รอยเลื่อน ‘สกาย’ ปลดปล่อยพลังงาน ส่งผล ‘แผ่นดินไหวรุนแรง’

28 มี.ค. 2568 - 09:52

  • ‘อ.ธรณ์’ ชี้ ‘แผ่นดินไหวเมียนมา’ เกิดบนบก ไม่มีสึนามิ

  • ‘นักวิชาการ’ ระบุรอยเลื่อน ‘สกาย’ ปลดปล่อยพลังงานในรอบหลาย 10 ปี

  • ส่งผลให้แผ่นดินไหวครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง

Strong_earthquake_caused_by_the_Sky_Fault_releasing_energy_for_the_first_time_in_decades_SPACEBAR_Hero_12b54ef694.jpg

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า “แผ่นดินไหว 7.7 ที่รอยเลื่อนสะกาย ใจกลางแผ่นดินพม่า ไม่ใช่ในทะเล ไม่มีสึนามิ”

View post on Facebook

ทางด้าน รศ.ภาสกร ปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง เกิดจากรอยเลื่อน ‘สกาย’ ปลดปล่อยพลังงานในรอบหลาย 10 ปีของเมียนมา คาดการณ์ว่าน่าจะเกิดความเสียหายจำนวนมาก

แผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรงที่คนกรุงฯ สัมผัสได้ ก่อนหน้าที่เกิดแผ่นดินไหว จ.กาญจนบุรี ขนาด 5.9 หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินไหวบริเวณสุมาตรา ขนาด 9.3 ทำให้อาคารสูง 10-20 ชั้น ได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้น่าจะเป็นแรก ๆ ที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนทั้งอาคารสูงและอาคารต่ำ

โดยปกติเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 สามารถเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ยาว 1,000 กิโลเมตร และเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 มาแล้วบนรอยเลื่อนสกาย

ขณะที่ รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้มีอาคารสูงในเขตจตุจักรพังถล่มลงมา จากการตรวจสอบเบื้องต้นอาคารอยู่ระหว่างก่อสร้าง ยังไม่ได้ก่อผนัง จึงยังไม่สมบูรณ์ ประกอบ กทม. เป็นชั้นดินอ่อน

ก่อนหน้านี้มีการปรับกฎกระทรวงเกี่ยวกับอาคารรับแผ่นดินไหวปี 2550 และมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นปี 2564 หลังเกิดแผ่นดินไหวที่แม่ลาว จ.เชียงราย ถ้ามีการก่อสร้างรับแรงแผ่นดินไหวเป็นไปตามกฎกระทรวงก็ไม่น่ามีปัญหา

หลังจากนี้ กทม. และเอกชนต้องเร่งสำรวจความเสียหายก่อนที่จะเกิดอาฟเตอร์ช็อกครั้ง เพราะ กทม. เป็นแอ่งดินอ่อน เฝ้าระวังพิเศษ

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์