DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo01.jpg
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo02.jpg
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo03.jpg
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo04.jpg

‘ดีเอสไอ’ ค้น ‘7 แพลนท์ปูน’ เก็บหลักฐานคดี ‘ตึก สตง. ถล่ม’

16 พ.ค. 2568 - 11:55

  • ‘ดีเอสไอ’ ค้น 7 แพลนท์ปูน เก็บหลักฐานคดี ‘ตึก สตง. ถล่ม’ หาแหล่งที่มา ‘ซีเมนต์’ ตรงตาม TOR หรือไม่ ตรวจสอบกระบวนการสั่งซื้อ-การชำระเงินทั้งหมด

DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo01.jpg
‘ดีเอสไอ’ ค้น ‘7 แพลนท์ปูน’
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo02.jpg
‘ดีเอสไอ’ ค้น ‘7 แพลนท์ปูน’
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo03.jpg
‘ดีเอสไอ’ ค้น ‘7 แพลนท์ปูน’
DSI-Cement-Raft-SPACEBAR-Photo04.jpg
‘ดีเอสไอ’ ค้น ‘7 แพลนท์ปูน’

พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เป็นประธานการประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคและโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ  พ.ต.ท. อมร หงษ์ศรีทอง ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และคณะพนักงานสอบสวนได้ร่วมหารือวางแนวทางการปฏิบัติการตรวจค้นเพื่อแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาคารสำนักงาน สตง. ถล่ม ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

โดยแบ่งกำลังเจ้าหน้าที่ออกเป็น 7 ชุด โดยปฏิบัติการตรวจค้นเป้าหมายเป็นจุดส่งคอนกรีตผสมเสร็จ (แพลนท์ปูน) ที่ถูกใช้ในโครงการสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ พร้อมกันทั้ง 7 จุดเป้าหมาย ในพื้นที่ย่านถนนนวลจันทร์ ถนนเพชรพระราม ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร และย่านถนนนครอินทร์ ตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน รวมถึงยึดและอายัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีพิเศษที่ 32/2568

โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะตรวจสอบแหล่งที่มาของซีเมนต์ที่นำมาใช้ และจากข้อมูลการข่าวพบว่าแพลนท์ปูนเหล่านี้มีลักษณะการดำเนินงาน 2 รูปแบบ คือ เป็นแพลนท์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ซีเมนต์โดยตรง และบางแห่งเป็นแพลนท์ที่ดำเนินการในลักษณะแฟรนไชส์ ซึ่งในกรณีหลังนี้จะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าวัตถุดิบซีเมนต์ที่ใช้มาจากบริษัทแม่ทั้งหมดหรือไม่

พ.ต.ต.วรณัน เปิดเผยว่า การปฏิบัติการในวันนี้มุ่งเน้นการตรวจสอบเอกสารย้อนหลังเป็นหลัก เพื่อดูรายละเอียดกระบวนการสั่งซื้อซีเมนต์ วิธีการชำระเงิน และแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เนื่องจากพบว่ามีการสั่งซื้อซีเมนต์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564 ดังนั้นการตรวจสอบจึงเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในอดีต ไม่ได้เน้นการวิเคราะห์ตัวซีเมนต์ที่พบในแพลนท์ปัจจุบัน

การตรวจค้นในครั้งนี้ต้องการทราบแหล่งที่มาของซีเมนต์ว่าตรงตามที่ระบุในเอกสารข้อกำหนดโครงการ (TOR) หรือไม่ หรือมีการนำซีเมนต์จากแหล่งอื่นมาใช้รวมถึงตรวจสอบกระบวนการสั่งซื้อและการชำระเงินทั้งหมด ซึ่งผลการตรวจค้นทั้ง 7 จุดเป้าหมายพบพยานหลักฐาน เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีพอสมควร จะดำเนินการอายัดเพื่อใช้ประกอบในสำนวนคดีต่อไป

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์