เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ชี้แจงถึงนโยบายพักหนี้เกษตรกร ในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ว่า เรื่องการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งแรก จะมีเรื่องการพักหนี้เข้าสู่ที่ประชุมเป็นเรื่องเร่งด่วน จะทำให้ได้ในไตรมาสสี่ปีนี้ โดยเป็นการพักหนี้ทั้งต้นและดอก พร้อมแผนสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างปลูกและผลิตตามที่ตลาดโลกต้องการ และการพักหนี้ทั้งต้นทั้งดอกนี้ จะทำให้เกษตรกรมีแรงทำมาหากินสร้างรายได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และไม่เสียวินัยการเงินการคลัง เช่น การใช้ปุ๋ยตามการวิเคระห์ดิน ลดจำนวนปุ๋ยเคมี และเพิ่มผลผลิตเพื่อเพิ่มรายได้
ส่วนเรื่องการใช้ดาต้า (Data) เข้ามาสนับสนุนการเพาะปลูกนั้น เราจำเป็นต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร ปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกษตรกรทั่วไป
สำหรับประเด็นเรื่องหมูเถื่อนที่เข้ามานั้น ได้รับฟังปัญหานี้มาก่อนแล้ว เป็นปัญหาใหญ่ที่ลามไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อหาแผนสั่งการต่อไป ขณะที่เรื่องของรายได้ครูและข้าราชการนั้น ถือเป็นภาคส่วนสำคัญในการดูแลประชาชน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ
“รับปากว่าจะไปดูแลเรื่องรายได้ให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยรักษาไว้ซึ่งวินัยการเงินการคลัง” เศรษฐา กล่าว
ด้าน จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจงว่า การแก้ปัญหาการพักหนี้เกษตรกร สมาชิกหลายท่านอภิปรายให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งในฐานะ รมช.คลัง รวมถึงนายกฯ เน้นย้ำการเดินหน้าเรื่องการพักหนี้ เราเตรียมการล่วงหน้าไปมากแล้ว โดยเชื่อมั่นว่า ภายในไตรมาสนี้ จะเดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องการพักหนี้เกษตรได้ การพักหนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะต่อชีวิตให้พี่น้องภาคการเกตร หลังจากนั้น รัฐบาลจะมีโครงการอีกจำนวนมาก พร้อมวางเป้าเพิ่มมูลค่าทางเกษตร ภายใน 4 ปี เพื่อให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้อย่างแท้จริง รวมถึงจะมีการเจรจาการค้าเอฟทีเอ (FTA) กับหลายๆ ประเทศ เพื่อเปิดประตูการค้า เพราะรัฐบาลมองสถานการณ์เอลนีโญ ที่จะเกิดขึ้น เป็นโอกาส เพราะจะเกิดภาวะขาดแคลนด้านอาหารจำนวนมากในโลก
“ถ้าประเทศไทย สร้างความแข็งแกร่งด้านการเกษตรได้ เราจะกลับมาเป็นครัวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ เกษตรกรจะลืมตาอ้าปากได้” จุลพันธ์ กล่าว
จุลพันธ์ กล่าวด้วยว่า ในการพูดถึงสวัสดิการถ้วนหน้า เราต้องตื่นจากความฝันและอยู่กับความเป็นจริง เนื่องจากจีดีพีของไทย ต่ำกว่าประเทศที่ทำสวัสดิการถ้วนหน้ามาก ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่การจัดเก็บภาษี ยังไม่สามารถอยู่ในจุดที่เราจะทำสวัสดิการถ้วนหน้าได้จริงๆ เราเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลกันมาช่วงหนึ่ง ทราบดีว่าข้อจำกัดคืออะไร ซึ่งอยากถามกลับว่า หากท่านต้องการให้ทำสวัสดิการถ้วนหน้า ท่านคาดว่าจะเอางบประมาณมาจากไหน หรือท่านจะเอาเงินมาจากการขายทรัพย์สินของรัฐ มาทำสวัสดิการถ้วนหน้า หรือจะขายกองทุน, กู้แบงก์ แต่สำหรับรัฐบาลนี้ เราตระหนักเรื่องวินัยการเงิน-การคลัง ฉะนั้นเราคงจะทำแบบนั้นไม่ได้
“ด้วยภาระของรัฐบาลปัจจุบัน หากทำสวัสดิการถ้วนหน้า จะเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้ ประเทศไทยยังไม่มีงบประมาณมากเพียงพอที่จะรองรับการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า สิ่งสำคัญที่ทุกท่านทราบ คือรัฐจะต้องจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ยืนยันว่ารัฐบาลมีความตั้งใจเดินหน้าสวัสดิการ โดยรัฐให้กับประชาชนในระดับที่เหมาะสม และจะทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน” จุลพันธ์ กล่าว
ส่วนเรื่องการใช้ดาต้า (Data) เข้ามาสนับสนุนการเพาะปลูกนั้น เราจำเป็นต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกร ปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกษตรกรทั่วไป
สำหรับประเด็นเรื่องหมูเถื่อนที่เข้ามานั้น ได้รับฟังปัญหานี้มาก่อนแล้ว เป็นปัญหาใหญ่ที่ลามไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ เพื่อหาแผนสั่งการต่อไป ขณะที่เรื่องของรายได้ครูและข้าราชการนั้น ถือเป็นภาคส่วนสำคัญในการดูแลประชาชน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญ
“รับปากว่าจะไปดูแลเรื่องรายได้ให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยรักษาไว้ซึ่งวินัยการเงินการคลัง” เศรษฐา กล่าว
ด้าน จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจงว่า การแก้ปัญหาการพักหนี้เกษตรกร สมาชิกหลายท่านอภิปรายให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งในฐานะ รมช.คลัง รวมถึงนายกฯ เน้นย้ำการเดินหน้าเรื่องการพักหนี้ เราเตรียมการล่วงหน้าไปมากแล้ว โดยเชื่อมั่นว่า ภายในไตรมาสนี้ จะเดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องการพักหนี้เกษตรได้ การพักหนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะต่อชีวิตให้พี่น้องภาคการเกตร หลังจากนั้น รัฐบาลจะมีโครงการอีกจำนวนมาก พร้อมวางเป้าเพิ่มมูลค่าทางเกษตร ภายใน 4 ปี เพื่อให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้อย่างแท้จริง รวมถึงจะมีการเจรจาการค้าเอฟทีเอ (FTA) กับหลายๆ ประเทศ เพื่อเปิดประตูการค้า เพราะรัฐบาลมองสถานการณ์เอลนีโญ ที่จะเกิดขึ้น เป็นโอกาส เพราะจะเกิดภาวะขาดแคลนด้านอาหารจำนวนมากในโลก
“ถ้าประเทศไทย สร้างความแข็งแกร่งด้านการเกษตรได้ เราจะกลับมาเป็นครัวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ เกษตรกรจะลืมตาอ้าปากได้” จุลพันธ์ กล่าว
จุลพันธ์ กล่าวด้วยว่า ในการพูดถึงสวัสดิการถ้วนหน้า เราต้องตื่นจากความฝันและอยู่กับความเป็นจริง เนื่องจากจีดีพีของไทย ต่ำกว่าประเทศที่ทำสวัสดิการถ้วนหน้ามาก ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่การจัดเก็บภาษี ยังไม่สามารถอยู่ในจุดที่เราจะทำสวัสดิการถ้วนหน้าได้จริงๆ เราเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลกันมาช่วงหนึ่ง ทราบดีว่าข้อจำกัดคืออะไร ซึ่งอยากถามกลับว่า หากท่านต้องการให้ทำสวัสดิการถ้วนหน้า ท่านคาดว่าจะเอางบประมาณมาจากไหน หรือท่านจะเอาเงินมาจากการขายทรัพย์สินของรัฐ มาทำสวัสดิการถ้วนหน้า หรือจะขายกองทุน, กู้แบงก์ แต่สำหรับรัฐบาลนี้ เราตระหนักเรื่องวินัยการเงิน-การคลัง ฉะนั้นเราคงจะทำแบบนั้นไม่ได้
“ด้วยภาระของรัฐบาลปัจจุบัน หากทำสวัสดิการถ้วนหน้า จะเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้ ประเทศไทยยังไม่มีงบประมาณมากเพียงพอที่จะรองรับการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า สิ่งสำคัญที่ทุกท่านทราบ คือรัฐจะต้องจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ยืนยันว่ารัฐบาลมีความตั้งใจเดินหน้าสวัสดิการ โดยรัฐให้กับประชาชนในระดับที่เหมาะสม และจะทำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แน่นอน” จุลพันธ์ กล่าว