KKU Emergency Alert แจ้งแผ่นดินไหว เทคโนโลยี มข. ส่ง SMS เตือนเมื่อภัยมา

4 เม.ย. 2568 - 01:00

  • ทำความรู้จักระบบแจ้งแผ่นดินไหว KKU Emergency Alert เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ส่งข้อความแจ้งเตือนภายในองค์กรเมื่อมีภัยมา

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Hero_f2985cc3c9.jpg

รัชฎาวรรณ วัฒนสุข หนึ่งในพนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เล่าถึงสถานการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ภาคอีสานได้รับแรงสั่นสะเทือนในหลายจังหวัด แม้ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะไม่มีสถานที่สำคัญได้รับความเสียหาย แต่ทำให้หลายคนเกิดความตระหนักและสนใจต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งเห็นความสำคัญของการแจ้งเตือนภัยที่เป็นประโยชน์และอยากให้เกิดการพัฒนาถึงประชาชนทั่วไป

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo02_e3ca4eeade.jpg

“ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว แต่ละคนคิดว่าไม่สบาย บ้านหมุน และอาการวิงเวียน จนได้รับการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลของทางมหาวิทยาลัย เรื่องสถานการณ์แผ่นดินไหวภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ ซึ่งการแจ้งเตือนถือวารวดเร็ว ทำให้นักศึกษา และบุคลากรได้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง มีการเตรียมตัวรับมือที่ทันท่วงที”

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo07_c52be06146.jpg

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยี KKU Intelsphere แพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย มาสร้างระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว กล่าวว่า  ระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหวในองค์กร หรือที่เรียกว่า KKU Emergency Alert  ส่งข้อมูลผ่าน KKU Google Chat ทำให้นักศึกษา บุคลากรและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นกว่า 100,000 คนได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยพิบัติพร้อมกัน

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo01_3f03c9ec83.jpg

“มหาวิทยาลัยมีแผนการบริหารการต่อเนื่องในสภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ กราดยิง หรือพายุ เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ เหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นๆ แต่เรื่องแผ่นดินไหวไม่ได้อยู่ในแผน เพราะประเมินแล้วว่าอีสานน่าจะไม่ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวรุนแรงจนต้องทำแผนรองรับ กระทั่งเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ เห็นว่าแม้สถานการณ์แผ่นดินไหวจะไม่รุนแรง แต่ความตกใจ ความไม่เข้าใจของนักศึกษาและบุคลากรยังมีต้องนำมาวางแผนในการบริหารจัดการความรู้สึก เชื่อว่าเมื่อทุกคนรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงจะสบายใจ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว 1 วัน จึงออกแบบโปรแกรมตั้งค่าการแจ้งเตือนพร้อมกับทดลองใช้ เพื่อให้บุคลากรสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจต่อสถานการณ์ได้ จึงนำ Google chat มาใช้แจ้งข่าวสารสื่อสารกับคนในองค์กร”

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo04_715cd0b617.jpg
Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo05_de2f71bf4f.jpg

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ ยังกล่าวถึงแนวคิดที่นำ Google Chat มาใช้ในการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว เนื่องจากนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้ Google Workspacc ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีระบบ Google Chat ที่เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีระบบการนำผู้ใช้เข้าได้อัตโนมัติ เพราะเป็นระบบเฉพาะ มีเทคโนโลยีที่พร้อมส่งข้อมูลได้ทันที แต่หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจนทำให้ระบบแจ้งเตือนที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมีปัญหา ระบบล่ม หรือไม่มีไฟฟ้า ทางมหาวิทยาลัยวางแผนในการใช้เครื่องมือออฟไลน์เป็นมาตรการสุดท้าย เช่นการใช้รถมหาวิทยาลัยในการกระจายข่าวไปรอบมหาวิทยาลัย

"ข้อมูลการแจ้งเตือน ข้อมูลจาก U.S. Geological Survey หรือ USGS หน่วยงานวิจัยธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา จากนั้นตั้งค่าโปรแกรมการแจ้งเตือนเป็นอัตโนมัติ โดยโดยระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลทุก 1 นาที จากศูนย์กลางประเทศเมียนม่า ถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร กำหนดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว 5.0 แมกนิจูด หากตรวจสอบแล้วพบว่า เหตุการณ์อยู่ในค่าที่ตั้งไว้ ข้อความจะถูกส่งไปยังผู้รับทันที"

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo03_c42cb7b7ce.jpg
Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo06_bb2457b2a5.jpg

“แอพพลิเคชั่นไลน์ไม่เหมาะกับการใช้แจ้งเตือนภัย เนื่องจากมีการสื่อสารที่หลากหลาย ที่สำคัญระบบข้อมูลของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่บนไลน์ จึงไม่สามารถสื่อสารกับบุคลากรได้ทั้งหมดในคราวเดียว ขณะที่ Google Chat เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีระบบนำผู้ใช้เข้ามาอัตโนมัติ มีเทคโนโลยีที่พร้อมส่งข้อมูลได้ทันที ครอบคลุมทุกคนที่ใช้อีเมลของมหาวิทยาลัย หรือถ้ารัฐริเริ่มจะไปอยู่ที่แอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ ก็สามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน

ในอนาคตจะนำมาวางแผนแจ้งเตือนภัยพิบัติอื่นด้วย เช่น  น้ำท่วม หรืออุบัติเหตุรุนแรง ก็จะใช้ช่องทางเดียวกันในการสื่อสาร ที่สำคัญคือการบริหารจัดการในช่วงที่เกิดเหตุภัยพิบัติ ที่ต้องมีการแจ้งเตือน” ผศ.ดร.เด่น พงษ์ กล่าว

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo08_fca04b83f3.jpg
Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo11_4aa85c7c82.jpg

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ ยังมองว่า ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีของไทยมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ใช้ เช่น เทเลแกรม, ซิกนอล คนไทยไม่ค่อยนิยม แต่โปรแกรมเหล่านี้ออนบอร์ดง่าย ใช้ง่ายก็จะเป็นประโยชน์ หรือถ้ารัฐทำจะอยู่ที่แอพเป๋าตัง หรือแอพเฉพาะอย่างอื่นก็สามารถทำได้ แต่สำหรับองค์กร เพื่อไม่ให้พึ่งพารัฐจนเกินไป รัฐต้องส่งข้อมูลให้องค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดการสื่อสารต่อ แต่ข้อมูลต้องมาจากแหล่งเดียวกันคือรัฐเป็นคนกำหนด

สำหรับการแจ้งเตือนภัยในระดับประเทศยังคงต้องดำเนินการนำระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่ส่งข้อความเตือนตรงถึงหน้าจอมือถือทุกเครื่องในพื้นที่เกิดเหตุ ผ่านเสาสัญญาณมือถือ หรือ Cell Broadcast Service หรือ CBS  ถือโอกาสนี้เร่งดำเนินการและวางระบบ 

"มองว่าการดำเนินการนี้ไม่ใช้เรื่องการใช้เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องการบริหารจัดการ การวางแผน การประเมินสถานการณ์ไม่เกิดความตระหนกในช่วงที่มีพิบัติภัย พร้อมกับสร้างสังคมให้เกิดการตื่นรู้ ตื่นตัว พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์"

Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo09_1530710a62.jpg
Khon_Kaen_University_uses_the_KKU_Emergency_Alert_system_to_send_earthquake_warning_messages_within_the_organization_SPACEBAR_Photo10_7e797a3155.jpg
อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์