‘ไทย’ ตั้งรับอย่างไร? ‘ชาวเมียนมา’ หนีเกณฑ์ทหาร

16 กุมภาพันธ์ 2567 - 09:56

Thai-Military-Myanmar-Conscript-SPACEBAR-Hero.jpg
  • สถานะของ ‘กองทัพเมียนมา’ อยู่ในช่วง ‘ขาลง’ อย่างมาก หลังประกาศบังคับ ‘เกณฑ์ทหาร’ กับ ‘ชาวเมียนมาชาย-หญิง’ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘หนีเกณฑ์ทหาร’

  • สถานะของ ‘กองทัพเมียนมา’ อยู่ในช่วง ‘ขาลง’ อย่างมาก หลังประกาศบังคับ ‘เกณฑ์ทหาร’ กับ ‘ชาวเมียนมาชาย-หญิง’ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘หนีเกณฑ์ทหาร’ ‘ฝ่ายความมั่นคง’ ฝั่งไทย ประเมินสถานการณ์นี้อย่างไร? ส่งผลกระทบต่อไทยหรือไม่? อีกทั้ง ‘บทบาทไทย’ ควรจะเป็นอย่างไร?

  • สุดท้าย ‘รัฐบาลทหารเมียนมา’ จะหา ‘ทางลง-ทางออก’ จากสถานการณ์นี้อย่างไร?

สถานการณ์ตามแนวชายแดน ‘ไทย-เมียนมา’ กลับมาถูกจับตาอีกครั้ง หลัง ‘กองทัพเมียนมา’ ประกาศบังคับใช้กฎหมาย ‘บังคับเกณฑ์ทหาร’ กับพลเรือนชายและหญิง ชายอายุ 18-35 ปี หญิงอายุ 18-27 ปี และต้องรับใช้กองทัพเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ทำให้เกิดกระแสการ ‘หนีเกณฑ์ทหาร’ เกิดขึ้นกับ ‘ชาวพม่า’ ที่ไม่ใช่ ‘กลุ่มชาติพันธุ์’ ต่างๆ 

สถานการณ์เช่นนี้ ‘ฝ่ายความมั่นคง’ ไม่ได้วิตกกังวลมากนัก เพราะเป็นสถานการณ์ภายในเมียนมาที่ไม่กระทบชายแดนไทย-เมียนมา เนื่องด้วยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ‘ชาวเมียนมา’ ที่อยู่ใจกลางทางลึกในประเทศ ไม่ใช่กับ ‘กลุ่มชาติพันธุ์’ ที่อยู่แนวชายแดน  

ทั้งนี้ ‘ฝ่ายความมั่นคง’ ยอมรับว่า ‘ชาวพม่า’ อพยพมาไทย ตั้งแต่ปี 2564 แล้ว นับตั้งแต่เกิดเหตุสู้รบระหว่าง ‘รัฐบาลเมียนมา- กองกำลังชาติพันธุ์’ แต่เป็นการเข้าเมืองมาอย่างถูกกฎหมาย 

สำหรับ ‘ศูนย์พักพิงชั่วคราว’ ตามแนวชายแดน ที่ผ่านมา ‘ทางการไทย’ ก็ดูชาวเมียนมา ‘ชาติพันธุ์’ ต่างๆ ที่หลบภัยการต่อสู้มาพักชั่วคราว ตามหลักมนุษยชธรรม เมื่อเหตุการณ์สงบชาวเมียนมาที่เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ ก็จะเดินทางกลับ  

ดังนั้งนั้นการที่ ‘กองกำลังชาติพันธุ์’ เข้มแข็งขึ้น ก็ทำให้การต้องหลบภัยสงครามมาฝั่งไทยก็น้อยลง แต่สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ‘กองทัพเมียนมา’ กำลังอ่อนแอลง หลังต้องเรียกเกณฑ์ทหาร สิ่งที่จะตามมาอีกคือจะเกิดการ ‘ทิ้งอาวุธ’ ในกองทัพเมียนมา 

ส่วนกรณีที่ ‘ปานปรีย์ พหิทธานุกร’รองนายฯและรมว.การต่างประเทศ ตั้งจุดมนุษยธรรมระหว่างชายแดนไทย-เมียนมา (Humanitarian Assistance Corridor) อ.แม่สอด จ.ตาก แก่ประชาชนเมียนมา ระหว่างสภากาชาดไทยและสภากาชาดเมียนมา โดยข้อริเริ่มของไทยนี้ได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของอาเซียนในการผลักดันการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ 

แต่ในขณะนี้ได้มีการเตรียมรับ ‘ผู้ได้รับผลกระทบ’ จากการสู้รบ จะไปอยู่ตาม ‘ศูนย์อพยพลี้ภัยจากการสู้รบชั่งคราว’ ในแนวชายแดนไทย-เมียนมา ส่วนใหญ่เป็นเขตวัดที่อยู่ห่างจากแนวชายแดนลึกเข้ามาฝั่งไทย ได้มีกาปรระเมินตัวเลขไว้ที่ประมาณ 20,000 คน  

อีกทั้งในขณะนี้สภากาชาดไทยได้เตรียมสิ่งของจำเป็น เพื่อทยอยจัดส่งให้สภากาชาดเมียนมา นำไปใช้แจกจ่ายให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบในเมียนมา 

‘ฝ่ายความมั่นคง’ มองว่า การที่ไทยไม่สามารถไปเป็น ‘ตัวกลาง’ ในการตั้ง ‘จุดมนุษยธรรมฯ’ ในเมียนมาได้ มีเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการขนส่งและโรงพยาบาลที่ในเมียนมาไม่มีความสะดวกเท่าฝั่งไทย  

แต่ในแง่ภาพ ‘ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ’ เท่ากับว่าเป็นการ ‘ดึงเมียนมา’ กลับเข้ามาอยู่กับ ‘อาเซียน’ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของจีน ที่ในเวลานี้สัมพันธ์ระหว่าง ‘จีน-เมียนมา’ ก็เปลี่ยนไป หลังเกิดปัญหาเรื่อง ‘ทุนจีนสีเทา’ ขึ้นในเมียนมา ทำให้ ‘รัฐบาลจีน’ เข้ามาปราบปราม 

ส่วนบทบาทของไทยก็ใช้กลไก ‘กระทรวงการต่างประเทศ’ นำทาง เพื่อลดภาพระหว่าง ‘ทหาร’ กับ ‘ทหาร’ ซึ่งท่าทีของ ‘รัฐบาลไทย’ ก็ต้องการมีบทบาทนำในเรื่องนี้ สอดรับกับท่าที ‘รัฐบาลทหารเมียนมา’ ที่เปิดรับกับฝ่ายไทย ผ่านสายสัมพันธ์ระดับต่างๆ ระหว่าง 2 ประเทศ จึงต้องจับตาระยะยาวว่าจะนำมาสู่การเจรจาสงบศึกระหว่าง ‘กองทัพเมียนมา - กองกำลังชาติพันธุ์’ ได้หรือไม่  

สิ่งเหล่านี้ เป็นภาพสะท้อนถึง ‘รัฐบาลทหารเมียนมา’ ที่อ่อนพลังลง ต้องหา ‘ทางลง’  ให้กับสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์