ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 รายงานสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำวันที่ 15 เม.ย. 2568 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” พบว่า
- เกิดอุบัติเหตุ 214 ครั้ง
- ผู้บาดเจ็บ 209 คน
- ผู้เสียชีวิต 27 ราย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่
- ขับรถเร็ว ร้อยละ 36.92
- ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 31.31
- ทัศนวิสัยไม่ดี ร้อยละ 20.09
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.32
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่
- เวลา 18.01 - 21.00 น. ร้อยละ 22.90
- เวลา 15.01 – 18.00 น. ร้อยละ 20.56
- เวลา 00.01 – 03.00 น. ร้อยละ 13.55
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 20.34
- จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (10 ครั้ง)
- จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (13 คน)
- จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก (3 ราย)

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วัน ของการรณรงค์ (11 – 15 เม.ย. 2568)
- เกิดอุบัติเหตุ รวม 1,216 ครั้ง
- ผู้บาดเจ็บ รวม 1,208 คน
- ผู้เสียชีวิต รวม 171 ราย
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 21 จังหวัด
- จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พัทลุง (44 ครั้ง)
- จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ ลำปาง (47 คน)
- จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (15 ราย)

ขณะที่ ชาครีย์ บำรุงวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 ประจำวันที่ 16 เมษายน 2568 เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้การขนส่งสาธารณะมากขึ้น
โดยประชาชนเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 ขณะที่มีการเดินทางโดยระบบรางและทางอากาศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 และได้เพิ่มจำนวนเที่ยวการเดินทางทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางราง และทางอากาศ ควบคู่ไปกับการดูแลความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนตลอดการเดินทาง โดยการตั้งจุด check point ทั่วประเทศ
โดยดำเนินการตรวจสอบยานพาหนะ ทั้งรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ เรือ และตรวจสอบผู้ขับขี่และพนักงานให้บริการ ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่กินยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุจากการหลับใน
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
ขอให้จังหวัดเน้นย้ำหน่วยงานในสังกัดตรวจความพร้อมของรถโดยสารสาธารณะ ให้สามารถรองรับการเดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานครของประชาชนอย่างเพียงพอ รวมถึงตรวจสอบความพร้อมของผู้ขับขี่รถโดยสารอย่างเข้มงวด รวมถึงการติดตามการเดินรถด้วยระบบ GPS Tracking และกล้องเลเซอร์ หากพบผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรจะดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ อาทิ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายตั๋วโดยสาร และการรณรงค์งดการกระทำที่ไม่เหมาะสมบนระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเดินทางถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
— ชาครีย์ บำรุงวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม