ทำไมรัฐบาลมัก ‘รอด’ (ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ)

26 มี.ค. 2568 - 04:05

  • แทบไม่ต้องฟันธง รัฐบาลส่วนใหญ่รอดจากการโหวตไม่ไว้วางใจ

  • เกือบทุกรัฐบาลข้ามผ่านจากเสียงข้างมาก

  • ฝ่ายค้านมักหวังผลจากตีแผ่ข้อมูล สร้างกระแส สร้างแรงกระเพื่อม

Why do-governments-always-survive-in-no-confidence-motions-SPACEBAR-Hero.jpg

ในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทุกครั้ง ส่วนใหญ่รัฐบาลจะรอดผ่านการลงมติไว้วางใจไปเสียทุกครั้ง ทั้งที่ในการอภิปรายเผ็ดร้อนรุนแรง และมีการเอาข้อมูลต่างๆมาตีแผ่ แต่สุดท้ายรัฐบาลประเทศไทย มักจะรอดการลงมติ…ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

ในอดีต การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเกิดที่ไหนครั้งและรัฐบาลมักผ่านการลงมติได้ทุกครั้งเช่น 

พ.ศ. 2519 – รัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่สามารถผ่านการลงมติได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ดำรงตำแหน่งได้เพียงหนึ่งปี ก่อนที่จะถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2520

พ.ศ. 2538 – ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เผชิญกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่สามารถผ่านการลงมติได้ อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกัน รัฐบาลของเขาต้องยุบสภาเนื่องจากปัญหาภายในพรรค

พ.ศ. 2548 – รัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ด้วยเสียงข้างมากในสภา รัฐบาลสามารถผ่านการลงมติได้

พ.ศ. 2555 – ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เผชิญกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่สามารถผ่านการลงมติได้

และ พ.ศ. 2564 – รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เผชิญกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจหลายครั้ง แต่สามารถผ่านการลงมติได้ทุกครั้ง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน แต่เหตุผลที่รัฐบาลมักรอดมาจากเสียงข้างมากในสภา เพราะรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากในสภา มักมี “จำนวน ส.ส.มากพอ” ที่จะโหวตให้ผ่านได้อยู่แล้วถึงฝ่ายค้านจะอภิปรายดุแค่ไหน แต่ถ้า “ตัวเลขมากพอ“ ก็รอด

พรรคร่วมรัฐบาลยึดประโยชน์ร่วมหลายครั้ง พรรคร่วมแม้จะมีปัญหา แต่ก็ไม่อยากให้รัฐบาลล้ม เพราะเสี่ยงจะเสียผลประโยชน์หรือกระทบเก้าอี้รัฐมนตรี

มักจะมีข่าวการเจรจาต่อรอง(ผลประโยชน์)ก่อนโหวตไว้วางใจ และมักจะมี “ดีลการเมือง” ที่เกิดขึ้นหลังฉาก เช่น ปรับ ครม., ให้เก้าอี้รัฐมนตรีแลกเสียง ฯลฯ 

ระบบการเมืองแบบรวมศูนย์พรรคการเมืองในไทย มักมีผู้นำเข้มแข็ง สส.ส่วนใหญ่ต้องโหวตตามมติพรรค ทำให้มี “วินัย” ในการโหวตไว้วางใจ

เหมาะกับการว่าการอภิปรายเป็นการละครการเมืองหรือเปล่า เพราะแทบเดาได้เลยว่า “รัฐบาลจะรอด” เพราะมีเสียงข้างมากอยู่แล้ว หลายครั้งอภิปรายกันเป็นวัน ๆ สุดท้าย “ลงมติไว้วางใจทุกคน” ฝ่ายค้านใช้เวทีนี้เพื่อ “สร้างกระแส” หรือ “จี้ประเด็นร้อน” มากกว่าหวังล้มรัฐบาลจริง เหมือน “ตีแผลให้ประชาชนเห็น” มากกว่า “ผ่าตัดรัฐบาลจริง”

การอภิปรายไม่ใช่เครื่องมือตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจริงๆ ในหลายกรณี ฝ่ายค้านใช้เวทีนี้เพื่อเปิดเผยข้อมูล สร้างกระแส มากกว่าจะหวังล้มรัฐบาลได้จริง จึงควรจับตาสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ผลกระทบที่ตามมาอาจเป็นสิ่งที่ถูกมุ่งหวังไว้มากกว่าสิ่งที่เป็นผลการลงมติ

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์