สำนักงาน กสทช. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 และ 26 GHz เพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) จากที่ได้ทำการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 โดยครั้งนี้เปิดรับฟังตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2568 จนถึงวันที่ 4 เม.ย. 2568
โดย ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า อยากให้การรับฟังความคอดเห็นสาธารณะมีการแสดงความคิดเห็นทั้งข้อดีข้อด้อย เพื่อความรอบคอบ และเพื่อประเโยชน์ต่อส่วนรวม
สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม เผย กสทช.มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ให้กับอุตสาหกรรม โดยหลักการคือ ผลประโยชน์จะต้องตกอยู่กับประชาชน จึงมารับฟังความคิดเห็นเติมเพื่อความรัดกุมเพิ่มขึ้นและเป็นประโยชน์ โดยประเด็นรับฟังความคิดเห็น หลักใหญ่อยู่ที่ รูปแบบการจัดกลุ่มและวิธีการประมูล ทั้งรูปแบบบและวิธีการเดิมที่ที่ปรึกษาต่างประเทศเสนอและที่สำนักงาน กสทช. เสนอภายหลังการรับฟังคิดเห็นฯ ครั้งก่อนหน้านี้ รวมถึงรูปแบบดั้งเดิมที่ประมูลทีละย่าน ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กสทช. อธิบาย รูปแบบ วิธีการ และกระบวนการประมูลแต่ละขั้นตอนให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจด้วย

คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล
ทั้งนี้ เพื่อให้ส่งเสริมการแข่งในการประมูลคลื่นความถี่ จัดลำดับการประมูลคลื่นความถี่ มีวิธีการประมูลคลื่นความถี่ 3 รูปแบบ ดังนี้ • ประมูลแบบเรียงลำดับที่ละย่านความถี่ (Clock Auction - Each Spectrum Bandis Auctioned Sequentially) เป็นวิธีเดียวกับการประมูลคลื่นความถีในปี 2563 • ประมูลแบบเรียงลำดับที่ละกลุ่มย่านความถี่ (ClockAuction - Each Group is Auctioned Sequentially) วิธีเดียวกับที่เสนอในการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรก ในช่วงวันที่ 20 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ 2568 • ประมูลทุกกลุ่มย่านความถี่พร้อมกัน (Simultaneous Clock Auction) ซึ่งเป็นวิธีที่
แบ่งคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเป็น 4 กลุ่ม โดยพิจารณาความพร้อมของ Ecosystem และมิติด้านการทดแทน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ย่าน 850 MHz กลุ่มที่ 2 ย่าน 1800 MHz 2100 MHz (FDD) และ 2300 MHz กลุ่มที่ 3 ย่าน 1500 MHz 2100 MHz (TDD) กลุ่มที่ 4 ย่าน 26 GHz
ประเด็นด้านราคา
สำหรับการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ สำนักงานฯ ได้ปรับร่างหลักเกณฑ์ฯ ในส่วนของราคาเริ่มต้นในการประมูลของบางชุดคลื่นความถี่ หลังจากที่ผ่านมามีเสียงจากภาคเอกชนว่า เป็นราคาที่แพงเกินไปในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ขณะที่ในส่วนของบอร์ด กสทช.บางรายเห็นว่าเป็นราคาที่ถูกเกินไป ราคาตั้งต้นในแต่ละคลื่นไม่ควรต่ำกว่าการประมูลในครั้งที่ผ่านมา
ดังนั้น ประเด็นราคา นั้น จะมีการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ โดยสำหรับวิธีการ Econometrics ให้ปรับปรุงแบบจำลองและแทนค่าตัวแปรให้สะท้อนบริบทของประเทศไทยยิ่งขึ้น และวิธีการ Relative value ให้พิจารณาเปรียบเทียบกับย่านที่ประมูลก่อนหน้านี้ประกอบด้วย
การกำหนดราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) ให้คำนวณโดยใช้ปัจจัยตัวคูณ 1 เปรียบเทียบกับการใช้ปัจจัยตัวคุณ 0.7 โดยให้มีการใช้วิธีคำนวณใหม่ที่ใช้ข้อมูลของประเทศไทยประกอบด้วย ราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลครั้งนี้ ควรสอดคล้องกับราคาขั้นต่ำของการประมูลคลื่นที่ผ่านมาของประเทศไทย
การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งเรื่องราคาและคุณภาพบริการ อัน เนื่องจากผู้ประกอบการลดลงทำให้ไม่มีการแข่งขัน รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้ด้อยโอกาส
กรณีการจัดประมูลล่วงหน้าสำหรับคลื่นความถี่ที่จะหมดอายุในปี 2570 ที่อาจทำให้มูลค่าของคลื่นหายไป 2 ปี
ประเด็นราคาเริ่มต้นในการประมูล ราคาเดิม ที่ผ่านการรับฟังความเห็น ได้แก่ คลื่น 850 MHz อยู่ที่ 7,739.04 ล้านบาท คลื่น 1500 MHz อยู่ที่ 1,057.49 ล้านบาท คลื่น 1800 MHz อยู่ที่ 7,282.15 ล้านบาท คลื่น 2100 MHz (FDD) ที่ 3,970.32 ล้านบาท คลื่น 2100 MHz (TDD) อยู่ที่ 580.99 ล้านบาท คลื่น 2300 MHz อยู่ที่ 1,961.08 ล้านบาท คลื่น 26 GHz ประเมินไว้เพียง 423 ล้านบาท
โดย ราคาเริ่มต้นที่ สำนักงาน กสทช. เสนอเพิ่มเติม 3 ราคา ได้โดยราคาเริ่มต้นที่มีการปรับเปลี่ยน คือ คลื่น 850 MHz ทั้ง 3 แนวทางใหม่ ราคาอยู่ที่ 7,358.60 ล้านบาท ลดลง 380.44 ล้านบาท คลื่น 1500 MHz ทั้ง 3 แนวทางใหม่ราคาอยู่ที่ 969.03 ล้านบาท ลดลง 88.46 ล้านบาท คลื่น 1800 MHz เสนอ 3 ราคา ราคาใหม่ แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 4,793.19 ล้านบาท ลดลง 2,488.96 ล้านบาท ส่วนแนวทางใหม่ที่ 2 อยู่ที่ 3,617.37 ล้านบาท ลดลง 3,664.78 ล้านบาท และแนวทางใหม่ที่ 3 อยู่ที่ 12,418.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,135.91 ล้านบาท คลื่น 2100 MHz (FDD) แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 3,322.82 ล้านบาท ลดลง 647.50 ล้านบาท แนวทางใหม่ที่ 2 อยู่ที่ 3,180.67 ล้านบาท ลดลง 789.65 ล้านบาท และแนวทางใหม่ที่ 3 อยู่ที่ 4,611.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 641.1 ล้านบาท คลื่น 2100 MHz (TDD) ราคาเดิมอยู่ที่ 580.99 ล้านบาท ซึ่งราคาทั้ง 3 แนวทางเท่ากัน อยู่ที่ 449.04 ล้านบาท ลดลง 131.95 ล้านบาท คลื่น 2300 MHz ราคาเดิมอยู่ที่ 1,961.08 ล้านบาท แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 1,871.16 ล้านบาท ลดลง 89.92 ล้านบาท แนวทางที่ 2 และ 3 อยู่ที่ 1,541.33 ล้านบาท ลดลง 419.75 ล้านบาท ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ยังคงราคาเดิมที่ 423 ล้านบาทหลวง
สภาองค์กรผู้บริโภค กังวลคลื่น 850 MHz ไม่มีผู้ประมูล

ขณะที่ในเวทีนี้ สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือถึงกรรมการ กสทช. ระบุ มีความวิตกกังวลต่อการดำเนินการของ กสทช. ในการการประมูลแถบคลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยคลื่นที่จะนำมามาประมูลพร้อมกันมีทั้งคลื่นย่าน 850 MHz (ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที) เป็นคลื่นว่างที่ไม่มีใครประมูลครั้งที่ผ่านมา และกำลังหมดอายุใบอนุญาต ในเดือนสิงหาคม 2568 แต่การรับฟังความคิดเห็นนี้ มีรับฟังฯประเด็นคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่ไม่เคยถูกนำมาประมูลมาก่อน
จึงไม่มีหลักประกันที่ชัดเจนว่าประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ในความคุ้มครองผู้บริโภคด้านคุณภาพของการให้บริการและราคาค่าบริการจากการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียงสองราย คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ทรู กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส รวมถึงการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคที่ใช้งานคลื่นความถี่ ของ เอ็นทีที่จะหมดสัญญาลงในเดือนสิงหาคม จึงสอบถาม กสทช.จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาเช่นไร และในยุคดิจิทัล 6G จะมีมาตรการป้องกันมิจฉาชีพอย่างไร

สภาผู้บริโภคจึงเรียนมายังท่าน เปิดรับฟังความคิดเห็นของการประมูลแถบคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานภาครัฐที่ใช้งานคลื่นความถี่ของเอ็นทีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (Mobile Vrtual Network Operator MVNO) เพื่อให้เป็นคลื่นที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันด้านโทรคมนาคม แยกออกจากผู้ให้บริการรายใหญ่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และสร้างความสมดลระหว่างผลประโยชน์ภาครัฐและความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการกำหนดเงื่อนเงื่อนไขการประมูลที่เหมาะสมและจูงใจให้เกิดการแข่งขัน ตลอดจนมีมาตรการที่ชัดเจนในการคุ้มครองผู้บริโภคหลังการประมูล เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการและสาธารณะ
“เราไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องประมูลเร่งด่วนในเวลานี้ รวมถึง ยังไม่จำเป็นต้องประมูลคลื่น 3500 MHz ที่จะกระทบกับทีวีดิจิทัล และ กสทช.ควรให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายเล็ก NVNO เพื่อความเป็นธรรม ให้รายใหม่เข้าสู่ตลาด การประมูลทีละคลื่นน่าจะทำให้ กสทช.มีเวลาออกแบบในการจัดประมูลและกำหนดแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ห่างไกล”
