‘นายกฯ’ ป้อง ‘รมว.อุตฯ’ หลังมีข่าวถูก ‘เอกชน’ ขู่สั่งเด้งพ้นกระทรวง ยันไม่มีใครวิ่งเต้นเรื่องนี้ได้

8 เม.ย. 2568 - 05:39

  • ‘นายกฯ’ คาดใช้เวลาเคลียร์พื้นที่ 1 เดือน ป้อง ‘รมว.อุตสาหกรรม’ หลังมีข่าว ‘บริษัทผลิตเหล็ก’ ขู่สั่งเด้งพ้นกระทรวง ยันไม่มีใครวิ่งเต้นเรื่องนี้ได้

  • ดึง 4 สถาบันวิศวะ-กรมโยธาธิการฯ ร่วมทำโมเดลหาสาเหตุตึกถล่ม คาดใช้เวลา 90 วัน ควบคู่ไปกับการตรวจสอบเรื่องอื่นๆ ลั่นเรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ

  • พร้อมสั่งทบทวนตรวจตึก-อาคารใหม่ ‘ราชการ-เอกชน’ ใหม่ทั้งหมด เพิ่มมาตรการรองรับแผ่นดินไหว

ing_shinawatra_SAO_8_apr_2025_SPACEBAR_Hero_d9ac736ec1.jpg

ที่ทำเนียบรัฐบาล หลัง นายกรัฐมนตรี แพรทองธาร ชินวัตร รับฟังรายงานผลการตรวจสอบอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ถล่ม จากคณะกรรมสอบสืบสวนข้อเท็จจริงฯ 

นายกฯ เปิดเผยว่า วันนี้ (8 เม.ย.)  ได้หลายข้อสรุป และ จากการคุยกันมีข้อสงสัยหลายเรื่อง เป็นข้อสงสัยที่ค่อนข้างสำคัญอย่างมากตั้งแต่เริ่มต้นและในกระบวนการ ส่วนการเคลียร์พื้นที่จุดเกิดเหตุคิดว่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และเมื่อเคลียร์พื้นที่เสร็จแล้วก็จะได้ข้อมูลเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลไปพร้อมกันๆ 

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีข้อสรุป ให้ 4 สถาบันการศึกษาและกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทำโมเดลจำลองเหตุการณ์ตึกถล่มที่เกิดขึ้นจริง เพื่อรับทราบว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ตึกถล่ม เพราะเรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตคน ย้ำว่ารัฐบาลติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด 

จากการพูดคุยกับคณะทำงาน คาดว่าใช้เวลาทำโมเดลประมาณ 90 วัน และส่วนตัวได้ถามทีมงานไปแล้วว่าเร็วกว่านี้ได้หรือไม่ แต่เนื่องจากเรื่องนี้มีรายละเอียด และมีหลายสาเหตุที่ทำให้ตึกถล่ม เพื่อความแน่ชัด ผู้เกี่ยวข้องจะใช้เวลาประมาณ 90 วัน  เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความโปร่งใสในการตรวจสอบ ให้ประชาชนได้เข้าใจว่าเราใช้วิศวกรจาก 4 สถาบันการศึกษาต่างๆ กัน เข้ามาทำแยกกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและมั่นใจได้ 

นายกฯ ยังระบุว่า จากนี้ต้องทบทวนกระบวนการตรวจสอบเรื่องของตึกและอาคารใหม่ทั้งหมด ทั้งของเอกชนและของราชการ และส่วนตัวได้บอกไปแล้วว่าเคยสร้างตึกในภาคเอกชน มีข้อต้องได้รับการอนุมัติมากมาย เราต้องมาทบทวนกันใหม่ว่าการอนุมัติเรานั้นปลอดภัยใช่หรือไม่ กระบวนการต่างๆ เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ และอาคารของราชการเราต้องดูต้องเพิ่มอะไรเข้าไปหรือไม่ แต่อาคารของเอกชนและราชการเราสามารถเพิ่มในเรื่องมาตรการรองรับแผ่นดินไหวเข้าไปเพิ่มได้ด้วย 

ดังนั้น การทบทวนกระบวนการเหล่านี้ทำให้คล่องตัวและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ไม่อยากให้มีกระบวนการมากมายเกินไปและไม่เกิดประโยชน์ ส่วนการจะเพิ่มมาตรการอย่างไรเพื่อรองรับตึกที่สร้างในอนาคตไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก นี่คือข้อสรุปจากการประชุมฯ

ส่วนข้อสงสัยเรื่องคุณภาพเหล็ก นายกฯ ระบุว่า ต้องตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย เป็นข้อมูลเรื่องของวัสดุต่างๆเกี่ยวข้องแน่นอน โดยสถาบันต่างๆ มาช่วยกันดูประกอบว่าสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดเหตุนี้ โดยจะให้ทางคณะกรรมการวิชาชีพชี้แจง

“ผลการตรวจสอบสาเหตุจะต้องมีผู้รับผิดชอบแน่นอน และเราได้ดูแล้วว่าระหว่างทางกว่าที่จะได้โมเดลจำลองจำลองเหตุการณ์ตึกถล่มใน 90 วัน เราจะดูว่ามีสิ่งใดบ้างที่ทำแล้วผิดกฎหมายบ้าง หรือหากมีการผิดมาตรฐานหรือผิดกระบวนการก็ผิดกฎหมายอยู่ดี เรื่องไหนที่ผิดกฎหมายเราดำเนินคดีควบคู่กันไปอยู่แล้ว แต่ผลสรุป 100 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ทราบว่าทั้งตึกเป็นเพราะอะไรจึงเกิดการถล่ม”

แพทองธาร กล่าว

ส่วนจะมีการดำเนินการกับบริษัทที่ผลิตเหล็กหรือไม่ หลังจากที่ออกมาข่มขู่จะย้าย รมว. อุตสาหกรรม ที่ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว นายกฯ ย้อนถามว่าใครจะย้ายรัฐมนตรีอุตสาหกรรม บริษัทจะย้ายรัฐมนตรีอาจไม่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายหรืออำนาจ ความจริงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบทุกคน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ไม่มีใครโอเค กลับเรื่องการวิ่งเต้น และไม่สนับสนุนเรื่องนี้อยู่แล้ว

และตอนยังไม่เคยพูดคุยกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับกระบวนการก็ต้องพูดคุย

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์