ขับรถทางไกลใช้เกียร์ไหน? รถติดใช้เกียร์อะไร? รวมทริคขับรถทางไกลปลอดภัย ประหยัดน้ำมัน

12 เม.ย. 2568 - 02:10

  • สงกรานต์นี้ขับรถกลับบ้านปลอดภัย ดีต่อใจ ดีต่อโลก

ecoeyes_tips_for_Safe_and_Fuel_efficient_long_distance_driving_SPACEBAR_Hero_0850ec3135.jpg

สงกรานต์ ไม่ใช่แค่เทศกาลสาดน้ำและรอยยิ้ม แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่หัวใจของใครหลายคนโหยหาบ้าน ครอบครัว และความอบอุ่นที่เราคุ้นเคยที่สุด แต่ระหว่างทางกลับบ้านอาจเต็มไปด้วยรถติด แดดร้อน และค่าน้ำมันที่พุ่งกระฉูด และเราอาจลืมไปว่า...ทุกการเร่งเครื่องคือการปล่อยควัน ทุกการเปิดแอร์แรงๆ คือการใช้พลังงาน ...และทุกลมหายใจของเรากำลังถูกแบ่งปันกับโลกใบนี้

ขับรถทางไกลเดินทางช่วงสงกรานต์ปีนี้ ลองเปลี่ยนวิธีกลับบ้านแบบเดิมๆ มาเพิ่มเติมวิธีเซฟเรา เซฟโลก ไปพร้อมๆ กัน

ขับรถกลับบ้านยังไง...ให้โลกยิ้มได้ด้วย?

ecoeyes_tips_for_Safe_and_Fuel_efficient_long_distance_driving_SPACEBAR_Photo01_7f13f2f580.jpg
ขับรถทางไกลใช้เกียร์ไหน ช่วยประหยัดน้ำมัน

ขับทางไกล ควรใช้เกียร์ใด?

เทคนิคเลือกใช้เกียร์อย่างฉลาด สำหรับรถเกียร์ธรรมดา (Manual Transmission)

  • เกียร์ 1: ใช้สำหรับการออกตัวจากที่หยุดนิ่ง หรือเมื่อรถต้องการแรงบิดสูง เช่น ขึ้นเนินชัน 
  • เกียร์ 2: ใช้เมื่อรถเคลื่อนที่ช้าๆ หรือเมื่อขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมาก
  • เกียร์ 3: ใช้เมื่อขับบนทางราบหรือทางที่ไม่ชันมาก
  • เกียร์ 4 และ 5: ใช้เมื่อขับด้วยความเร็วสูงบนทางราบ เพื่อ “ประหยัดน้ำมัน” และลดการสึกหรอของเครื่องยนต์

รถเกียร์อัตโนมัติ (Automatic Transmission)

  • เกียร์ D (Drive): ใช้สำหรับการขับขี่ทั่วไปบนทางราบ หรือทางลาดชันเล็กน้อย ระบบจะปรับเกียร์อัตโนมัติตามความเร็วและสภาพการขับขี่
  • เกียร์ D2 หรือ D3: ใช้เมื่อขับขึ้นทางลาดชัน หรือทางที่มีความชันมาก เพื่อเพิ่มแรงบิดและควบคุมความเร็วได้ดีขึ้น 
  • เกียร์ L (Low) หรือเกียร์ B (Brake): ใช้เมื่อขับลงทางลาดชัน หรือทางที่มีความชันมาก เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก ลดการใช้เบรกเท้าและป้องกันการเบรกไหม้ 

รถติด ควรใช้เกียร์ใด?

รถเกียร์ธรรมดา

  • เกียร์ 1 หรือ 2: ใช้เมื่อรถติดขัดหรือจอดนิ่งเป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการสึกหรอของคลัตช์ และ “ประหยัดน้ำมัน”
  • เกียร์ว่าง (N): เมื่อจอดนิ่งนาน ๆ ควรเข้าเกียร์ว่างและดึงเบรกมือ เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของรถ และลดภาระของเครื่องยนต์

รถเกียร์อัตโนมัติ

  • เกียร์ D: ใช้เมื่อการจราจรเคลื่อนที่ช้า ๆ หรือหยุด-ไป-หยุด-ไป เพื่อให้ระบบเกียร์ปรับตัวตามสภาพการขับขี่ 
  • เกียร์ N: เมื่อจอดนิ่งนาน ๆ เช่น ติดไฟแดงนาน ควรเข้าเกียร์ว่างและดึงเบรกมือ เพื่อ “ประหยัดน้ำมัน” และป้องกันการสึกหรอของระบบเกียร์
  • หลีกเลี่ยงการใช้เกียร์ P: ไม่ควรใช้เกียร์ P (Park) เมื่อจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด เนื่องจากอาจทำให้ระบบเกียร์เสียหายหากเกิดการชนท้าย
ecoeyes_tips_for_Safe_and_Fuel_efficient_long_distance_driving_SPACEBAR_Photo02_7ddfb51122.jpg
ขับรถทางไกลใช้ความเร็วเท่าไหร่ ช่วยประหยัดน้ำมัน

ความเร็วที่เหมาะสม

การขับขี่อย่างฉลาดและเข้าใจการใช้พลังงาน ควรขับในความเร็วที่เหมาะสม เพื่อช่วย “ประหยัดเชื้อเพลิง” แนะนำให้ขับด้วยความเร็วคงที่ 80-100 กม./ชม. เนื่องจากเป็นช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดน้ำมัน และยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์อีกด้วย

ทริคลดภาระรถ ลดภาระโลก รักษ์โลกจากการขับขี่

ขนของให้พอดี การขนของหนักเกินจำเป็นจะทำให้รถต้องใช้พลังงานมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น = น้ำมันที่ใช้มากขึ้น ดังนั้น ควรขนของให้พอดีกับความจำเป็นจริงๆ

เช็กลมยางก่อนออกเดินทาง ยางที่ลมอ่อนจะทำให้รถกินน้ำมันมากขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่ายางทุกเส้นมีลมพอดี พร้อมตรวจเช็กสภาพรถก่อนเดินทาง เช่น ระบบเบรก น้ำมันเครื่อง และไฟหน้า จะช่วยให้การเดินทางปลอดภัยขึ้นและยังรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

ปรับแอร์ให้เหมาะสม
การเปิดแอร์เย็นสุดอาจทำให้รู้สึกสบาย แต่มันเป็นการใช้พลังงานที่มากเกินไป หากอากาศไม่ร้อนจัด ลองปรับแอร์ให้เย็นพอเหมาะ และใช้โหมดหมุนเวียนภายในห้องโดยสารจะช่วย “ประหยัดพลังงาน” ได้มากขึ้น

วางแผนเส้นทางก่อนออกเดินทาง
ใช้แอปพลิเคชันแผนที่อย่าง Google Maps หรือแอปจราจรต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีรถติด การเลือกเส้นทางที่ไม่ติดขัดไม่เพียงแค่ประหยัดเวลา แต่ยังช่วยลดการใช้น้ำมันในขณะที่รถหยุดนิ่ง

ขับขี่อย่างมีสติ ขับอย่างไม่เร่งรีบ พักคน พักรถ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ควรหยุดพักทั้งตัวเองและรถยนต์ เพื่อให้ร่างกายและเครื่องยนต์ได้พักผ่อน ช่วยให้การเดินทางปลอดภัยยิ่งขึ้น

ecoeyes_tips_for_Safe_and_Fuel_efficient_long_distance_driving_SPACEBAR_Photo03_8d9b3d4889.jpg
เทศกาลสงกรานต์ขับรถกลับบ้านปลอดภัย ดีต่อใจ ดีต่อโลก

การเดินทางกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ปีนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงแค่การกลับไปหาครอบครัว แต่ยังเป็นการเริ่มต้นในการกลับไปหาวิถีที่ใส่ใจโลก ในการขับขี่ที่ปลอดภัยและรักษ์โลก เราทุกคนสามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นนักรณรงค์ เพียงแค่เริ่มต้นจากหลังพวงมาลัยของตัวเอง เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

ขอให้ทุกการเดินทางในปีนี้ปลอดภัย เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเป็นมิตรกับโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กัน

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์