สังคมตีตรา VS ปกป้องตัวเอง ถอด ‘การพิพากษา’ แบบสังคมไทย

6 พ.ค. 2568 - 09:49

  • ถอดปรากฏการณ์ จาก ‘ทราย สก๊อต’ ถึง ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ เมื่อ ‘โซเชียลมีเดีย’ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ‘ปกป้องตัวเอง’ กับการชี้นิ้วพิพากษาของ ‘สังคม’ (แบบไทยๆ)

The_use_of_media_to_protect_themselves_by_influencers_SPACEBAR_Hero_1bf6c44c7f.jpg

ต้องยอมรับว่า ในทุกๆ มิติดราม่าที่เกิดขึ้นในสังคม กลายเป็นเรื่อง Talk of the town  อย่างรวดเร็ว ชนิดไม่ถึงต้องรอข้ามวันข้ามคืน ก็กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในวงกว้าง  

ขอยกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ‘สิริณัฐ สก็อต’ หรือ ‘ทราย สก๊อต’ อดีตที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ออกมาคอลเอ้าท์อยู่บนโลกโซเชียลมีเดียของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ภายหลักการท้าทาย ‘อธิบดีกรมอุทยานฯ’ ให้มาดีเบต ต่อเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และข้าราชการ ที่ต่างคนต่างเห็นต่างกัน 

ขณะเดียวกัน กระแสของ ‘ภัสรนันท์ อัษฎมงคล’ หรือ ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ ศิลปินนักร้องคนดัง กรณีข้อพิพาทกับพิธีกรรายการข่าวชื่อดัง ก็กลายเป็นกอสซิพในสังคมต่อเนื่องกับกรณีของ ‘ทราย สก็อต’ เป็นที่มาของวิวาทะบนโซเชียล และการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของ ‘เบียร์’ จนทำให้เกิดการะแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างทั่วถึง 

สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้น คงเป็นเรื่อง ‘นานาจิตัง’ ในแง่การชี้ถูก-ผิด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น ทั้งในมิติการแสดงออกบนโลกโซเชียลของ ‘อินฟลูเอนเซอร์’ บนสื่อออนไลน์ รวมถึงการมีส่วนร่วมของ ‘ผู้คน’ ซึ่งทั้ง 2 กรณีอาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลทั้งหมด ในยุค Digital Disruption 

ฉะนั้น การถอดความเพื่อให้เห็นมิติเชิง ‘สังคมวิทยา’ และ ‘การสื่อสาร’ จึงอาจเป็นการตกผลึกปรากฏการณ์ได้ดีกว่า การนำเรื่องราวมาอธิบายผ่าน ‘อารมณ์’ อาจมีสิ่งที่สังคมต้องการมากกว่า ‘เรื่องดรามา’ ที่ซ้อนอยู่ภายใต้คำก่นด่าของ ‘ชาวโซเชียล’  

เครื่องมือของการ ‘ปกป้องตนเอง’ ยุคการเปลี่ยนผ่านของสื่อ 

'ธีระพล อันมัย' อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (จากกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนยกเป็นสารตั้งต้น) ว่า ในวันที่สื่อเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่าน (Disruption) ทุกๆ คน ที่มีบัญชีบนโลกออนไลน์ ต่างสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพึ่งสื่อกลาง อย่าง สื่อมวลชน ขณะเดียวกันมนุษย์ทุกคนย่อมมีเจตจำนงบุคคล เป้าหมาย และมีความคิด 

ดังนั้นการที่ทุกคนมีเครื่องมือของตนเอง ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะกลายทางเลือกแรกๆ ในการสื่อสาร แตกต่างกับสมัยก่อน ที่การสื่อสารขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองของ 'คู่สนทนา' หรือ ในยุคก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีที่ ‘สื่อ’ เป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามามีอำนาจในด้านการสื่อสารออกไป

“ผมไม่บอกว่าการสื่อสารของทั้งคู่ถูกหรือผิด แต่แน่นอนไม่จำเป็นต้องถูกใจใคร แต่เขามีสิ่งที่จะพูดเขาก็ย่อมพูดได้ ซึ่งทั้งตัวเรา และเขาก็ต้องยอมรับให้ได้ในเรื่อง free speech”

ค่านิยมการพิพากษาของ ‘คนไทย’

สำหรับ ‘ธีระพล’ ในแง่การตัดสินถูกผิดของสังคมไทย เป็นการแสดงการออกให้เห็นว่า เรายังเสพติดการสื่อสารทางเดียว ที่มีคนออกมาฟันธงชี้ผิด-ถูก เข้าทำนอง ‘พิพากษา - ตัดสินชีวิตคนอื่น’ ตามกรอบคิดศีลธรรมอันดีงาม และครรลองที่คิดว่าควรจะเป็น โดยไม่รับฟังเสียงวิพากษ์ หรือการโต้แย้ง เพื่อ ‘ปกป้องตนเอง’ (ซึ่งเป็นภาวะการแสดงออกปกติของมนุษย์ยามถูกกระทำ) ส่งผลให้กลาย 'ผู้ที่ออกมาปกป้องตนเอง' กลายเป็น ‘คนไม่ดี’ ในสายตาของสังคมไป 

เฉกเช่นเดียวกันกับในอดีต ที่สำนักข่าวใหม่ๆ มักเล่นข่าวพาดหัวในลักษณะชี้นำ ทำให้เรื่องเปาะบางถูกพูดถึงในมุมพิพากษา และเป็นดรามาแบบปากต่อปากไป

“ผมไม่ได้เข้าข้างใครนะ แต่คิดว่าเราอยู่ในสังคมที่ด่วนตัดสินด้วยคำที่โค๊ตกันมา ด้วยภาพลักษณ์ที่ถูกตีตราประทับ จนทำให้คนบางคนกลายเป็นผู้ร้ายในสังคม ทันทีที่เราได้เสพดราม่าสั้นๆ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ โดยไม่สนใจบริบทใดๆ นอกจากการสร้างกระแส”

ธีระพล ให้ความเห็น

ดังนั้น สิ่งที่สังคมควรโฟกัสคือการจับจุดที่ประโยชน์สาธารณะ หรือมิติซ่อนเร้น ที่อาจกิดจากปรากฏการณ์เหล่านี้ อาทิ การพูดถึงปัญหาระหว่างคนทำงานขององค์กรภาครัฐ ที่เกิดขึ้นจากวิวาทะของ ‘ทราย สก็อต’ แล้วนำมาช่างน้ำหนักกับการชี้แจงของหน่วยงานที่ถูกพาดพิง หรือแม้แต่ประเด็นของ ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ ที่หลายคนโฟกัสแต่เรื่องราวส่วนตัว - มุมสองแง่สองง่าม จนหลงลืมประเด็นเชิงสังคม และพฤติกรรมของ 'ผู้หญิง' ซึ่งที่กระทำลงไปตามพลวัตรใหม่ ซึ่งอนาคตอาจกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ

อย่างไรก็ดี อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ลักษณะการตีตราจากสังคมพิพากษา เคยมี ‘บทเรียน’ ผ่านมาแล้วในอดีต อาทิ การตีตรา ‘ผู้ติดเชื้อ HIV’ เป็นผู้สำส่อนทางเพศ หรือการรังเกลียด ‘ความหลากหลายทางเพศ’ ซึ่งกลุ่มคนที่ถูกพิพากษาในวันนั้น กลับได้การยอมรับจากสังคมแล้วในวันนี้ ดังนั้นทุกอย่างอาจต้องใช้เวลาเรียนรู้

อ้างอิง

เรื่องเด่นประจำสัปดาห์