ในแวดวงการเมืองไทยพบว่ามี ‘แพทย์’ มาดำรงตำแหน่งต่างๆ จำนวนมาก หลายคนพลิกผันชีวิตจาก ‘วิชาชีพแพทย์’ มาสู่ ‘การเมือง’ อย่างรวดเร็ว หลายคนอยู่ในวงการแพทย์หลายปีก่อนมาสู่สนามการเมือง ที่น่าสนใจคือหลายคนมี ‘บทบาทนำ’ อย่างมาก ในยุคนี้ชื่อที่มาแรงคือ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่จบจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นเดียวกับ นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ สส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย และ นพ.บัญญัติ เจตนจันทร์ ผู้สมัคร สส.ระยอง เขต 3
นพ.ชลน่าน เคยเป็นแพทย์ประจำโรง รพ.เวียงสา จ.น่าน และเป็น ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน จากนั้นเข้ามาทำงานการเมืองเป็น สส.น่าน อดีตพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2544 เรื่อยมาถึงพรรคเพื่อไทย เป็น สส. หลายสมัย อย่างไรก็ตาม นพ.ชลน่าน เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมัยเป็นนักเรียนแพทย์ชั้นปี 5 เพราะสนใจการเมืองมาตั้งแต่เรียนหนังสือ
นพ.ภูมินทร์ เดินเข้าสู่วงการการเมืองเร็ว หลังเรียนจบแพทย์ได้ไม่นาน เริ่มเข้าสู่การเมืองเป็น สส.ศรีสะเกษ อดีตพรรคความหวังใหม่ ก่อนย้ายมาสังกัด สส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคไทยรักไทย เคยเป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง นพ.ภูมินทร์ ย้ายมาหลายพรรค โดยได้ลงสมัคร สส.ศรีสะเกษ อดีตพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2562 ลงสมัคร สส.ศรีสะเกษ พรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จนล่าสุดย้ายมาสมัคร สส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย จึงได้รับการเลือกตั้ง
สำหรับ นพ.ภูมินทร์ สนใจการเมืองมาตั้งแต่มัธยม จนมาเป็นนักศึกษาแพทย์ ชั้นปี 1 เคยเป็นยุวประชาธิปัตย์ ช่วย ‘พิจิตต รัตตกุล’ หาเสียง จึงมีสนใจการเมืองมานาน ซึ่ง นพ.ภูมินทร์ เข้าสู่สนามการเมืองก่อนใครเพื่อน
นพ.บัญญัติ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ประจำ รพ.แกลง ปี 2533-2547 ช่วงหนึ่ง นพ.บัญญัติ เคยไปบวชที่สวนโมกข์ด้วย ซึ่งในขณะนั้น ‘สาธิต ปิตุเตชะ’ กำลังหาผู้สมัคร สส. ในเขตที่ นพ.บัญญัติ อยู่ จึงเชิญชวนมาลงสมัคร สส. ช่วงปี 2548 ทำให้ นพ.บัญญัติ ได้ก้าวมาสู่สนามการเมือง ได้เป็น สส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ หลายสมัย จนมาถึงปี 2566 ที่ นพ.บัญญัติ แพ้เลือกตั้งให้กับ ‘นครชัย ขุนณรงค์’ จากพรรคก้าวไกล ต่อมา ‘นคร’ ได้ลาออกจาก สส. เพราะเคยติดคุก 1 ปี 6 เดือน จึงขาดคุณสมบัติในการเป็น สส. ทำให้ต้องมีการ ‘เลือกตั้งซ่อม’
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ เคยมีกระแสข่าวว่า ‘สาธิต’ จะลงสมัครเลือกตั้งซ่อมแทน แต่สุดท้ายมาจบที่ชื่อ นพ.บัญญัติ ซึ่งเป็นชื่อที่ ‘สาธิต’ เป็นผู้เสนอเองในฐานะ รองหัวหน้า ปชป. ดูแลพื้นที่ภาคกลาง ในที่ประชุม กก.บห.พรรคฯ พิจารณา จึงต้องจับตาว่า นพ.บัญญัติ จะฝ่ากระแส ‘ก้าวไกลเอฟเฟกต์’ ในพื้นที่ไปได้หรือไม่ เปรียบเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีของ ปชป. ที่จะทวงคืนพื้นที่ และสุดท้าย นพ.บัญญัติ จะได้เป็น สส. เดินเข้าสภาฯ ตามเพื่อนทั้ง 2 คน หรือไม่ แม้จะต่างพรรค ต่างอุดมการณ์ แต่ ‘มิตรภาพ’ ไม่เคยจาง ในวันที่ ปชป. อาจจับมือ ‘เพื่อไทย’ ตั้งรัฐบาลร่วมกันด้วย
นพ.ชลน่าน เคยเป็นแพทย์ประจำโรง รพ.เวียงสา จ.น่าน และเป็น ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน จากนั้นเข้ามาทำงานการเมืองเป็น สส.น่าน อดีตพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2544 เรื่อยมาถึงพรรคเพื่อไทย เป็น สส. หลายสมัย อย่างไรก็ตาม นพ.ชลน่าน เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมัยเป็นนักเรียนแพทย์ชั้นปี 5 เพราะสนใจการเมืองมาตั้งแต่เรียนหนังสือ
นพ.ภูมินทร์ เดินเข้าสู่วงการการเมืองเร็ว หลังเรียนจบแพทย์ได้ไม่นาน เริ่มเข้าสู่การเมืองเป็น สส.ศรีสะเกษ อดีตพรรคความหวังใหม่ ก่อนย้ายมาสังกัด สส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคไทยรักไทย เคยเป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง นพ.ภูมินทร์ ย้ายมาหลายพรรค โดยได้ลงสมัคร สส.ศรีสะเกษ อดีตพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2562 ลงสมัคร สส.ศรีสะเกษ พรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จนล่าสุดย้ายมาสมัคร สส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย จึงได้รับการเลือกตั้ง
สำหรับ นพ.ภูมินทร์ สนใจการเมืองมาตั้งแต่มัธยม จนมาเป็นนักศึกษาแพทย์ ชั้นปี 1 เคยเป็นยุวประชาธิปัตย์ ช่วย ‘พิจิตต รัตตกุล’ หาเสียง จึงมีสนใจการเมืองมานาน ซึ่ง นพ.ภูมินทร์ เข้าสู่สนามการเมืองก่อนใครเพื่อน
นพ.บัญญัติ เคยรับราชการเป็นนายแพทย์ประจำ รพ.แกลง ปี 2533-2547 ช่วงหนึ่ง นพ.บัญญัติ เคยไปบวชที่สวนโมกข์ด้วย ซึ่งในขณะนั้น ‘สาธิต ปิตุเตชะ’ กำลังหาผู้สมัคร สส. ในเขตที่ นพ.บัญญัติ อยู่ จึงเชิญชวนมาลงสมัคร สส. ช่วงปี 2548 ทำให้ นพ.บัญญัติ ได้ก้าวมาสู่สนามการเมือง ได้เป็น สส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ หลายสมัย จนมาถึงปี 2566 ที่ นพ.บัญญัติ แพ้เลือกตั้งให้กับ ‘นครชัย ขุนณรงค์’ จากพรรคก้าวไกล ต่อมา ‘นคร’ ได้ลาออกจาก สส. เพราะเคยติดคุก 1 ปี 6 เดือน จึงขาดคุณสมบัติในการเป็น สส. ทำให้ต้องมีการ ‘เลือกตั้งซ่อม’
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ เคยมีกระแสข่าวว่า ‘สาธิต’ จะลงสมัครเลือกตั้งซ่อมแทน แต่สุดท้ายมาจบที่ชื่อ นพ.บัญญัติ ซึ่งเป็นชื่อที่ ‘สาธิต’ เป็นผู้เสนอเองในฐานะ รองหัวหน้า ปชป. ดูแลพื้นที่ภาคกลาง ในที่ประชุม กก.บห.พรรคฯ พิจารณา จึงต้องจับตาว่า นพ.บัญญัติ จะฝ่ากระแส ‘ก้าวไกลเอฟเฟกต์’ ในพื้นที่ไปได้หรือไม่ เปรียบเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีของ ปชป. ที่จะทวงคืนพื้นที่ และสุดท้าย นพ.บัญญัติ จะได้เป็น สส. เดินเข้าสภาฯ ตามเพื่อนทั้ง 2 คน หรือไม่ แม้จะต่างพรรค ต่างอุดมการณ์ แต่ ‘มิตรภาพ’ ไม่เคยจาง ในวันที่ ปชป. อาจจับมือ ‘เพื่อไทย’ ตั้งรัฐบาลร่วมกันด้วย