่านมีกรอบเวลาชัดเจนกว่ามาก”
ในส่วนนโยบายโครงการเงินดิจิตอล วอลเล็ต 1 หมื่นบาทนั้น ศิริกัญญา ระบุว่า รัฐจำเป็นต้องใช้เงิน 560,000 ล้านบาท ซึง1 บาท เท่ากับ 1 เหรียญหรือไม่ ขึ้นกับแหล่งที่มาเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่สามารถนำเงินทั้งหมดมาประคอง จะีเกิดปัญหากับแม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่จัดทำโครงการคนละครึ่ง แต่ครั้งนี้อาจจะรุนแรงกว่าในการกำหนดกฎเกณฑ์การแลกเงินดิจิทัล และยังไม่ชัดว่าจะมีแหล่งที่มาของเงินดังกล่าว หากเทียบตอนหาเสี่ยงเช่น การเก็บภาษี 260,000 ล้านบาทจากภาษี
อย่างไรก็ตาม ศิริกัญญา ได้ฝากถึงรัฐบาลว่า ขอให้จัดลำดับความสำคัญ การบริหารราชการแผ่นดิน เพราะไม่ใช่การพนัน จะเทหมดหน้าตักแบบนั้นไม่ได้ ไปหวังเอาน้ำบ่อหน้าไม่ได้ ถึงเวลาตั้งใจฟังเสียงที่ไม่ได้ยินด้วย
หนึ่งในประโยคอภิปรายของ ‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ สส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่วันนี้ (11 กันยายน 2566) มาพร้อมกับ ‘โบว์ใหญ่สีขาว’ ่สะดุดสายตา กลางที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162
ในฐานะขุนพลฝ่ายค้าน ที่ได้ลุกอภิปรายเป็นคนแรก ศิริกัญญาใช้เวลาประมาณเวลา 30 นาที ในการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาแถลงของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อความว่า การแถลงนโยบายสำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นกลไลในการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลในฝ่ายบริหารประเทศ และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามไปตลอด 4 ปี
การแถลงนโยบายที่ดีจะกู้คืนความเชื่อมั่น ความศรัทธาของประชาชนของรัฐบาลใหม่ ใน 4 ปีข้างหน้า จะนำความก้าวหน้าอะไรมาให้กับประชาชน พร้อมเปรียบเทียบ ว่าการแถลงนโยบายเสมือนเป็นระบบ GPS แต่เท่าที่รับฟัง ส่วนตัวคิดว่าไม่ต่างอะไรจากเอกสารที่มีออกมาก่อนหน้า เพราะเป็นแค่คำอธิษฐานลอย ๆ ไม่มีการใส่ตัวเลขหรือตัวชี้วัดที่สามารถวัดได้ หากพรรคการเมืองไหน ตระบัดสัตย์ ไม่ใส่นโยบายที่เคยหาเสียงไว้ในการแถลงนโยบาย ก็อาจจะถือว่าทรยศประชาชน ทั้งนี้ ได้ตัดเกรดคำแถลง ว่าใกล้เคียงกับสมัย ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งบางขณะดูเหมือนพลเอกประยุทธ์จะชี้แจงได้ดีกว่า
ทั้งนี้ ได้มีการการเปรียบเทียบกับการแถลงนโยบายของ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ส่วนตัวให้คะแนนเเต็ม เพราะมีการพูดถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สมดุลมากขึ้น และมีการพูดถึงกรอบการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะนโยบายก่อนหาเสียงก็ถูกบรรจุในวาระแทบทุกนโยบาย
นอกจากนี้ ศิริกัญญายังยกตัวอย่าง นโยบายที่หาเสียงไว้ของพรรรเพื่อไทยมาด้วย เช่น นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน , เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท, ทุกครัวเรือนมีรายไม่น้อยกว่า 20,000 บาท เป็นต้น ซึ่งการแถลงในวันนี้ กลับระบุแบบกว้าง ๆ เชน่น พักหนี้ตามความเหมาะสม ค่าแรงขั้นต่ำ และ เงินเดือนที่เป็นธรรม ทุกครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น ที่สำคัญไม่ม เรื่องการปรับลดอัตราโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายด้วย
“ตอนนี้เราได้นายกฯ มาจากภาคเอกชน ก็หวังว่าจะนำแนวทางการบริหารภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นเลย อยากให้คิดว่าถ้าเป็นผู้บริหารใหม่ มาในการประชุม จะทำแบบนี้หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับตอนเป็นผู้บริหารบริษัทแสนสิริ ท่านมีกรอบเวลาชัดเจนกว่ามาก”
ในส่วนนโยบายโครงการเงินดิจิตอล วอลเล็ต 1 หมื่นบาทนั้น ศิริกัญญา ระบุว่า รัฐจำเป็นต้องใช้เงิน 560,000 ล้านบาท ซึง1 บาท เท่ากับ 1 เหรียญหรือไม่ ขึ้นกับแหล่งที่มาเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่สามารถนำเงินทั้งหมดมาประคอง จะีเกิดปัญหากับแม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่จัดทำโครงการคนละครึ่ง แต่ครั้งนี้อาจจะรุนแรงกว่าในการกำหนดกฎเกณฑ์การแลกเงินดิจิทัล และยังไม่ชัดว่าจะมีแหล่งที่มาของเงินดังกล่าว หากเทียบตอนหาเสี่ยงเช่น การเก็บภาษี 260,000 ล้านบาทจากภาษี
อย่างไรก็ตาม ศิริกัญญา ได้ฝากถึงรัฐบาลว่า ขอให้จัดลำดับความสำคัญ การบริหารราชการแผ่นดิน เพราะไม่ใช่การพนัน จะเทหมดหน้าตักแบบนั้นไม่ได้ ไปหวังเอาน้ำบ่อหน้าไม่ได้ ถึงเวลาตั้งใจฟังเสียงที่ไม่ได้ยินด้วย